วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่สนับสนุนไก่เนื้อโตช้า

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นว่าด้วยการผลิตสัตว์ปีกยุคใหม่เป็นสิ่งที่ดีสำหรับสังคมอย่างมาก แต่ก็มีคำถามถึงความยั่งยืนของการผลิตไก่เนื้อโตช้า
           เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นักวิจัยเยอรมันได้ตีพิมพ์รายงานการประเมินศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตสัตว์ปีกทางเลือกใหม่ด้วยวิธีการพิเศษ หรืออินทรีย์ ทั้งในสหภาพยุโรป และเยอรมัน โดยเฉพาะ การใช้พันธุ์สัตว์ปีกโตช้าที่มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่น้อยกว่าการเลี้ยงตามปรกติ และต้องใช้พื้นที่การเลี้ยงต่อตัวมากกว่า การผลิตและติดฉลากสัตว์ปีกอินทรีย์สอดคล้องกับความต้องการขั้นต่ำของตลาดสหภาพยุโรป ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาโดยสภาพไก่แห่งชาติในสหรัฐฯ และบริษัทอีแลนโคเมื่อต้นปีก็ไม่ค่อยน่าพอใจเช่นกัน โดยรายงานผลการวิจัยว่า ทั้งการผลิตสัตว์ปีกด้วยวิธีการเลี้ยงสัตว์ปีกโตช้า และอินทรีย์มีประสิทธิภาพต่ำ และต้นทุนการผลิตสูง เนื้อสัตว์ที่ผลิตด้วยการผลิตวิธีการเลี้ยงสัตว์ปีกโตช้า จะมีราคาแพงกว่าเนื้อปรกติ ๒๐ ถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ยิ่งเนื้อสัตว์ปีกอินทรีย์แพงกว่าถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์   
          รายได้ทางการเกษตรกรรมของสหภาพยุโรปจะลดลงราว ๓ พันล้านยูโรในกรณีการเลี้ยงสัตว์ปีกโตช้า และ ๘ พันล้านยูโรในกรณีมีการเลี้ยงสัตว์ปีกอินทรีย์ นอกจากนั้น วิธีการเลี้ยงสัตว์ปีกโตช้า และอินทรีย์ยังใช้ทรัพยากรต่างๆมากกว่าการเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงอุตสาหกรรมทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์ วัสดุรองพื้น น้ำ และยังส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ หรือแก๊สก่อปัญหากรีนเฮาส์ก็จะเพิ่มขึ้นจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกในที่สุด ผลการวิจัยเหล่านี้อาจเป็นผลดีสำหรับอุตสาหกรรมที่เริ่มตอบสนองตามใจกลุ่มนักเคลื่อนไหวคุ้มครองสัตว์ที่พยายามกดดันผู้ประกอบการอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมการผลิตไข่ในอดีตที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์ก็อาจไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก
               ผู้ประกอบการ ยอมรับให้องค์กรพิทักษ์สัตว์อย่างเพื่อนสัตว์โลก (Global Animal Partnership, GAP) กำหนดเป็นมาตรฐาน และระบบสวัสดิภาพสัตว์อื่นๆโดยมิได้คำนึงถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และอาจไม่สนใจที่จะรับทราบข้อมูลด้วยซ้ำ การตัดสินใจในอดีต ผู้ที่กำหนดมาตรฐานอาศัยปัจจัยสำคัญที่สุดมุ่งเน้นไปที่ความคิดของผู้บริโภค และความรู้สึกที่ดีเพียงด้านเดียว เช่นเดียวกับผู้กำหนดมาตรฐานเลี้ยงไก่ไข่ไม่ใช้กรง หรือปลอดภัยปฏิชีวนะก็มิได้สนใจกับข้อมูลใดๆด้านวิทยาศาสตร์ แต่ใช้ความเชื่อ และความรู้สึกของผู้บริโภคเท่านั้น    
               ในอนาคตข้างหน้า เริ่มจากปี ค.ศ.๒๐๑๘ เป็นปีที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาหารในการตัดสินใจว่าจะเลือกเดินบนผืนทรายด้วยการเลี้ยงสัตว์ปีกโตช้า หากผู้ประกอบการนำหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลกับผู้บริโภค และผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะเป็นโอกาสที่อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกจะสามารถเลือกสวนทางกับกระแสการเลี้ยงสัตว์ปีกโตช้าได้
เอกสารอ้างอิง


ภาพที่ ๑ วิธีการเลี้ยงสัตว์ปีกโตช้า และอินทรีย์ยังใช้ทรัพยากรต่างๆมากกว่าการเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงอุตสาหกรรมทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์ วัสดุรองพื้น น้ำ และยังส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ หรือแก๊สก่อปัญหากรีนเฮาส์ก็จะเพิ่มขึ้นจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกในที่สุด (แหล่งภาพ: Wabeno, Bigstock)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...