การผลิตเนื้อสัตว์ปีกเติบโตอย่างมากในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา
นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์สำหรับการพัฒนาด้านเกษตรกรม ดร.ฮานส์ วิลเฮล์ม วินด์ฮอร์สต์ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกโลก
ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง
๒๕๖๓ ห้าสิบปีที่ผ่านมา การผลิตเนื้อสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นจาก ๑๕.๑ ล้านตันเป็น ๑๓๗
ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ ๘๐๗.๘
เนื้อสัตว์ปีกจึงเป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุด ปริมาณการผลิตเติบโตอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๓ ถึง ๒๕๖๓ เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า ๖๘ ล้านตัน
การวิเคราะห์รายละเอียดการพัฒนาระดับทวีป
เปิดเผยให้เห็นถึงบทบาทที่โดดเด่นของเอเชีย ดังแสดงในตารางที่ ๑ และภาพที่ ๑ การเติบโตโดยรวมคิดเป็น
๑๒๑.๙ ล้านตันภายในเวลาหนึ่งทศวรรษเป็นผลจากทวีปเอเชีย ร้อยละ ๔๑.๖
ติดตามด้วยทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ร้อยละ ๑๖.๘ ทวีปอเมริกาเหนือร้อยละ ๑๖
และทวีปยุโรปร้อยละ ๑๔ โดยทวีปแอฟริกาและโอเชียเนียตามหลังไปไกลมาก
การเติบโตสัมพัทธ์ที่สูงที่สุดเกิดขึ้นในทวีปอเมริกากลางและใต้ กับเอเชีย
แม้กระทั่งในแอฟริกาก็ยังสูงกว่าทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ
ตารางที่ ๑
การพัฒนาการผลิตเนื้อสัตว์ปีกที่ระดับทวีประหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓ ข้อมูลแสดงเป็นหน่วย
๑,๐๐๐ ตัน
ทวีป/ปี
|
2513
|
2523
|
2533
|
2543
|
2553
|
2563
|
เพิ่มขึ้น
|
ร้อยละ
|
แอฟริกา
|
598
|
1,056
|
1,969
|
2,962
|
4,782
|
7,329
|
6,731
|
1,125
|
เอเชีย
|
2,702
|
5,216
|
10,037
|
22,907
|
34,814
|
53,401
|
50,699
|
1,876
|
ยุโรป
|
5,315
|
9,115
|
11,758
|
11,859
|
16,227
|
22,380
|
17,065
|
321
|
อเมริกาเหนือ
|
5,092
|
7,014
|
11,492
|
17,640
|
20,801
|
24,642
|
19,547
|
384
|
อเมริกากลาง/ใต้
|
1,250
|
3,920
|
5,258
|
12,522
|
21,549
|
27,740
|
26,495
|
2,128
|
โอเชียเนีย
|
142
|
353
|
403
|
767
|
1,144
|
1,537
|
1,395
|
982.4
|
ทั่วโลก
|
15,095
|
25,946
|
40,997
|
68,656
|
99,317
|
137,029
|
121,934
|
807.8
|
ภาพที่ ๑
การผลิตเนื้อสัตว์ปีกในทวีปต่างๆ ปี พ.ศ.๒๕๔๓ ถึง ๒๕๖๓ (Kauer สร้างจากข้อมูลเอฟเอโอ)
ยุโรปก่อนศตวรรษที่สิบเก้า
จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๓๓
ยุโรปผลิตเนื้อสัตว์ปีกมากกว่าเอเชีย หลังจากนั้น
ประเทศเอเชียหลายแห่งก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ อเมริกาก็แซงยุโรป
ความเปลี่ยนแปลงในแต่ละทวีปส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตทั่วโลก
หลายสิบปีต่อมา ทวีปเอเชียเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๑ ขณะที่
ทวีปอเมริกากลางและใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒ ในทางตรงกันข้าม ยุโรปลดลงเกือบร้อยละ ๑๙
และอเมริกาเหนือมากกว่าร้อยละ ๑๕ ดังแสดงในภาพที่ ๒
ภาพที่ ๒
การเปลี่ยนแปลงการผลิตเนื้อสัตว์ปีกของแต่ละทวีป ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๓ ถึง ๒๕๖๓ (A.S. Kauer สร้างจากข้อมูลเอฟเอโอ)
เมื่อลึกเข้าไปถึงการเติบโตของการผลิตเนื้อสัตว์ปีกตามชนิดสัตว์เห็นได้ชัดว่า
การผลิตเนื้อไก่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นดังแสดงในตารางที่ ๒
โดยรวมการเติบโตของปริมาณการผลิตเนื้อไก่เป็น ๑๐๘.๓ ล้านตัน หรือร้อยละ ๘๘.๑
การเติบโตสัมพัทธ์ที่สูงที่สุดเป็นเนื้อห่านและเป็ด จะเห็นได้ว่า
เนื้อไก่มีส่วนแบ่งร้อยละ ๘๕.๕ และ ๘๘.๒ ในการผลิตทั่วโลก ขณะที่
เนื้อเป็ดและเนื้อห่านสามารถขยายส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นได้
เนื้อไก่งวงยังมีความแปรปรวนอยู่
ตารางที่ ๒
ส่วนแบ่งของเนื้อสัตว์ปีกตามชนิดสัตว์ในการผลิตเนื้อสัตว์ปีกทั่วโลก พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง
๒๕๖๓
ทวีป/ปี
|
2513
|
2523
|
2533
|
2543
|
2553
|
2563
|
เพิ่มขึ้น
|
ร้อยละ
|
เนื้อไก่
|
13,140
|
22,896
|
35,416
|
58,698
|
87,270
|
120,461
|
107,321
|
816.8
|
เป็ด
|
501
|
713
|
1,239
|
2,872
|
4,046
|
6,160
|
5,659
|
1,129.5
|
ห่าน
|
226
|
282
|
608
|
1,903
|
2,499
|
4,359
|
4,138
|
1,828.8
|
ไก่งวง
|
1,219
|
2,047
|
3,718
|
5,141
|
5,527
|
6,029
|
4,801
|
394.6
|
อื่นๆ
|
9
|
8
|
16
|
42
|
25
|
20
|
11
|
122.2
|
ทั้งหมด
|
15,095
|
25,946
|
40,997
|
68,656
|
99,317
|
137,029
|
121,934
|
807.8
|
ภาพที่ ๓
สัดส่วนของเนื้อสัตว์ปีกในการผลิตสัตว์ปีกทั่วโลกระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓
ข้อมูลแสดงเป็นร้อยละ (A.S.
Kauer สร้างจากข้อมูลเอฟเอโอ)
ความแตกต่างระหว่างทวีป
ในลำดับถัดไป
การผลิตเนื้อไก่และไก่งวงในระดับทวีปในหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิเคราะห์แยกจากกัน
ภาพที่ ๔
การเติบโตของการผลิตเนื้อไก่ทั่วโลก โดยจำแนกเป็นทวีป ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓
(A.S.
Kauer สร้างจากข้อมูลเอฟเอโอ)
ดังที่คาดไว้
ชนิดของเนื้อที่โดดเด่นก็คล้ายคลึงกัน เนื่องจาก
บทบาทที่โดดเด่นเป็นประเทศแถบเอเชียเป็นผู้เล่นสำคัญในการผลิตเนื้อเป็ด และห่าน
แต่ก็ยังต่ำกว่าภาพรวม จนกระทั่งช่วงปี พ.ศ. ๒๖๓๓ ทวีปยุโรป
และอเมริกาเหนือก็ผลิตเนื้อไก่มากกว่าเอเชีย และในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ทวีปเอเชียก็ตามได้ทัน
ภาพที่ ๕
การเปลี่ยนแปลงของารผลิตเนื้อไก่ทั่วโลกแยกตามทวีป ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓ (A.S. Kauer สร้างจากข้อมูลเอฟเอโอ)
อ้างอิงตามภาพที่ ๕
เมื่อเปรียบเทียบกับภาพที่ ๒ แสดงให้เห็นว่า ส่วนแบ่งของทวีปอเมริกาเหนือ
และยุโรปคล้ายคลึงกัน ขณะที่ ทวีปเอเชียต่ำลง และทวีปอเมริกากลางและใต้สูงขึ้น
ภาพที่ ๖
การเติบโตของการผลิตเนื้อไก่งวงทั่วโลกแยกตามทวีป ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓ (A.S. Kauer สร้างจากข้อมูลเอฟเอโอ)
ไก่และไก่งวง
การเปลี่ยนแปลงในการผลิตเนื้อไก่งวงแตกต่างจากการผลิตเนื้อไก่อย่างชัดเจน
ดังแสดงในภาพที่ ๖ จะเห็นว่า
ทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปมีผลผลิตเนื้อสัตว์ชนิดนี้อย่างโดดเด่นมาก ขณะที่
ทวีปอื่นๆทั้งหมด ปริมาณการผลิตต่ำอย่างมาก จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๕๓ สังเกตว่า
ทวีปอเมริกากลางและใต้มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น
เมื่อวิเคราะห์การเติบโตของการผลิตไก่งวง
อัตราการเติบโตสัมพัทธ์และสัมบูรณ์สูงที่สุดจนกระทั่งราวปี พ.ศ.๒๕๓๓
นับจากนั้นก็ค่อยๆลดลง แล้วจนถึงช่วงของการเจริญเล็กน้อยหรือไม่เจริญ ขณะที่
ทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรปมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเติบโตสัมบูรณ์
และการเติบโตสัมพัทธ์สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกากลางและใต้
การเปลี่ยนแปลงของการผลิตเนื้อไก่งวงระดับทวีประหว่างปี
พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓ สังเกตว่า ทวีปยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๔
ทวีปอเมริกากลางและใต้ร้อยละ ๘.๙ ในทางตรงกันข้าม ทวีปอเมริกาเหนือหายไปร้อยละ
๒๖.๘ การเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตทั่วโลกมาจากทวีปยุโรปร้อยละ ๓๖.๙
และทวีปอเมริกาเหนือร้อยละ ๓๙.๑ โดยทวีปอื่นๆมีผลน้อยอย่างมาก สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างมากของการบริโภคเนื้อไก่งวงต่อประชากร
ขณะที่ ชนิดของเนื้อสัตว์ชนิดนี้นิยมบริโภคในทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือเป็นหลัก
ยังไม่เป็นที่นิยมนักในเอเชีย ยกเว้น อัลจีเรีย และโมรอคโค
ภาพที่ ๗ การเปลี่ยนแปลงของการผลิตเนื้อไก่งวงทั่วโลกแยกตามทวีป
ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓ (A.S. Kauer สร้างจากข้อมูลเอฟเอโอ)
ความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนที่ระดับประเทศ
ตลอดระยะเวลา ๕๐
ปีที่ผ่านมา องค์ประกอบ
และลำดับของประเทศผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกชั้นนำของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากดังแสดงในภาพที่ ๘ สหรัฐฯอยู่ในลำดับที่ ๑
ตลอดมาจนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๖๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ถูกแซงโดยจีนที่ผลิตมากกว่าสหรัฐฯ
๔๔๒,๐๐๐ ตัน
การเติบโตอย่างโดดเด่นเป็นบราซิล
กระโดดจากลำดับที่ ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นลำดับที่ ๓ ในปี พ.ศ.๒๕๖๓
สหภาพโซเวียตเคยอยู่ในลำดับที่ ๒ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๓๓
ภายหลังการล่มสลายทางการเมืองและเศรษฐกิจ ปริมาณการผลิตก็ลดลงตามลำดับ จนกระทั่ง
ทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง รัสเซียก็เข้าสู่ ๑๐ ลำดับแรกอีกครั้ง
ภาพที่ ๘ องค์ประกอบ
และลำดับของประเทศผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกชั้นนำของโลก ๑๐ ลำดับแรก ระหว่างปี
พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓ (ข้อมูลเอฟเอโอ)
การผลิตเนื้อสุกรลดลงอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจาก การระบาดหนักของโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกา
เป็นจุดเปลี่ยนให้มีการขยายการผลิตไก่เนื้อ ขณะที่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓
ห้าประเทศยุโรปรั้งตำแหน่งสิบอันดับแรก และยังมีอดีตสหภาพโซเวียตอยู่ด้วย ในปี
พ.ศ.๒๕๖๓ รัสเซีย และโปแลนด์ก็ขยับขึ้นมาใหม่
สิบอันดับประเทศผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกโลกอยู่ในเอเชีย ๕ ในอเมริกา ๓ และยุโรปเพียง
๒ ประเทศเท่านั้น ที่น่าสนใจคือการเติบโตของอินเดีย อินโดนีเซีย และอิหร่าน
การผลิตเนื้อสัตว์ปีกใน
พ.ศ.๒๕๑๓ นั้น สิบอันดับแรกของผู้ผลิตสัตว์ปีกมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ ๖๗.๘
สิบปีถัดๆไปจากนั้น ก็ผันผวนอยู่ระหว่างร้อยละ ๖๒ ถึง ๖๕ ภาพที่ ๙
แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบ
และอันดับของสิบประเทศชั้นนำผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีก พบว่า ความสำคัญของยุโรปลดลง
และมีการเติบโตของประเทศในเอเชียและอเมริกาใต้
โปแลนด์เป็นน้องใหม่ที่ขยับขึ้นอยู่ในอันดับที่ ๘ สำเร็จในปี พ.ศ.๒๕๖๓
ภาพที่ ๙
ส่วนแบ่งของประเทศผู้ผลิตสัตว์ปีกในการผลิตเนื้อสัตว์ปีก ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง
๒๕๖๓ (A.S.
Kauer สร้างจากข้อมูลเอฟเอโอ)
มีข้อยกเว้นบางประการเกี่ยวกับองค์ประกอบ
และอันดับของประเทศผู้ผลิตเนื้อไก่ชั้นนำ ๑๐ ประเทศ
คล้ายคลึงกับการผลิตเนื้อสัตว์ปีกโดยภาพรวม ในปี พ.ศ.๒๖๖๓
สหรัฐฯรั้งอยู่ในอันดับที่เหนือกว่าจีนเป็นครั้งแรก กำลังการผลิต ๖
ล้านตันมากกว่าจีน อาร์เจนตินาอยู่ในอันดับ ๑๐ แทนที่โปแลนด์
การลดกำลังการผลิตเนื้อไก่ตามพื้นที่
ขณะที่ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ สิบอันดับแรกมีกำลังการผลิตสองในสามของปริมาณการผลิตทั่วโลก
แต่ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ลดกำลังการผลิตลงร้อยละ ๕๙.๙ ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของประเทศต่างๆในทวีปเอเชีย
แต่ยังบ่งบอกถึง การกระจายกำลังการผลิตไก่เนื้อทั่วไปในหลายพื้นที่
โดยไม่มีอุปสรรคด้านศาสนาต่อการบริโภคเนื้อไก่
และยังมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดีเยี่ยม
นับเป็นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญอย่างมาก ดังแสดงในภาพที่ ๑๐
ภาพที่ ๑๐
แสดงส่วนแบ่งของการผลิตเนื้อไก่สิบอันดับแรกในการผลิตไก่เนื้อทั่วโลก ระหว่างปี
พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓ (A.S.
Kauer สร้างจากข้อมูลเอฟเอโอ)
องค์ประกอบ
และอันดับของการผลิตเนื้อไก่งวงในประเทศต่างๆแตกต่างกันอย่างมากกับเนื้อไก่ ดังภาพที่ ๑๑ แสดงให้เห็นว่า
ประเทศในยุโรปมีบทบาทอย่างมาก ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓ สังเกตว่า ๖ ใน ๑๐
ของประเทศผู้นำการผลิตอยู่ในยุโรป
การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียดก็จะเห็นได้อย่างชัดเจน สหรัฐฯ
อยู่ในอันดับที่ ๑ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
บราซิลไม่ได้อยู่ในผู้นำการผลิตเนื้อไก่งวงในปี พ.ศ.๒๕๑๓ แล้วไต่ขึ้นจากอันดับที่
๑๐ เป็นอันดับที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ และยังคงรักษาไว้ได้ เช่นเดียวกับเยอรมัน
ที่ขึ้นแท่นอันดับที่ ๓ ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ในทางตรงกันข้าม
อิตาลีและฝรั่งเศสล่วงลงไปหลายอันดับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓
เช่นเดียวกับคานาดาและสหราชอาณาจักรก็ลงไปใกล้ท้ายตารางแล้ว โปแลนด์และสเปนกลายเป็นผู้ผลิตเนื้อไก่งวงรายสำคัญในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
อิสราเอลเคยติดอันดับมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๓ จนถึง ๒๕๕๓ ก็ถูกโมรอคโคขึ้นแทน
บางประเทศติดอันดับเป็นช่วงสั้นๆอย่างยูโกสลาเวีย ฮังการี และอาร์เจนตินา
ภาพที่ ๑๑ องค์ประกอบ
และลำดับของประเทศผู้ผลิตเนื้อไก่งวงชั้นนำของโลก ๑๐ ลำดับแรก ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๓
ถึง ๒๕๖๓ (ข้อมูลเอฟเอโอ)
ดังแสดงในภาพที่ ๑๒
ความหนาแน่นของการผลิตเนื้อไก่งวงเป็นภูมิภาคจะสูงกว่าเนื้อไก่อย่างมาก ความผันผวนก็น้อยกว่า
จะแตกต่างก็เพียงระหว่างร้อยละ ๘๘ ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ และร้อยละ ๙๓.๗ ในปี พ.ศ.๒๕๑๓
สหรัฐฯ รั้งตำแหน่งผู้นำโดยมีสัดส่วนร้อยละ ๖๔.๓ ของปริมาณการผลิตทั่วโลก
โดยบราซิลและเยอรมันก็เพิ่มการผลิตขึ้น ทำให้สัดส่วนของสหรัฐฯลดลงเป็นร้อยละ ๔๓.๓
ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ความจริงแล้ว สัดส่วนของประเทศผู้นำการผลิต ๔ อันดับแรกอยู่ระหว่างร้อยละ
๘๓.๗ ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ และร้อยละ ๖๗.๒ ในปี พ.ศ.๒๕๖๓
แม้ว่าจะไม่มีอุปสรรคทางศาสนาสำหรับการบริโภคเนื้อไก่งวง
แต่ก็ไม่เคยเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลขสองหลักเลยในรอบสิบปี เนื่องจาก
ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ไม่จูงใจ และเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกขึ้นบ่อยในสหรัฐฯ
และยุโรป เป็นปัจจัยจำกัดการเติบโต ยิ่งไปกว่านั้น
เนื้อไก่งวงยังไม่สามารถหาพื้นที่ของตัวเองในระบบของวิทยาการทำอาหาร
และยังไม่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคในประเทศแถบเอเชีย
จึงมีอัตราเติบโตที่ต่ำโดยตลอดในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา
ภาพที่
๑๒
ส่วนแบ่งของการผลิตเนื้อไก่สิบอันดับแรกในการผลิตไก่งวงเนื้อทั่วโลก ระหว่างปี
พ.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓ (A.S.
Kauer สร้างจากข้อมูลเอฟเอโอ)
บทสรุปและมุมมองต่ออนาคต
การผลิตเนื้อสัตว์ปีกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในรอบห้าสิบปีที่ผ่านมา
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การผลิตเนื้อสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นแปดเท่าตัวโดยปริมาณการผลิตเกือบ
๑๒๒ ล้านตันในปี พ.ศ.๒๕๖๓
เนื้อสัตว์ปีกจึงเป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เติบโตรวดเร็วที่สุด
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเติบโตของการผลิตเนื้อไก่ที่มีส่วนแบ่งร้อยละ ๘๕ ถึง ๘๘
ของปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์ปีกโดยภาพรวม
เทคโนโลยี Hybridization ได้สร้างความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมต่อการผลิตเนื้อไก่
ช่วยลดจำนวนวันที่ใช้สำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อส่งโรงฆ่า
ร่วมกับอาหารสัตว์ที่มีพลังงานสูง ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
และทำให้เนื้อไก่เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ผู้บริโภคชื่นชอบ เนื่องจาก ราคาที่ถูกกว่าเนื้อโค
หรือเนื้อสุกร เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการผลิตไข่ไก่
การผลิตในประเทศผู้นำทั้งหลายก็ดำเนินการโดยบริษัทธุรกิจการเกษตรครบวงจร
สิ่งที่แตกต่างกันไปบ้างคือ
ในอุตสาหกรรมการผลิตไข่ไก่ทุกขั้นตอนการผลิตอยู่ภายใต้บริษัทเดียวกัน
แต่ในไก่เนื้อและไก่งวงจะเป็นการเลี้ยงแบบพันธสัญญาเป็นหลัก
เนื้อไก่งวง เนื้อเป็ด
และเนื้อห่านยังตามหลังอีกไกล
การเปลี่ยนแปลงตามทวีปและประเทศยังแตกต่างกันไป
ทวีปเอเชียเติบโตจากร้อยละ ๒๓.๘ ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ เป็นร้อยละ ๖๒.๒ ในปี พ.ศ.๒๕๖๓
ทวีปอเมริกากลางและใต้จากร้อยละ ๘.๒ เป็นร้อยละ ๒๐.๒ ขณะที่ ทวีปยุโรป
และอเมริกาเหนือลดลงอย่างต่อเนื่อง ทวีปยุโรปลดลงเกือบร้อยละ ๓๐ และอเมริกาเหนือร้อยละ
๑๕
แม้ว่า
สหรัฐฯจะสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำการผลิตเนื้อไก่ จีนและประเทศเอเชียหลายประเทศ
ได้แก่ อินดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ยังเป็นผู้ชนะเหนือบราซิลในการผลิตเนื้อสัตว์ปีก
ประเทศในยุโรปยังถูกทิ้งอยู่ห่างไกล ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ รัสเซียและโปแลนด์ขึ้นมาอยู่ในกลุ่มผู้นำสิบอันดับแรก
การผลิตเนื้อไก่งวง
เนื้อเป็ด และเนื้อห่านแตกต่างจากเนื้อไก่อย่างมาก
เนื้อไก่งวงผลิตในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปเป็นหลัก
เนื้อเป็ดและเนื้อห่านผลิตในทวีปเอเชีย มุมมองวิเคราะห์ขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
และองค์การอาหารโลก จนถึงปี พ.ศ.๒๕๗๓ การผลิตเนื้อสัตว์ปีกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น
๑๕๓ ล้านตัน ทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกากลาง/ใต้จะเป็นกำลังสำคัญ ขณะที่
ทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปจะมีส่วนแบ่งที่ลดลง แม้ว่าจะมีปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น
เนื้อไก่จะยังคงเติบโตสูงที่สุด
ขณะที่ การผลิตเนื้อเป็ด และห่านจะยังเพิ่มขึ้นในทวีปเอเชีย ขณะที่ เนื้อไก่งวงจะยังเติบโตปานกลางเท่านั้น
โดยอาจจะลดลงในทวีปอเมริกาเหนือ และประเทศในยุโรปหลายแห่ง เนื่องจาก การบริโภคของประชากรลดลง
นอกเหนือจากนั้นยังเกิดการระบาดหนักของโรคไข้หวัดนกในฟาร์มไก่งวง
ทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป ยิ่งส่งผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงของผู้ผลิต ในช่วงทศวรรษนี้เอง
โรคไข้หวัดนกกลายเป็นโรคประจำถิ่นในภูมิภาคตอนเหนือ การให้วัคซีนในไก่งวง และไก่ไข่สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการระบาดได้
แต่ยังมีความเห็นคัดค้านการบังคับให้วัคซีนในประเทศผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่หลายประเทศ
เนื่องจาก กังวลต่อโอกาสในการส่งออก
แม้ว่า เนื้อเทียมจากพืช
และเนื้อเทียมจากเซลล์เพาะเลี้ยงจะประสบความสำเร็จ และมีตลาดให้การรับรองเนื้อเทียมแล้ว
แต่จะสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดได้ไม่มากนัก ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุให้การผลิตเนื้อเทียมจากเซลล์เพาะเลี้ยงยังเป็นอุปสรรค
และข้อจำกัดที่สำคัญ
เอกสารอ้างอิง
Wilhelm
Windhorst H. 2023. Remarkable
dynamics of the global poultry industry. [Internet]. [Cited 2023 Oct 13]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/remarkable-dynamics-of-the-global-poultry-industry-2/
ภาพที่
๑
ในช่วง ค.ศ.๒๕๑๓ ถึง ๒๕๖๓ มานี้ การผลิตเนื้อสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นราวร้อยละ ๘๐๐
(แหล่งภาพ Canva)