สาหร่ายพระเอกคนใหม่ในอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ผลงานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยรัฐไอโอวา
วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555
แก๊สแอมโมเนียในฟาร์มเลี้ยงไก่เลี้ยงสาหร่ายเป็นอาหารสัตว์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ
วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555
การใช้กลีเซอรีนในการเลี้ยงไก่
ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกได้กระตุ้นให้มีการใช้วัตถุดิบอาหารทางเลือกในสัตว์ปีก โดยเฉพาะ กลีเซอรีน ท่ามกลางการขยายกำลังการผลิตไบโอดีเซล
แหล่งที่มา All about Feed (29/11/12)
วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ฟาร์มในเนเธอร์แลน์พบเชื้อ MRSA ราว 8 เปอร์เซ็นต์
ตรวจพบเชื้อสแตฟิโลคอคคัส ออเรียสดื้อยาเมธิซิลลิน (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus, MRSA) ในฟาร์มไก่เนื้อ ประเทศเนเธอร์แลนด์ราว ๘ เปอร์เซ็นต์ทั้งในตัวไก่ และฝุ่นละออง
สื่อพิมพ์ได้รวบรวมผลการประเมินความเสี่ยงของ Netherlands Food and Consumer Product Safety Authority (NVWA) พบว่า เชื้อ MRSA หลากหลายชนิดมีความเชื่อมโยงกับการผลิตปศุสัตว์เป็นที่รู้จักกันในนาม “LA-MRSA” พบได้ทั้งในเนื้อสุกร และเนื้อลูกวัว โดยผู้ผลิตไก่เนื้อ สามารถพบเชื้อชนิดนี้ได้ประมาณ ๙ เปอร์เซ็นต์ สำหรับบุคลากรในโรงเชือด ยังสามารถพบเชื้อนี้ได้สูงถึง ๑๔ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น NVWA จึงเห็นว่า ควรมีการเพิ่มมาตรการเพิ่มเติม เพื่อคุ้มครองพนักงานที่ปฏิบัติงาน และสัมผัสกับไก่เนื้อมีชีวิต
ในโรงเชือด การทำให้สัตว์สลบด้วยแก๊ส สามารถลดโอกาสการติดเชื้อ MRSA ได้สูงถึง ๔ เท่าเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องช๊อตไฟฟ้าผ่านอ่างน้ำ เมื่อใช้วิธีการทำให้สัตว์สลบด้วยแก๊ส จะช่วยให้สัตว์เคลื่อนไหวน้อยลง มีโอกาสเกิดฝุ่นลดลง และปล่อยสู่อากาศได้น้อยเช่นกัน จึงช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อลงได้ นอกจากนั้น ยังลดการเจ็บปวดให้กับสัตว์อีกด้วย ดังนั้น NVWA จึงแนะนำให้โรงเชือดเปลี่ยนแปลงวิธีการฆ่าไก่ให้เป็นวิธีการที่สัตว์จะมีการเคลื่อนที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนั้น พนักงานความสวมหน้ากากป้องกัน เพื่อลดการติดเชื้อ MRSA ที่มาจากฝุ่นละอองในอากาศ ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง เชื้อ MRSA จะไม่เป็นอันตราย แต่สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล เชื้อ MRSA จะมีอันตรายมากกว่าเชื้อที่มีความไวรับต่อยา นอกเหนือจากนั้น MRSA จะไม่สามารถตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไป เมื่อเร็วๆนี้ การเลี้ยงไก่เนื้อในประเทศเนเธอร์แลนด์ สามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้ถึง ๖๐ เปอร์เซ็นต์เทียบกับปี ค.ศ. ๒๐๐๙
แหล่งที่มา NVWA (5/12/12)
วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
กลุ่มผู้บริโภคอเมริกาเรียกร้องให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะเลี้ยงสัตว์
สหภาพผู้บริโภคในนิวยอร์กเรียกร้องให้มีการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตปศุสัตว์ เนื่องจาก การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปส่งเสริมให้มีการขยายตัวของเชื้อดื้อยาซูเปอร์บั๊ก และทำให้การใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับการรักษามีประสิทธิภาพลดลง
เมื่อสองปีที่แล้ว ดร.โทมัส ไฟร์เดน ผู้อำนวยการ CDC ได้ชี้ให้เห็นถึงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่หนักแน่นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ และการดื้อยาในมนุษย์ ขณะนี้ องค์กรต่างๆด้านสาธารณสุขทั้งสมาคมแพทย์อเมริกา สมาคมสาธารณสุขอเมริกา ชมรมโรคติดเชื้อแห่งอเมริกา และองค์การอนามัยโลยได้ตกลงให้มีการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตสัตว์ที่ใช้สำหรับเป็นอาหาร เนื่องจาก เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษาโรคทางการแพทย์สูงขึ้น ผู้ป่วยต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนานขึ้น และเสียชีวิตมากมาย โดย CDC ประเมินว่า ประชากรกว่า ๑๐๐,๐๐๐ รายต่อปีเสียชีวิตจากโรคที่ติดมาจากโรงพยาบาล ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะที่ใช้ทางการแพทย์ ในต้นปีนี้ US FDA ได้ขอให้บริษัทยา และผู้เลี้ยงสัตว์ให้ยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนำสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตทั้งหมดภายในสามปี เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สหภาพผู้บริโภคได้รณรงค์การบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปราศจากยา เพื่อให้ร้านค้าไม่นำเนื้อสัตว์ และเนื้อไก่ที่ยังใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตของสัตว์ โดยเริ่มจาก Trader Joe’s ที่กลายเป็นผู้นำในการรณรงค์ให้คุ้มครองสุขภาพผู้บริโภค และรักษาประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะไว้โดยการจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเท่านั้น
แหล่งที่มา Meat and Poultry (12/11/12)
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เตือนหวัดนกระบาดที่ออสเตรเลีย
ในนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก
แหล่งที่มา OIE (22/11/12)
วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ตื่นหวัดนกระบาดในอินเดียกระทบส่งออก
หวัดนกระบาดในฟาร์มวิจัยเลี้ยงไก่งวงของรัฐฯในบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย
ประธานคณะกรรมการประสานงานไข่ระดับชาติ (National Egg Coordination Committee, NECC) ในโซน Namakkal นาย P. Selvaraj ให้ข้อมูลกับสื่อท้องถิ่นว่า เมื่อมีการรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนก ชาวฮินดูในหลายประเทศแบนการนำเข้าไข่ และผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก เช่นเดียวกับที่เคยเกิดมาแล้วก่อนหน้านี้ เมื่อโอมานแบนการนำเข้าไข่ อย่างไรก็ตาม หลายประเทศ เช่น แอฟกานิสถาน และอัลจีเรีย จะยังนำเข้าไข่จากอินเดีย แม้ว่า OIE จะจัดให้อินเดียเป็นกลุ่มประเทศที่มีปัญหาโรคไข้หวัดนกก็ตาม เนื่องจาก เชื่อว่า ไข่จาก Namakkul มีความปลอดภัย เพราะห่างไกลจากพื้นที่ระบาดของโรค
แหล่งที่มา The Hindu (29/10/12)
วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
การฆ่าเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพด้วยเกลือ และน้ำ
เทคโนโลยีการกระตุ้นทางเคมีด้วยกระแสไฟฟ้าที่ไม่เป็นพิษของ Watter โดยการใช้น้ำ เกลือ และกระแสไฟฟ้า เพื่อช่วยให้เกิดความปลอดภัย เป็นทางเลือกของยาฆ่าเชื้อที่ไม่เป็นพิษ มีประสิทธิภาพสูง และมีความยั่งยืน
แหล่งที่มา World Poultry (14/11/12)
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
โรงงานในสหรัฐฯเรียกคืนสินค้าเนื้อไก่ปรุงสุก
FSIS
ประกาศให้ Wayne Farms Inc. ใน Alabama
เรียกคืนสินค้าผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ปรุงสุกแช่แข็ง ๒๘,๕๒๘ ปอนด์
เนื่องจาก อาจพบแปลกปลอมเป็นชิ้นส่วนของปากกาพลาสติก
รายการสินค้าที่จะถูกเรียกคืน
ประกอบด้วย Fully cooked
grill marked white meat chicken strips น้ำหนัก 900 ปอนด์ ผลิตตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคมที่ผ่านมา USDA ให้หมายเลขสินค้า
372277174001 ถึง 372277254005 บนฉลาก
รวมถึง Combo cases อีก 3 ชุด
ที่ผลิตวันที่ ๖, ๑๙ และ ๒๔ กันยายนที่ผ่านมา สินค้าได้ถูกกระจายไปยัง Kentucky
เพื่อเตรียมเป็นสินค้าปลีก
FSIS แจ้งเตือนไปยัง
Wayne Farms ภายหลังจากบริษัทได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าว่า
พบสิ่งแปลกปลอม ขณะที่มีการเตรียมการแปรรูปการผลิตต่อ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการเจ็บป่วยจากการบริโภคสินค้าเหล่านี้
การเรียกคืนสินค้านี้เป็น Recall Class II เป็นอันตรายที่ต่อสุขภาพที่เป็นผลมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์
แหล่งที่มา World Poultry (6/11/12)
วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
โรคไทยฟอยด์ไก่ระบาดในฟาร์มไก่ไข่ไอร์แลนด์เหนือ
ไก่ไข่จำนวนกว่า ๑๒๕,๐๐๐ ตัวถูกทำลายในกรงโดย Ready Egg Products ใน Fermanagh ประเทศไอร์แลนด์เหนือ
จากการระบาดของเชื้อ Salmonella gallinarum
การติดเชื้อ Salmonella gallinarum ที่เป็นสาเหตุของโรคไทยฟอยด์ไก่เป็นสายพันธุ์ของเชื้อซัลโมเนลลาที่พบได้ยาก
และมีความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์น้อย การยืนยันการระบาดโรคโดย Northern
Irish Department of Agriculture and Rural Development (DARD) แม้ว่าจะยังไม่ทราบแหล่งต้นตอที่แน่ชัด
รัฐบาลกำลังวิตกกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของเชื้อ Salmonella gallinarum ในฟาร์มไก่ไข่ใน Fermanagh อย่างไรก็ตาม
เชื้อซัลโมเนลลาชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องประกาศ
และการควบคุมโรคสามารถดำเนินการได้เองโดยบริษัท อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลจะช่วยบริษัทในการกำจัดสัตว์ป่วยทั้งหมด ๑ ใน ๓ โรงเรือนในพื้นที่การระบาด
ด้วยวิธีที่มีมนุษยธรรม และรวดเร็ว
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการระบาดครั้งนี้คือ
เชื้อ Salmonella
gallinarum พบได้น้อยในสหราชอาณาจักร
และเป็นเรื่องผิดปรกติที่จะตรวจแยกพบเชื้อชนิดนี้ในฟาร์มเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์ ตามปรกติจะสามารถพบเชื้อได้เฉพาะในฟาร์มเลี้ยงไก่หลังบ้าน
อย่างไรก็ตาม เชื้อชนิดนี้ส่วนใหญ่จะปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ได้ดีในสัตว์ปีก แต่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ค่อนข้างน้อย
การระบาดอย่างรวดเร้ว
โรคนี้มักพบในไก่ระยะเจริญเติบโต และสมบูรณ์พันธุ์
ลักษณะสำคัญของโรคจะมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว มีอัตราการป่วยสูง
และการตายแบบเฉียบพลัน หรือกึ่งเฉียบพลัน อาการของไก่ และสัตว์ปีกอื่นๆ ได้แก่
เบื่ออาหาร ท้องเสีย แห้งน้ำ อ่อนแอ และตายในที่สุด
แหล่งที่มา Farming UK (6/11/12)
วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
FSIS ประกาศว่าด้วย การปรับเปลี่ยนมาตรการควบคุมเชื้อซัลโมเนลลา
FSIS
(Food Safety and Inspection Service) ใน USDA ประกาศการปรับปรุงมาตรการควบคุมเชื้อซัลโมเนลลา
ประกาศจาก FSIS ใน USDA ประกาศฉบับที่ 66-12
เกี่ยวกับมาตรการที่เป็นจริง
หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการควบคุมเชื้อซัลโมเนลลาชั่วคราว ติดตามมาด้วยประกาศฉบับที่
41-11 เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๒๐๑๑
มีข้อแนะนำให้มีการเร่งรัดกำหนดการของ FSIS ที่ให้มีการทวนสอบการเก็บตัวอย่างเมื่อผู้ประกอบการมีการเปลี่ยนแปลงระบบความปลอดภัยอาหาร
หรือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตชั่วคราวโดยไม่ได้มีการพิสูจน์ความถูกต้องตามระบบ HACCP
แหล่งที่มา World Poultry (2/11/12)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล
ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...
-
ปัจจัยหลายประการที่สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพ และผลผลิตของไก่เนื้อที่โรงงานแปรรูปการผลิต บางสิ่งสามารถจัดการได้ทันทีโดยผู้จัดการโรงงาน แต่ไม่...
-
คลื่นความร้อนได้ส่งผลให้ไก่อย่างน้อย ๔๐๐,๐๐๐ ตัวในอุรุกวัยตายลงในช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้รับการยืนยันโดยสมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกทางตอน...
-
อุบัติการณ์ของลูกไก่ขาถ่าง หรือขาบิดในฝูงไก่ และไก่งวงเพิ่มขึ้น เกิดจากกระบวนการฟัก โดยเฉพาะ อุณหภูมิในตู้เกิด และการระบายอากาศ การจัดการใ...