โอกาสที่จะลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก สร้างพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้ผู้ผลิต
งานประชุมประจำปีคณะกรรมการไข่ระดับนานาชาติ
หรือไออีซี เจมส์ คอร์เบตต์ กลุ่มบริษัทผลิตอาหารริดจ์เวย์
นำเสนอการจัดการวัสดุรองพื้นจากฟาร์มสัตว์ปีก ซึ่งผู้ผลิตบางรายมองว่าเป็นรายจ่าย
ขณะที่ บางรายเล็งเห็นโอกาสที่จะสร้างรายได้เพิ่มเติม วัสดุรองพื้นในสหราชอาณาจักรมีมูลค่าทางการตลาดราว
๔๔๓ ถึง ๖๖๔ บาทต่อตัน ใช้ทดแทนปุ๋ยที่ให้ไนโตรเจนได้ตลอดปี ขณะที่ในประเทศอื่นๆ
จะทำให้แห้งและอบขี้ไก่ให้เป็นเม็ดก่อนออกจากฟาร์ม โดยต้องเก็บไว้ก่อนที่จะนำมาใช้
หรือจำหน่าย และการเก็บก็หมายความว่าต้องใช้พื้นที่
กองขี้ไก่มักถูกเก็บก่อนใช้
หรือขาย การเก็บหมายความว่า
จำเป็นต้องใช้พื้นที่เก็บรักษาและป้องกันไม่ให้เรี่ยราดออกไปกลายเป็นมลพิษทางน้ำกับสิ่งแวดล้อมต่อไป
เกิดคำถามว่า เกษตรกรได้ใช้กองขี้ไก่ทั้งหมดหรือเปล่า
บางบริษัทประสบความสำเร็จในการจัดการกองขี้ไก่ โดยมีตัวอย่างของผู้ประกอบการที่สามารถจดสิทธิบัตรการเผากองขี้ไก่จากไก่ไข่ด้วยวิธีที่เชื่อถือได้
เพื่อผลิตเป็นความร้อนและไฟฟ้าใช้ในฟาร์มตัวเอง เทคโนโลยีนี้พิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้พลังงานทดแทนได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง
ตอนนี้ได้ติดตั้งไปแล้ว ๑๔ แห่งในสหราชอาณาจักรสำหรับฟาร์มสัตว์ปีก และฟาร์มไก่ไข่
ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาใช้โดยคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเพื่อช่วยกำหนดกฏเกณฑ์ใหม่สำหรับยุโรปในการใช้มูลสัตว์จากฟาร์มสัตว์ปีกเป็นพลังงานหมุนเวียนใช้ในฟาร์มเอง
ซึ่งเป็นกฏระเบียบที่มีอยู่แล้วในฉบับที่ ๕๙๒/๒๐๑๔ และ ๑๗๖๒/๒๐๑๗ นอกจากนั้น ยังนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีฟอสฟอรัส
และโปแทสเซียมสูง ตอนนี้ยังกำลังหาทางนำมาใช้เป็นเนื้อและกระดูกป่น เป็นต้น
สิ่งท้าทายในการกำจัดกองขี้ไก่
สิ่งท้าทายหลายอย่างต่อผู้ผลิตสัตว์ปีกที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดกองขี้ไก่
โดยเฉพาะตามแม่น้ำที่อยู่ระหว่างอังกฤษและเวลส์ สิบห้าปีที่ผ่านมา การขยายฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างมากส่งผลให้คุณภาพน้ำแย่ลง
รัฐบาลสหราชอาณาจักรจึงให้ทุนหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาทให้กับผู้ผลิตสัตว์ปีกสำหรับการเผาทำลายกองขี้ไก่
แม้ว่าจะไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา
แต่อย่างน้อยก็จะช่วยให้ผู้ผลิตสัตว์ปีกมีทางเลือกต่อการจัดการกองขี้ไก่ปริมาณมหาศาล
ทางออกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการควบคุมมลภาวะเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็มีต้นทุนสูง
รัฐบาลก็ต้องพยายามหาทางเลือกที่ดีกว่านี้ การเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
และเถ้าที่สามารถใช้สำหรับเป็นปุ๋ย น่าจะเป็นทางออกที่เป็นประโยชน์มากกว่า
โอโวแบรนด์ในอาร์เจนตินา
มีโครงการวิจัยโมโนไดเจสชั่น เป็นการใช้มูลสัตว์ปีกสด
เป็นสับสเตรตของแข็งผสมกับน้ำทิ้งในฟาร์มเอง ปัจจุบันในทุกวัน มูลสัตว์ปีก ๑๗๐
ตันถูกผลิตแล้วขนส่งไปยังภาคสนาม
แต่บริษัทได้พัฒนาระบบการจัดการมูลสัตว์ปีกได้มากกว่า ๖๒,๐๐๐ ตันต่อไป มูลสัตว์ปีกถูกเคลื่อนย้ายไปยังถังผสมที่โรงงานฯ
เพื่อนำแคลเซียมคาร์บอเนตมาใช้
การสร้างพลังงานผ่านการเผาภายใน
ของเหลวที่เกิดขึ้นถูกปั๊มเข้าสู่ถังรับของเหลวสำหรับการบำบัดด้วยความร้อน
และหลังจากนั้น หมัก ๒๒ วันในถังย่อยแบบไม่ใช้อากาศ ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นแก๊สมีเธน
และคาร์บอนไดออกไซด์ ไบโอแกณสที่ได้จะถูกดึงความชื้นและซัลเฟอร์ออก
เพื่อสร้างพลังงานโดยอาศัยการเผาไหม้ภายใน
แร่ธาตุในรูปของเหลวจากการหมักย่อยทางชีวภาพจะถูกกรอง
แล้วแยกเป็นส่วนของแข็ง จากนั้น ผ่านกระบวนการแปรรูปในตู้อบ
เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จำหน่ายต่อไปได้ ส่วนของเหลวจะผ่านการบำบัดแบบใช้อากาศ
และไม่ใช้อากาศ เพื่อใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพสำหรับการผลิตพืชไร่ต่อไปได้
โดยภาพรวมแล้ว
การแปรรูปของเสียอินทรีย์ให้ได้พลังงานไฟฟ้า ๑.๔ เมกาวัตต์ และพลังงานความร้อน ๑.๒
เมกาวัตต์ เพียงพอที่จะใช้สำหรับบ้านเรือน ๓,๗๐๐ หลัง
หรือการใช้พลังงานทั้งหมดของทั้งบริษัทโอโวแบรนด์
การใช้เทคนิคการย่อยสลายขยะแบบเดี่ยวที่นำมาใช้กับมูลสัตว์ปีก
บริษัทหลีกเลี่ยงใช้ผลิตทั้งไฟฟ้า และปุ๋ยชีวภาพ
โดยได้ผลประโยชน์สามอย่างพร้อมกันทั้งต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
เอกสารอ้างอิง
Mcdougal
T. 2024. Poultry manure to energy – where there’s muck
there’s brass. [Internet]. [Cited 2024 Nov 1]. Available
from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/poultry-manure-to-energy-where-theres-muck-theres-brass/
ภาพที่ ๑ มูลสัตว์ปีกอาจจะเป็นภาระใหญ่สำหรรับผู้ผลิตบางราย
แต่บางรายก็เป็นแหล่งรายได้เช่นกัน (แหล่งภาพ Canva)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น