วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การจัดการวัสดุรองพื้นสัตว์ปีกในช่วงโควิด ๑๙


ผลกระทบของโควิด ๑๙ ได้สร้างประเด็นเล็กบ้างใหญ่บ้างสำหรับภาคการเกษตรกรรม การเก็บรักษาวัสดุรองพื้นอาจเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ก็ใหญ่เพียงพอสำหรับวิทยาลัยเกษตรกรรมในไอร์แลนด์เหนือออกคำแนะนำให้กับผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีก ที่ประสบปัญหาการกำจัดและการเก็บรักษาวัสดุรองพื้นใช้แล้วระหว่างการระบาดของโรคโควิด ๑๙
 ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ อาจเผชิญกับปัญหาการควบคุมการเดินทาง จนไม่สามารถกำจัดวัสดุรองพื้นใช้แล้วในแต่ละรุ่นเหมือนปรกติได้ จนทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ความพยายามช่วยเหลือ และให้คำแนะนำของวิทยาลัยเกษตรฯแห่งไอร์แลนด์เหนือ หรือซีเอเอฟอาร์อี เผยแพร่คำแนะนำเบื้องต้นต่อผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีก เพื่อให้เกษตรกรสามารถเก็บวัสดุรองพื้นใช้แล้วจากการเลี้ยงไก่เนื้อ ภายหลังการจับไก่ออกไปจากฟาร์มเรียบร้อยแล้ว ไม่ทราบจะทำอย่างไรกับวัสดุรองพื้นที่ใช้แล้วต่อไปดี เนื่องจาก การควบคุมการขนส่ง และการเดินทางในสถานการณ์โรคระบาดโควิด ๑๙  
การเก็บวัสดุรองพื้นใช้แล้วในบริเวณฟาร์ม
คำแนะนำให้กับผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีก วัสดุรองพื้นสามารถเก็บไว้ได้ในบริเวณฟาร์ม ก่อนการเคลื่อนย้ายไปยังที่อื่น วัสดุรองพื้นใช้แล้วควรเก็บกองไว้โดยปิดมิดชิดด้วยวัสดุที่ยอมให้แก๊สระบายออกได้ ในสถานที่จัดเก็บที่ปลอดโปร่ง สามารถเก็บได้ในปริมาณไม่จำกัด
วัสดุรองพื้นสามารถ 
วัสดุรองพื้นสามารถกองไว้ในลานกว้าง แต่เกษตรกรต้องแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับในไอร์แลนด์เหนือก็จะมีหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมชื่อว่า เอ็นไออีเอ สิ่งสำคัญคือ ต้องคลุมไว้ด้วยวัสดุที่ยอมให้แก๊สผ่านได้ภายใน ๒๔ ชั่วโมงหลังนำมากองไว้ กรณีกองไว้ในลานกว้าง วัสดุรองพื้นใช้แล้วต้องเก็บไว้เป็นเวลาไม่เกิน ๑๒๐ วัน หรือต้องไม่เก็บไว้ในพื้นที่เดียวกันต่อเนื่องกันหลายปี ใหรือไม่เก็บไว้เป็นปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมมากในพื้นที่เดียวกัน วัสดุรองพื้นใช้แล้วต้องเก็บไว้เป็นกองอัดแน่น โดยต้องไม่อยู่ในระยะ ๔๐ เมตรห่างจากเส้นทางน้ำไหล ๑๐๐ เมตรจากทะเลสาบ ๕๐ เมตรจากบ่อบาดาล หรือบ่อน้ำ ๒๕๐ เมตรจากบ่อบาดาลที่ใช้สำหรับจ่ายน้ำให้กับชุมชน เป็นต้น 
การใช้วัสดุรองพื้้นใช้แล้ว
เกษตรกรบางรายชอบนำวัสดุรองพื้นใช้แล้วไปหว่านโดยตรงลงในไร่ แต่นักวิชาการให้คำแนะนำว่า ไม่ควรหว่านลงไปในไร่เกษตร โดยเฉพาะ กรณีจะทำเป็นฟาง หรือหญ้าหมักมาใช้เลี้ยงสัตว์ เนื่องจาก เสี่ยงต่อการเกิดโรคบอโทลิซึม หากจะใช้ในการเพาะปลูก ควรไถลึกลงไปในพื้นดินเพาะปลูกตามแนวพืชไร่ที่จะปลูกลงไป หากไม่มีทางเลือก และต้องใช้วัสดุรองพื้ีนใช้แล้วในการเพาะปลูก ไม่ควรปล่อยให้โคกระบือเข้าไปในพื้นที่อย่างน้อยอีกหลายๆเดือน แต่ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะยังปลอดภัยกับสัตว์ การใช้วัสดุรองพื้นใช้แล้วยังเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสู่พื้นที่ข้างเคียงได้อีกด้วย 

เอกสารอ้างอิง
McCullough C. 2020. Farmers get advice for poultry litter storage during corona. [Internet]. [Cited 2020 Apr 17]. Available from: https://www.poultryworld.net/Home/General/2020/4/Farmers-get-advice-for-poultry-litter-storage-during-corona-571302E/
ภาพที่ ๑  การกำจัดวัสดุรองพื้นในช่วงโควิด ๑๙ (แหล่งภาพ Hans Prinsen)



วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผลกระทบของโควิด ๑๙ ต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์


แม้ว่า ความต้องการอาหารสัตว์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง แต่การขนส่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ก็ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดครั้งนี้

บางประเทศอย่างโรมาเนีย ได้แบนการส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์ไปยังประเทศที่ไม่อยู่ในสหภาพยุโรป เชื่อว่า จะส่งผลต่อปัญหาดีมานด์-ซัพพลายอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยุโรป การแบนการส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์แล้ว รวมถึง ถั่วเหลือง แป้ง ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ และข้าวสาลี

ขณะเดียวกัน จีนผู้ผลิตรายใหญ่ถั่วเหลืองอินทรีย์ของโลกก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่เข้มงวดจากปัญหาการระบาดของโรคโควิด ๑๙ นอกจากนั้น การจัดส่งบรรจุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวัตถุดิบรองก็ยังได้รับผลกระทบด้วย เนื่องจาก อุปสรรคการขนส่งในจีน รัฐบาลจีนก็สั่งปิดท่าเรือระหว่างรปะเทศบางส่วน ยิ่งเร่งให้เกิดความเสียหายต่อการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั่วโลก 

อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการปิดร้านอาหารทั่วโลก พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงในระหว่างการระบาดของโรคโควิด ๑๙ ไปอย่งมากทำให้ผู้ประกอบการต้องคิดนโยบาย และกลยุทธ์ใหม่ในการทำงาน การผลิตเนื้อแกะ สัตว์น้ำ เนื้อโค และเนื้อลูกโคเป็นภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบอย่างเลวร้ายที่สุด เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ และปศุสัตว์ในอียูเรียกร้องมาตรการจัดการวิกฤติ เพื่อบรรเทาผลกระทบของโรคโควิด ๑๙ ห้องเย็นเก็บสินค้าเป็นมาตรการสำคัญที่จะผู้ประกอบการผลิตสัตว์น้ำเรียกร้อง

นักวิเคราะห์คาดการใช้ถั่วเหลือง ข้าวโพด และข้าวสาลีในอาหารสัตว์จะลดลง

การบริโภคปลา และเนื้อทั่วโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการเมล็ดธัญพืช และเมล็ดพืชให้น้ำมันสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ หรือจีแอนด์โอลดลงเช่นกัน นักวิเคราะห์คาดว่า ความต้องการถั่วเหลือง ข้าวโพด และข้าวสาลีสำหรับผลิตเป็นอาหารสัตว์จะลดลงในประเทศต่างๆ เช่น เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ นี้

ยอดการผลิตสุทธิของถั่วเหลือง ข้าวโพด และข้าวสาลี ประมาณร้อยละ ๖๕ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ ๓๕ ใช้สำหรับมนุษย์บริโภค ดังนั้น แม้ว่า การบริโภคจีแอนด์โอในครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็จะได้รับผลกระทบจากการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ลดลงอย่างมาก

การอพยพกลับของแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดำรงอยู่ได้ด้วยแรงงานต่างชาติ เมื่อมาตรการล็อกดาวน์เป็นไปอย่างเข้มข้น แรงงานต่างชาติเหล่านี้จึงเริ่มทยอยกลับภูมิลำเนาของตัวเอง ส่งผลต่อวงจรการผลิตอาหารตั้งแต่การกระจายสินค้า และการผลิตอย่างรุนแรง ดังนั้น ผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่จึงประสบปัญหาแรงงานอย่างมาก ได้แต่คอยความหวังว่า ภาครัฐจะคลายมาตรการ เพื่อเริ่มกิจกรรมการผลิตด้านการเกษตรกรรมอีกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการล่มสลายของเศรษฐกิจต่อไป

นอกเหนือจากนั้น อุปสรรคการขนส่งทางอากาศ ท่าเรือ การปิดด่านตามถนนทางหลวง และการขนส่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะยิ่งเพิ่มความเข้มงวดต่อไป การบริโภคปลา เนื้อสัตว์ปีก เนื้อสุกร และเนื้อโค จะลดลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงไตรมาสที่ ๒

ความต้องการน้ำมันสำหรับสารเติมอาหารสัตว์จากความวิตกกันเอง

ขณะที่ รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้คำสั่งให้ประชาชนอยู่กับบ้าน เกษตรกรหลายรายวิตกกังวลจึงรีบไปซื้ออาหารสัตว์กักตุนไว้ เพราะเกรงว่าจะเกิดความขาดแคลน เช่น รถขนส่งอาหารสัตว์ไม่สามารถวิ่งได้ และคนงานติดเชื้อโควิด ๑๙ ทำให้ผู้ประกอบการผลิตในฟาร์มพยายามกักตุนอาหารสัตว์ ทำให้ความต้องการสารเติมอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน เกษตรกรในสหรัฐฯ ยังกังวลว่า มาตรการในการผลิตที่โรงเชือดอีกด้วย รัฐบาลสหรัฐฯยังสั่งปิดโรงงานเอธานอล ทำให้เกษตรกรยิ่งกังวล โดยเฉพาะ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดอาหารปศุสัตว์ก็เกรงว่าจะขาดดีดีจี (Dried distrillers grains, DDGs) ที่เป็น by-product ที่สำคัญในการผลิตอาหารสัตว์อย่างมาก 

แนวโน้มดังกล่าวนี้ มีรายงานมาก่อนแล้วในจีน ติดตามมาด้วยเยอรมัน และฝรั่งเศส ในเวลาต่อมาก็เป็นสหรัฐฯ หลังจากศูนย์กลางการระบาดของโควิด ๑๙ ขยับจากเอเชียไปยังยุโรป และอเมริกาเหนือ ตามลำดับ ในช่วงแรกของการล็อกดาวน์ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ฝรั่งเศสซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ปริมาณมาก ตามมาด้วยเยอรมัน ท่ามกลางความวิตกกังวลว่าจะหยุดการผลิตลงชั่วคราว ทำให้ยอดจำหน่ายอาหารสัตว์ทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นร้อยละ ๑๐ ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

รัฐบาลเนเธอร์แลนด์วางแผนจัดการให้ผลิตอาหารสัตว์ได้ต่อเนื่อง

เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากปัญหาการขนส่ง และการผลิตอาหารสัตว์ โดยรัฐบาลพยายามใช้แผนจัดการใหม่ที่ยังคงความปลอดภัยให้กับผู้ผลิตในฟาร์ม เพื่อให้ยังคงการผลิต และจัดหาสารเติมอาหารสัตว์ได้อย่างต่อเนื่อง สมาคมอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ดัทช์กำหนดแนวทางเบื้องต้นเพื่อรักษาการผลิตให้ได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำส่งอาหารสัตว์ให้กับผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ โดยที่ปกป้องคุ้มครองสุขภาพคนงานด้วย นอกจากนั้น การปฏิบัติตามคำแนะนำให้เป็นการตัดสินใจได้เอง ไม่เป็นการบังคับ คำแนะนำดังกล่าวจะถูกปรับใช้ตามสถานการณ์ในอนาคต รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ยังคงดำเนินไปตามแผนความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเข้มงวด และประสานงานการจัดการผ่านทางโทรศัพท์

พนักงานขับรถขนส่งสารเติมอาหารสัตว์จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการหลักสุขศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก โดยเฉพาะ การสอบย้อนกลับโอกาสสัมผัสโรคของพนักงานมีความสำคัญอย่างมาก การสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับบุคคลอื่นๆต้องหลีกเลี่ยง หรือลดลงให้ได้มากที่สุด เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตสารเติมอาหารสัตว์เดินหน้าต่อไปได้ ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขศาสตร์อย่างเคร่งครัด สำหรับข้อแนะนำเบื้องต้น การสัมผัสใกล้ชิดระหว่างบุคคลควรมีระยะห่างกัน ๒ เมตร และไม่เกิน ๑๕ นาที ผู้ประกอบการในสหราชอาณาจักร พยายามปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว เพื่อให้การผลิตอาหารสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ไปได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ยังคงความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค และพนักงานไว้ได้ 

 

เอกสารอ้างอิง

Roy Choudhury N. 2020. Covid-19: The impact on the animal feed industry. [Internet]. [Cited 2020 Apr 28]. Available from: https://www.allaboutfeed.net/Raw-Materials/Articles/2020/4/Covid-19-The-impact-on-the-animal-feed-industry-575937E/

ภาพที่ ๑ สมาคมอาหารสัตว์ในเนเธอร์แลนด์ออกข้อปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อรักษาการผลิตไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การส่งอาหารสัตว์สู่ฟาร์ม และการคุ้มครองปกป้องสุขภาพคนงานพร้อมไปด้วยกัน  (แหล่งภาพ Bert Jansen)





วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

อิหร่านขาดแคลนอาหารสัตว์


อิหร่านประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารสัตว์ เนื่องจาก อุปสรรคการนำเข้าในประเทศตั้งแต่โรคโควิด ๑๙ ระบาด

ในอิหร่าน การระบาดของโควิด ๑๙ ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารสัตว์อย่างรุนแรง ทำให้ฟาร์มสัตว์ปีกพันธุ์ไม่สามารถผลิตลูกไก่ได้อีกแล้ว ในประเทศอื่นๆ อย่างจีน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป อุตสาหกรรมสัตว์ปีกประสบปัญหาผลกระทบของโรคในแบบที่ต่างกันไป ขณะนี้ ฟาร์มสัตว์ปีกพันธุ์ในอิหร่านได้ทำลายลูกไก่วันแรกไปแล้วหลายล้านตัว และคาดว่ายังต้องทำลายอีกจำนวนมาก

สมาคมสัตว์ปีกในเตหะราน ระบุไว้ว่า สัตว์ปีกมากกว่า ๑๕ ล้านตัวที่เกิดความเสียหาย นับตั้งแต่การระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในประเทศ ผู้ผลิตสัตว์ปีกซื้อลูกไก่น้อยลง

เมื่อยอดจำหน่ายเนื้อสัตว์ปีกลดลง ส่งผลต่อราคาเนื้อไก่ และลูกไก่ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดจำนวนลูกไก่ในตลาด เพื่อรักษาความสมดุลของตลาด อุตสาหกรรมปศุสัตว์ และสัตว์ปีกในอิหร่านยังต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นหลัก นับตั้งแต่การระบาดของโรคในประเทศ ทำให้ประสบปัญหาในการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ภายหลังสื่อโซเชียลเผยแพร่วีดีโอการทำลายลูกไก่ออกไป ประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี ขู่จะดำเนินคดีผู้ที่ทำลายลูกไก่

การเติบโตภาคการผลิตเนื้อสัตว์ปีกในอิหร่าน

ในอิหร่าน การผลิตเนื้อไก่เติบโตอย่างต่อเนื่องในรอบหลายปีที่ผ่านมา อ้างอิงตามข้อมูลจาก FAOstat ที่รวบรวมสถิติจากองค์การอาหารและการเกษตรโลก หรือเอฟเอโอ ภายใต้สหประชาชาติ หรือยูเอ็น การผลิตเนื้อไก่สูงถึง ๒.๑๘๗ ล้านเมตริกตันในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ในช่วงห้าปีก่อนหน้านี้ มีการเติบโตต่อเนื่องต่อจากปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่มีการผลิต ๑.๙๖๗ เมตริกตัน

โรคไข้หวัดนกมีรายงานเป็นระยะในอิหร่าน แต่ครั้งล่าสุดก็ผ่านมาแล้วเป็นปีตั้งแต่กรกฏาคมปีที่ผ่านมา

 ผลกระทบของโควิด ๑๙ ในภาคสัตว์ปีกทั่วโลก

โรคโควิด ๑๙ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีกอิหร่านเท่านั้น ผลของโรคเกิดทั้งทางตรง และทางอ้อมไปทั่วโลก

ย้อนหลังไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ของปีนี้ เกษตกรในมณฑลหูเป่ยประเทศจีน ตกอยู่ในความกดดันอย่างมาก เนื่องจาก การจัดหากากถั่วเหลืองป่นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เมื่อมีการควบคุมการขนส่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญไปยังฟาร์มอย่างเคร่งครัด สมาคมการปศุสัตว์ยื่นมือมาช่วยร้องขอให้มีการส่งข้าวโพด ๑๘,๐๐๐ เมตริกตัน และกากถั่วเหลือง ๑๒,๐๐๐ เมตริกตันเข้าไปในมณฑลเพื่อเป็นการบรรเทาสถานการณ์ดังกล่าว  

ผู้บริโภคในสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนเนื้อสัตว์ สถานการณ์โควิด ๑๙ ที่ตึงเครียดทั่วประเทศกำลังส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารอย่างเพียงพอ นอกเหนือจากข้อจำกัดด้านการขนส่งอาหารสัตว์แล้ว สถานการณ์โรคระบาดยังส่งผลต่อการปฏิบัติงานภายในโรงเชือดซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตอาหาร ไทสันเตือนว่า เนื้อสัตว์หลายล้านปอนด์กำลังหายไปจากชั้นวางสินค้า เนื่องจาก การปิดโรงงานจำนวนมาก

ในสหภาพยุโรป สถานการณ์น่าจะน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้เน้นให้สมาชิกให้ความสำคัญกับสิ่งท้าทายจากรายงานภาพรวมการเกษตรกรรมในสหภาพยุโรปปีนี้ รวมถึง อุปสรรคการขนส่ง และการกระจายสินค้า อย่างไรก็ตาม การนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ และสารเติมอาหารสัตว์ไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก สำหรับตลาดเนื้อสัตว์ คณะกรรมาธิการยุโรปคาดการณ์ว่า ภาพรวมการผลิตอาจลดลงเนื่องจากร้านอาหารส่วนใหญ่ปิดลง ผู้บริโภคซื้อไปรับประทานที่บ้านเป็นหลัก ผลกระทบน่าจะเกิดขึ้นกับเนื้อโค และเนื้อแกะมากกว่าเนื้อสุกร หรือเนื้อสัตว์ปีก เนื่องจาก การควบคุมการขนส่งสัตว์  


เอกสารอ้างอิง

Linden J. 2020. Feed shortage forces Iranian farmers to cull chickens. [Internet]. [Cited 2020 Apr 28]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/40168-feed-shortage-forces-iranian-farmers-to-cull-chickens

ภาพที่ ๑   อิหร่านทำลายไก่ (แหล่งภาพ Ehsan Graph, Freeimages.com)

ไทสันสหรัฐฯ ใช้บริการห้องแลบเคลื่อนที่ ช่วยเปิดโรงเชือด


ผู้ให้บริการเครือข่ายทางการแพทย์ Matrix Medical Network healthcare เปิดบริการห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ทั่วไประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของแผนสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยสำหรับคนงาน และพนักงานสำนักงานทั้งหลายระหว่างการเตรียมเปิดโรงเชือดสัตว์ปีกทั่วประเทศของบริษัทไทสันฟู้ด ในสหรัฐฯ การใช้คลินิกสุขภาพเคลื่อนที่ และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญด้านการตรวจสอบ และวินิจฉัยโรคโควิด ๑๙ โดย Matrix เป็นผู้ให้บริการด้านการวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย 

เมื่อไทสันฟู้ด สหรัฐฯ เริ่มเปิดโรงเชือดให้ปฏิบัติงานใหม่อีกครั้ง ได้รับการสนับสนุนของ Matrix เพื่อช่วยดูแลบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในโรงงาน โดยจัดให้บริการดูแลด้านสุขภาพเพิ่มเติมตามความต้องการ และมาตรฐานของผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีก 

ไทสันจัดให้มีคลินิกเคลื่อนที่ของ Matrix เพื่อเปิดบริการด้านสุขภาพในสถานประกอบการต่างๆ ทั้งโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆของบริษัท โดยร่วมกับ Matrix เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองสิ่งแวดล้อมสำหรับการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานว่าจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย รวมถึง การให้ความรู้ด้านสุขอนามัยสำหรับพนักงานอีกด้วย Matrix ยังช่วยออกแบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อไวรัส

ไทสันมีความมุ่งมั่นกำหนดมาตรการป้องกันสมาชิกเพื่อนพนักงานทุกคนของบริษัท การกลับมาเปิดโรงงานผลิตเนื้อสัตว์อีกครั้งจะมาพร้อมกับความเชื่อมั่นต่อพนักงานผู้ปฏิบัติงานว่า บริษัทใส่ใจต่อสุขภาพของทุกคน

ถึงเวลานี้ พันธมิตรระหว่างผู้ประกอบการผลิตเนื้อสัตว์ และผู้ให้บริการทางการแพทย์ครั้งนี้จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคงในการผลิต โดยเฉพาะในฐานะของบริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ถือเป็นความสำคัญลำดับแรกของบริษัทที่จะดูแลใส่ใจสุขภาพ และความปลอดภัยของพนักงาน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับครอบครัวชาวอเมริกันที่จะมีอาหารที่ดีสำหรับบริโภค Matrix เป็นบริการทางการแพทย์ที่จะช่วยนำพนักงานของไทสันกลับมาทำงานได้ตามปรกติเหมือนเดิม



เอกสารอ้างอิง

Crews J. 2020. Tyson announces deployment of mobile medical clinics to reopening plants. [Internet]. [Cited 2020 May 1]. Available from: https://www.meatpoultry.com/articles/23058-tyson-announces-deployment-of-mobile-medical-clinics-to-reopening-plants 

ภาพที่ ๑ บริการห้องแลบเคลื่อนที่ ช่วยเปิดโรงเชือด  (แหล่งภาพ Google Earth)


วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...