วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ปัญหาสารพิษเชื้อราในการเลี้ยงไก่แบบอินทรีย์

สารพิษจากเชื้อราส่งผลกระทบที่อันตรายมากต่อปศุสัตว์ โดยเฉพาะ การผลิตสัตว์ปีก สารพิษจากเชื้อราเป็นสาเหตุของรอยโรคที่ปาก ตับสีเหลือง รอยโรคที่กึ๋น และความอ่อนแอของผนังลำไส้ เป็นต้น ผู้ผลิตสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดของโลกส่วนใหญ่จะให้ความใส่ใจกับการเลือกสรรวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ เนื่องจาก ทราบดีว่า ความเป็นพิษของสารพิษจากเชื้อรามีผลต่อสุขภาพสัตว์ปีก และผลกำไร ยิ่งเมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ปีกอินทรีย์ก็เป็นสิ่ที่ท้าทายต่อการผลิต
            ความท้าทายของด้านอุปสงค์ และอุปทานตามผลการสำรวจเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๔ โดยกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐฯ ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์เพิ่มขึ้น ๗๒ เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี ค.ศ.๒๐๐๘ เป็นต้นมา ความต้องการไก่เนื้อ ไก่งวง และไข่ไก่ ที่เลี้ยงแบบอินทรีย์ และ non-GMO กำลังแข็งแกร่ง และคาดว่าจะเพิ่มเป็นสองเท่าภายในสิบปี
การเติบโตภาคสัตว์ปีกอินทรีย์  
            ผู้ผลิตสัตว์ปีกที่เลี้ยงแบบอินทรีย์ และ non-GMO ในยุโรปกำลังขยายกำลังการผลิต การเลี้ยงสัตว์ปีกแบบอินทรีย์มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๐ ถึง ๒๐๑๔ การผลิตไก่เนื้อแบบอินทรีย์เติบโตประมาณ ๙๖ เปอร์เซ็นต์ ไข่ไก่อินทรีย์เติบโตประมาณ ๘๙ เปอร์เซ็นต์ และไก่งวงเติบโตประมาณ ๓๕ เปอร์เซ็นต์ แม้ว่า อุตสาหกรรมสัตว์ปีกจะมีการจัดการได้อย่างรวดเร็วมาก การกระจายสินค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ได้รับรอง และ non-GMO ยังมีการตอบสนองต่อปัญหาได้ค่อนข้างช้า
ข้าวโพดอินทรีย์มีปริมาณน้อย
            สหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตข้าวโพดรายใหญ่ที่สุดในโลก แต่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ มีข้าวโพดอินทรีย์เพียง ๐.๒๖ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ปัจจุบัน ๔ เปอร์เซ็นต์ของอาหารที่จำหน่ายเป็นอาหารอินทรีย์ ขณะที่ ๐.๕ เปร์เซ็นต์ ของพื้นที่การผลิตในสหรัฐฯเท่านั้นที่เพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ ด้วยข้อจำกัดของปริมาณการผลิตที่น้อย ผู้ซื้อจึงจำเป็นต้องยอมรับวัตถุดิบที่เสื่อมคุณภาพ แตกหัก และไม่สมบูรณ์ไปบ้าง เมล็ดวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เสีย และไม่สมบูรณ์มักประกอบด้วยเชื้อรา และสารพิษจากเชื้อราระดับสูง โดยเชื้อราชนิดที่ผลิตสารพิษจากเชื้อราส่วนใหญ่เป็นเชื้อราที่มาจากดิน สามารถมีชีวิต และทนทานอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมเป็นเวลานาน การเกษตรกรรมสมัยใหม่ เช่น การเพาะปลูกโดยไม่ต้องไถพรวนดิน พบว่า อุบัติการณ์ของการปนเปื้อนเชื้อรามีเพิ่มขึ้น การปรากฏของลำต้นใต้ดินของต้นข้าวโพด และส่วนที่ยังคลุมฝักอยู่ตั้งแต่เปลือกจนถึงแกนข้างในมักมีการติดเชื้อรา และทิ้งไว้ตามผิวดินจากปีหนึ่งสู่อีกปีหนึ่งกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อราทำให้อุบัติการณ์ของการปนเปื้อนเมล็ดวัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น การใช้ยาฆ่าเชื้อราอาจช่วยลดอุบัติการณ์ของเชื้อราฟิวซาเรียมในเมล็ดข้าวโพดได้ แต่การใช้ยาฆ่าเชื้อราไม่อนุญาตให้ใช้สำหรับข้าวโพดอินทรีย์
การจัดการสารพิษจากเชื้อรา
            เพื่อปกป้องห่วงโซ่อาหาร องค์การอาหาร และยาสหรัฐฯ จำกัดระดับของสารพิษจากเชื้อราในอาหาร และอาหารสัตว์ การเตือนภัยอาหารโดยสมาคมเมล็ดวัตถุดิบ และอาหารสัตว์ เตือนให้ผู้ผลิตทุกรายตระหนักถึงระดับการปนเปื้อนที่ยอมรับได้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตอินทรีย์ โดยระดับดังกล่าว ผู้ผลิตอินทรีย์ต้องมีการจัดการความเสี่ยงของสารพิษจากเชื้อรา และเครื่องมือสำหรับคุ้มครองสุขภาพทางเดินอาหาร   
            กลยุทธการจัดการ และดำเนินการตลอดทั้งโปรแกรมมีความจำเป็นต่อการป้องกันการประสบปัญหาสารพิษจากเชื้อรา โดยตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบอาหารสัตว์ตามมาตรฐานที่ได้รับการรับรองสำหรับอุตสาหกรรมสำหรับการเก็บตัวอย่าง และส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการทดสอบที่มีมาตรฐานสูงเป็นการเริ่มต้นที่ดี ตามด้วยการตรวจติดตามโรงงานอาหารสัตว์เป็นประจำเพื่อขจัดปัญหาการปนเปื้อนในกระบวนการผลิตในโรงงานอาหารสัตว์ การควบคุมสารพิษจากเชื้อราในระบบการผลิตแบบอินทรีย์ในอาหารเพื่อป้องกันผลกระทบของสารพิษจากเชื้อรายังเป็นประโยชน์ต่อผลผลิตโดยภาพรวมอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
Reyes M. 2017. Mycotoxins: A major worry for organic poultry. [Internet]. [Cited 2017 Aug 15]. Available from: http://www.poultryworld.net/Nutrition/Partner/2017/8/Mycotoxins-A-major-worry-for-organic-poultry-171071E/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...