ฮ่องกงประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากดัทช์ภายหลังการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงต่ำ
โดยมีการสั่งทำลายสัตว์ปีกไปแล้วมากกว่า ๔๐,๐๐๐ ตัว
รัฐบาลฮ่องกงได้ห้ามนำเข้าเนื้อ
และไข่จากสัตว์ปีกทุกชนิดจากจังหวัดซีแลนด์ ทางตะวันตกของประเทศเนเธอร์แลนด์
ช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ ฮ่องกงนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกแช่แข็ง ๒,๕๐๐ ตัน และไข่ ๑
ล้านฟองจากเนเธอร์แลนด์ การระบาดครั้งนี้
ประเทศเนเธอร์แลนด์รายงานต่อโอไออีตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตามรายงานการเกิดโรคแบบไม่แสดงอาการจากเชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๒
ซึ่งเป็นสับไทป์ที่เคยเกิดการระบาดใหญ่มาแล้วในสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. ๒๐๑๕
ที่ผ่านมา รัฐบาลดัทช์ได้สั่งห้ามการขนส่งสัตว์ปีก ไข่ เนื้อ
และมูลสัตว์ภายในรัศมี ๑ กิโลเมตรรอบฟาร์มในหมู่บ้าน Sint Philipsland แม้ว่าจะไม่มีฟาร์มสัตว์ปีกอื่นๆในพื้นที่
การสั่งทำลายสัตว์ปีกครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหยุดการระบาดของโรค แม้ว่า
เชื้อไวรัสที่ตรวจพบจะยังเป็นเพียงเชื้อไวรัสเอช ๕ ชนิดไม่รุนแรง
แต่เชื้อสามารถเกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นเชื้อที่รุนแรง และระบาดไปยังฟาร์มไก่
ดังนั้น รัฐบาลจึงตัดสินใจทำลายสัตว์ปีกดังกล่าว
นับเป็นเคราะห์ซ้ำ
กรรมซัดของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในเนเธอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง
นับตั้งแต่ประสบปัญหาการตกค้างของฟิโปรนิลในไข่ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ทำให้ไข่ไก่หลายล้านฟองถูกทิ้งทั้งหมด และไก่มากกว่า ๓.๒ ล้านตัวก็ถูกทำลายมาแล้ว
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกมากกว่า ๒๖๐ แห่งยังคงปิด รอคอยคำสั่งอนุญาตจากรัฐบาลให้กลับมาเลี้ยงใหม่ได้
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2017. Dutch bird
flu outbreak leads to trade bans. [Internet].
[Cited 2017 Oct 18]. Available from: http://www.poultryworld.net/Health/Articles/2017/10/Dutch-bird-flu-outbreak-leads-to-trade-bans-199598E/?cmpid=NLC|worldpoultry|2017-10-18|Dutch_bird_flu_outbreak_leads_to_trade_bans
ภาพที่ ๑ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์รายงานการเกิดโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงต่ำจากเชื้อไวรัสเอช
๕ เอ็น ๒ ซึ่งเป็นสับไทป์ที่เคยเกิดการระบาดใหญ่มาแล้วในสหรัฐฯ (แหล่งภาพ:
Jan Willem Schouten)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น