ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเชิงลบต่อความมั่นคงทางอาหารและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ความเสียหายจากโรคนิวคาสเซิลมีมูลค่าสูงราว
๒.๔ พันล้านบาทถึง ๘.๖ หมื่นล้านบาททั่วโลก
จึงมีความจำเป็นต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับการให้วัคซีนอย่างมาก โรคนิวคาสเซิลชนิดความรุนแรงสูง
เป็นเชื้อประจำถิ่นในพื้นที่แถบเอเชียใต้และเอเชียกลาง แพร่กระจายไปทั่วทั้งเอเชีย
ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เกิดการระบาดเป็นครั้งคราวในยุโรป และสหรัฐฯ
เชื้อไวรัสนิวคาสเซิลสายพันธุ์อ่อนแรงยังพบได้ทั่วโลกอีกด้วย
มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพที่ดีขึ้นในฟาร์มส่วนใหญ่
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ที่ทันสมัยบางแห่งยังคงปลอดจากโรคนิวคาสเซิล แม้ว่า
การระบาดยังคงพบในฟาร์มที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเข้มงวดแล้วก็ตาม
โรคนิวคาสเซิลส่งผลให้ไก่ที่ไวรับต่อโรคตายภายใน
๓ ถึง ๔ วัน อัตราการตายสูงได้ถึงร้อยละ ๕๕ ถึง ๑๐๐
ซึ่งมีผลต่อการผลิตสัตว์ปีกทั่วโลก
สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล
เชื้อไวรัสนิวคาสเซิล
สายพันธุ์รุนแรงต่ำ เช่น ลาโซต้า และบี ๑ เป็นเชื้อที่ก่อโรคต่ำ
เชื้อนี้แพร่กระจายทั่วไป แต่ระบาดอยู่ไม่มากนัก
เชื้อที่มีความรุนแรงต่ำถูกใช้เป็นวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลในสัตว์ปีก
สับไทป์ที่รุนแรงปานกลางเป็นเชื้อที่ก่อโรคนิวคาสเซิลได้ระดับปานกลาง
แสดงอาการทางระบบหายใจ และบางครั้งมีอาการทางประสาทด้วย แต่มีอัตราการตายต่ำ
สับไทป์ที่รุนแรงเป็นเชื้อที่ก่อโรคนิวคาสเซิลรูปแบบรุนแรงสูง
และต้องรายงานต่อองค์การสุขภาพสัตว์โลก ประกอบด้วย ๒
รูปแบบของเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง เป็นเชื้อรุนแรงต่ออวัยวะภายใน
เกิดรอยโรคที่ลำไส้แบบมีเลือดออก และเชื้อรุนแรงต่อระบบประสาท
แสดงอาการทั้งทางเดินหายใจและระบบประสาท
เชื้อไวรัสนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง จีโนไทป์ ๗ เป็นเชื้อที่พบได้บ่อยในประเทศเอเชีย และยังพบการระบาดในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือและใต้ การสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลให้ครอบคลุมแบบกว้างขวางเป็นสิ่งสำคัญ ในสัตว์ที่ไม่ให้วัคซีน จีโนไทป์ ๗ สามารถก่อโรคที่มีอัตราการป่วย และการตายสูงได้ถึงร้อยละ ๑๐๐ ในไก่เนื้อ ไก่ไข่ และไก่พันธุ์ นอกจากนั้น ยังแบ่งเป็นจีโนไทป์ย่อย บางชนิดก่อโรครุนแรงอย่างยิ่งยวด ทั้งก้าวร้าว และอันตราย กลุ่มอาการและรอยโรคที่เหนี่ยวนำโดยเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลแตกต่างกันไป แต่ยังไม่มีแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมได้ จึงเกิดความเสียหายมากอย่างที่คาดไม่ถึง
วัคซีนเวกเตอร์
การใช้วัคซีนเวกเตอร์ชนิดรีคอมบิแนนท์
โดยมีเชื้อไวรัสเฮอร์ปีสจากไก่งวง หรือเอชวีที เป็นพาหะ เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์มากสำหรับสัตวแพทย์
และผู้จัดการด้านการผลิต ในการควบคุมเชื้อที่มีวิวัฒนาการตลอดเวลา เนื่องจาก
วัคซีนเวกเตอร์พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการเหนี่ยวนำการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง
กุญแจสำคัญหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีนเวกเตอร์ชนิดรีคอมบิแนนท์
รวมถึง ตำแหน่งที่โปรตีนชนิดเอฟใส่เข้าไปในจีโนมของเอชวีที
ตำแหน่งที่ใส่โปรตีนเข้าไปส่งผลต่อความคงตัวของเชื้อไวรัส และประสิทธิภาพของวัคซีน
ปัจจัยที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ การคัดเลือกเอ็กซ์เพรสชัน แคสเซ็ต ที่ดีที่สุด รวมถึง
ลำดับสารพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนชนิดเอฟ
และส่วนของโปรโมเตอร์ที่เป็นส่วนหน้าของชุดลำดับสารพันธุกรรมที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการเอ็กซ์เพรสชันของแอนติเจน
รวมถึง โพลี เอ ที่เป็นส่วนปลายสุดของคาสเซ็ต
โปรโมเตอร์ที่เข้มแข็งจะช่วยให้การเอ็กซ์เพรสชันแอนติเจนได้ดี แต่ก็ต้องไม่มากจนเกินไป
เพราะจะทำให้เกิดความไม่เสถียร มีโปรโมเตอร์หลายชนิด ต้องเลือกตัวที่ดีที่สุด
วัคซีนเวกเตอร์จะไม่รบกวนแอนติบอดีจากแม่ ในกรณีดังกล่าว โพลแวค โพรเซอร์ตา
เอชวีที-เอ็นดี กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ตั้งแต่อายุได้ ๑๙ วัน
การป้องกันโรคจากจีโนไทป์
๗
เวกเตอร์วัคซีนนิวคาสเซิลตัวล่าสุดในปี
พ.ศ.๒๕๖๓ ได้ศึกษาความสามารถในการป้องกันโรคจากเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลจีโนไทป์ ๗ ชนิดเดี่ยว
หรือร่วมกับวัคซีนเชื้อเป็น หรือเชื้อตาย อื่นๆ พบว่า วัคซีน โพลแวค โพรเซอร์ตา
เอชวีที-เอ็นดี สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การใช้วัคซีนหลายชนิดร่วมกัน
เพื่อลดการสูญเสียจากการผลิต
และการตายของไก่ที่ให้เชื้อพิษทับด้วยไวรัสนิวคาสเซิลที่อายุ ๒๑ และ ๒๘ วัน
สามารถใช้ในแผนการป้องกันโรคโดยใช้วัคซีนโพลแวค โพรเซอร์ตา เอชวีที-เอ็นดี อย่างเดียว
หรือร่วมกับแผนการใช้วัคซีนชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะฉีดไข่ หรือใต้ผิวหนัง ใช้ป้องกันโรคนิวคาสเซิลชนิดความรุนแรงสูงได้เกือบทั้งหมดจากการทดสอบด้วยการป้อนเชื้อพิษทับ
ขณะที่ หากได้รับวัคศีนเชื้อตายจะเป็นประโยชน์ได้ดีขึ้นระหว่างการระบาดของเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลที่มีความรุนแรงสูง
ผลการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงลึกที่จะช่วยให้สัตวแพทย์ป้องกันจีโนไทป์
๗ ได้ดีขึ้น ด้วยแผนการให้วัคซีนที่มีการออกแบบเป็นพิเศษตามสถานการณ์ของแต่ละภูมิภาค
นอกเหนือจากการให้วัคซีน มาตรการป้องกันและควบคุมโรคเพิ่มเติมทั้งการกำจัดสัตว์ป่วย
การตรวจติดตามโรค และระบบความปลอดภัยชีวภาพก็ยังจำเป็น เพื่อลดจำนวนผู้เข้าฟาร์ม และมาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดจะเป็นเครื่องมือที่ได้ผลอย่างมากนอกเหนือจากการให้วัคซีน
เอกสารอ้างอิง
Brockotter F. 2024. Addressing evolving velogenic
Newcastle disease virus strains. [Internet]. [Cited 2024
Nov 15]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/addressing-evolving-velogenic-newcastle-disease-virus-strains/
ภาพที่ ๑ โรคนิวคาสเซิลสามารถทำให้ไก่ที่ไวรับต่อโรคตายได้ภายใน
๓ ถึง ๔ วัน อัตราการตายสูงร้อยละ ๕๕ ถึง ๑๐๐ (แหล่งภาพ Marcel Rob Fotografie)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น