แม้ว่า ความต้องการอาหารสัตว์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
แต่การขนส่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ก็ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดครั้งนี้
บางประเทศอย่างโรมาเนีย
ได้แบนการส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์ไปยังประเทศที่ไม่อยู่ในสหภาพยุโรป เชื่อว่า
จะส่งผลต่อปัญหาดีมานด์-ซัพพลายอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยุโรป
การแบนการส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์แล้ว รวมถึง ถั่วเหลือง แป้ง ข้าวโพด
ข้าวบาร์เลย์ และข้าวสาลี
ขณะเดียวกัน
จีนผู้ผลิตรายใหญ่ถั่วเหลืองอินทรีย์ของโลกก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่เข้มงวดจากปัญหาการระบาดของโรคโควิด
๑๙ นอกจากนั้น การจัดส่งบรรจุภัณฑ์
และอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวัตถุดิบรองก็ยังได้รับผลกระทบด้วย
เนื่องจาก อุปสรรคการขนส่งในจีน รัฐบาลจีนก็สั่งปิดท่าเรือระหว่างรปะเทศบางส่วน
ยิ่งเร่งให้เกิดความเสียหายต่อการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั่วโลก
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการปิดร้านอาหารทั่วโลก
พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงในระหว่างการระบาดของโรคโควิด ๑๙
ไปอย่งมากทำให้ผู้ประกอบการต้องคิดนโยบาย และกลยุทธ์ใหม่ในการทำงาน
การผลิตเนื้อแกะ สัตว์น้ำ เนื้อโค และเนื้อลูกโคเป็นภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบอย่างเลวร้ายที่สุด
เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ และปศุสัตว์ในอียูเรียกร้องมาตรการจัดการวิกฤติ
เพื่อบรรเทาผลกระทบของโรคโควิด ๑๙
ห้องเย็นเก็บสินค้าเป็นมาตรการสำคัญที่จะผู้ประกอบการผลิตสัตว์น้ำเรียกร้อง
นักวิเคราะห์คาดการใช้ถั่วเหลือง ข้าวโพด และข้าวสาลีในอาหารสัตว์จะลดลง
การบริโภคปลา
และเนื้อทั่วโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการเมล็ดธัญพืช
และเมล็ดพืชให้น้ำมันสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ หรือจีแอนด์โอลดลงเช่นกัน
นักวิเคราะห์คาดว่า ความต้องการถั่วเหลือง ข้าวโพด
และข้าวสาลีสำหรับผลิตเป็นอาหารสัตว์จะลดลงในประเทศต่างๆ เช่น เวียดนาม ไทย
มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ นี้
ยอดการผลิตสุทธิของถั่วเหลือง
ข้าวโพด และข้าวสาลี ประมาณร้อยละ ๖๕ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ ๓๕ ใช้สำหรับมนุษย์บริโภค ดังนั้น แม้ว่า
การบริโภคจีแอนด์โอในครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นได้
แต่ก็จะได้รับผลกระทบจากการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ลดลงอย่างมาก
การอพยพกลับของแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดำรงอยู่ได้ด้วยแรงงานต่างชาติ
เมื่อมาตรการล็อกดาวน์เป็นไปอย่างเข้มข้น
แรงงานต่างชาติเหล่านี้จึงเริ่มทยอยกลับภูมิลำเนาของตัวเอง
ส่งผลต่อวงจรการผลิตอาหารตั้งแต่การกระจายสินค้า และการผลิตอย่างรุนแรง ดังนั้น
ผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่จึงประสบปัญหาแรงงานอย่างมาก ได้แต่คอยความหวังว่า
ภาครัฐจะคลายมาตรการ เพื่อเริ่มกิจกรรมการผลิตด้านการเกษตรกรรมอีกครั้ง
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการล่มสลายของเศรษฐกิจต่อไป
นอกเหนือจากนั้น
อุปสรรคการขนส่งทางอากาศ ท่าเรือ การปิดด่านตามถนนทางหลวง
และการขนส่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะยิ่งเพิ่มความเข้มงวดต่อไป
การบริโภคปลา เนื้อสัตว์ปีก เนื้อสุกร และเนื้อโค
จะลดลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงไตรมาสที่ ๒
ความต้องการน้ำมันสำหรับสารเติมอาหารสัตว์จากความวิตกกันเอง
ขณะที่
รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้คำสั่งให้ประชาชนอยู่กับบ้าน
เกษตรกรหลายรายวิตกกังวลจึงรีบไปซื้ออาหารสัตว์กักตุนไว้
เพราะเกรงว่าจะเกิดความขาดแคลน เช่น รถขนส่งอาหารสัตว์ไม่สามารถวิ่งได้
และคนงานติดเชื้อโควิด ๑๙ ทำให้ผู้ประกอบการผลิตในฟาร์มพยายามกักตุนอาหารสัตว์ ทำให้ความต้องการสารเติมอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน
เกษตรกรในสหรัฐฯ ยังกังวลว่า มาตรการในการผลิตที่โรงเชือดอีกด้วย
รัฐบาลสหรัฐฯยังสั่งปิดโรงงานเอธานอล ทำให้เกษตรกรยิ่งกังวล โดยเฉพาะ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดอาหารปศุสัตว์ก็เกรงว่าจะขาดดีดีจี (Dried distrillers grains, DDGs) ที่เป็น by-product ที่สำคัญในการผลิตอาหารสัตว์อย่างมาก
แนวโน้มดังกล่าวนี้
มีรายงานมาก่อนแล้วในจีน ติดตามมาด้วยเยอรมัน และฝรั่งเศส ในเวลาต่อมาก็เป็นสหรัฐฯ
หลังจากศูนย์กลางการระบาดของโควิด ๑๙ ขยับจากเอเชียไปยังยุโรป และอเมริกาเหนือ
ตามลำดับ ในช่วงแรกของการล็อกดาวน์ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ฝรั่งเศสซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ปริมาณมาก
ตามมาด้วยเยอรมัน ท่ามกลางความวิตกกังวลว่าจะหยุดการผลิตลงชั่วคราว
ทำให้ยอดจำหน่ายอาหารสัตว์ทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นร้อยละ ๑๐ ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์วางแผนจัดการให้ผลิตอาหารสัตว์ได้ต่อเนื่อง
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากปัญหาการขนส่ง
และการผลิตอาหารสัตว์
โดยรัฐบาลพยายามใช้แผนจัดการใหม่ที่ยังคงความปลอดภัยให้กับผู้ผลิตในฟาร์ม
เพื่อให้ยังคงการผลิต และจัดหาสารเติมอาหารสัตว์ได้อย่างต่อเนื่อง
สมาคมอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ดัทช์กำหนดแนวทางเบื้องต้นเพื่อรักษาการผลิตให้ได้อย่างต่อเนื่อง
เพื่อนำส่งอาหารสัตว์ให้กับผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์
โดยที่ปกป้องคุ้มครองสุขภาพคนงานด้วย นอกจากนั้น การปฏิบัติตามคำแนะนำให้เป็นการตัดสินใจได้เอง
ไม่เป็นการบังคับ คำแนะนำดังกล่าวจะถูกปรับใช้ตามสถานการณ์ในอนาคต
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ยังคงดำเนินไปตามแผนความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเข้มงวด
และประสานงานการจัดการผ่านทางโทรศัพท์
พนักงานขับรถขนส่งสารเติมอาหารสัตว์จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการหลักสุขศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก
โดยเฉพาะ การสอบย้อนกลับโอกาสสัมผัสโรคของพนักงานมีความสำคัญอย่างมาก
การสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับบุคคลอื่นๆต้องหลีกเลี่ยง หรือลดลงให้ได้มากที่สุด
เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตสารเติมอาหารสัตว์เดินหน้าต่อไปได้
ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขศาสตร์อย่างเคร่งครัด
สำหรับข้อแนะนำเบื้องต้น การสัมผัสใกล้ชิดระหว่างบุคคลควรมีระยะห่างกัน ๒ เมตร
และไม่เกิน ๑๕ นาที ผู้ประกอบการในสหราชอาณาจักร พยายามปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว
เพื่อให้การผลิตอาหารสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ไปได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน
ยังคงความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค และพนักงานไว้ได้
เอกสารอ้างอิง
Roy Choudhury N.
2020. Covid-19: The impact on the animal feed industry. [Internet]. [Cited 2020
Apr 28]. Available from: https://www.allaboutfeed.net/Raw-Materials/Articles/2020/4/Covid-19-The-impact-on-the-animal-feed-industry-575937E/
ภาพที่ ๑ สมาคมอาหารสัตว์ในเนเธอร์แลนด์ออกข้อปฏิบัติที่เหมาะสม
เพื่อรักษาการผลิตไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การส่งอาหารสัตว์สู่ฟาร์ม
และการคุ้มครองปกป้องสุขภาพคนงานพร้อมไปด้วยกัน
(แหล่งภาพ Bert Jansen)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น