วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แสวงหาช่องทางตลาดใหม่ผ่านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ และแปรรูปเนื้อสัตว์


เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ และแปรรูปเนื้อสัตว์จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อสด และเนื้อแปรรูป 
บทวิเคราะห์ของ ROBOBANK ว่าด้วย เทคโนโลยีการบรรจุผลิตภัณฑ์ช่วยยืดอายุเนื้อสัตว์ได้ รวมถึง การกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคที่ห่างไกลมากขึ้น เพิ่มมูลค่าสินค้า และช่วยลดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ขณะที่ ปัจจุบันผู้บริโภคนิยมเนื้อสดมากกว่าเนื้อแช่แข็งในตลาดส่วนใหญ่ในโลก แต่จะถูกเปลี่ยนแปลงในอีกไม่ช้านี้ การขยายตลาดเป้าหมายโดยการชี้นำผู้บริโภค เพิ่มคุณภาพ และมูลค่าของสินค้า หรือการขยายตลาดออกไปยังตลาดใหม่เป็นวิถีทางสำหรับผู้ผลิตเนื้อสัตว์ในยุโรป เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ และแปรรูปเนื้อสัตว์จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้าปลีก ผู้บริโภค และผู้ผลิต สำหรับผู้ค้าปลีกจะลดความเสี่ยงจากการขายสินค้าไม่หมด และเหลือทิ้งจึงช่วยลดต้นทุนสินค้า ผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์จากการบริโภคเนื้อสัตว์ได้นานขึ้น และใช้วัตถุถนอมอาหารน้อยลงโดยยังรักษาความเป็นธรรมชาติของอาหาร และผลิตภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์ และผู้ผลิตจะได้ประโยชน์จากการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดผ่านความหลากหลายของประเทศผู้ส่งออก แถบยุโรปฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ การบริโภคเนื้อลดลงเนื่องจากจำนวนประชากรที่น้อยลง และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อ ก็มีส่วนแบ่งของการขายเนื้อสัตว์สูงที่สุดผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตจากสินค้าที่มีการบรรจุภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม แถบยุโรปฝั่งตะวันออก และใต้ ช่องทางการจำหน่ายค้าปลีกยังอาศัยคนขายเนื้อในตลาด โดยเฉพาะ ร้านค้า และตลาดเปิด ยังเป็นช่องทางหลักของการจำหน่ายเนื้อสัตว์ และถือเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจการส่งออกต่อไปในอนาคต การเจริญเติบโตในเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ในซูเปอร์มาร์เกต ความต้องการสินค้าบรรจุเสร็จกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การบรรจุภัณฑ์ผิวหนังโดยใช้สูญญากาศ (Vacuum skin packaging, VSP) และการบรรจุภัณฑ์โดยใช้แก๊สคาร์บอนมอน๊อกไซด์ (Carbon monoxide modified atmosphere packaging, CO-MAP) สามารถช่วยเปิดหน้าต่างของโอกาสสำหรับการส่งออกเนื้อสดแช่แข็งไปยุโรปแถบใต้ และตะวันออก  
                ในแถบอื่นๆโลก การบริโภคเนื้อสัตว์ในจีน และเอเชียหลายประเทศกำลังเจริญเติบโต ในประเทศจีน ผู้บริโภคนิยมเนื้อสัตว์ที่มิได้ผลิตในพื้นที่โดยคุณภาพของตลาดภายในประเทศ ดังนั้น การผลิตเนื้อสัตว์ภายในท้องถิ่นจึงมีแนวโน้มตกลงไปตามความต้องการ แม้ว่าจะมีความเชื่อเรื่องการพึ่งพาตนเอง นอกเหนือจากนั้น เนื้อในยุโรปกำลังมีราคาที่สามารถแข่งขันได้กับเนื้อท้องถิ่น เนื้อแช่เย็นบรรจุเสร็จ และเนื้อพร้อมรับประทานกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในจีนโดยมีอัตราการเจริญเติบโต 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ตลาดที่กำลังเจริญเติบโตจึงดึงดูดใจสำหรับการนำเข้า และความต้องการเนื้อที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อข้อจำกัดในการนำเข้าผ่อนคลายลงก็จะเป็นโอกาสสำหรับเนื้อแปรรูปจากยุโรปในการส่งออกไปยังประเทศจีนได้ บริษัทผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ในยุโรปแถบตะวันตกเฉียงเหนือกำลังเป็นแผนการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์สำคัญอีกครั้ง ผู้ชนะจะเป็นผู้ประกอบการที่เริ่มต้นลงทุนสำหรับเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ และการแปรรูปเนื้อสัตว์ก่อนใคร ขณะเดียวกันก็สร้างการยอมรับให้ผู้บริโภคต่อแนวโน้มของสินค้าโดยการชี้นำตลาด และให้ความรู้อย่างถูกต้อง
แหล่งที่มา:            World Poultry (24/6/14)     

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ยุโรปเปิดศูนย์วิจัยแมลงกินได้แห่งใหม่ Insect Point



ทิศทางการวิจัยยุโรปกำลังแสวงหาความเป็นไปได้ในการใช้แมลงสำหรับใช้เป็นอาหาร หรืออาหารสัตว์ ล่าสุดศูนย์วิจัยแมลงกินได้ชื่อว่า “Insect Point” กำลังจะเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ ๓ กรกฏาคมในประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเติมเต็มความต้องการด้านงานวิจัยประยุกต์ และการพัฒนาแมลงกินได้
                ยังมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ และพัฒนาแมลงกินได้ ศูนย์วิจัย Insect Point จะเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิต ภาครัฐ โรงเรียน และภาคธุรกิจโดยจัดให้มีความพร้อมด้านการวิจัยด้านแมลงกินได้ รวมถึง การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเยี่ยมชม การให้ข้อมูลทางวิชาการสำหรับการทำความเข้าใจกับโรงเรียน และสาธารณะ   
แหล่งที่มา:            All About Feed (24/6/14)
    

ยุโรปกำลังสนใจเลี้ยงไก่ปล่อยอิสระในทุ่งหญ้า



นักวิจัยชาวอิตาลีศึกษาผลของการเสริมหญ้าพุ่มสูง หรือพุ่มไม้ต่อผลผลิต พฤติกรรม และการกินอาหารของไก่ที่เลี้ยงปล่อยอิสระ (Free-range chickens) พบว่า ไก่คอร่อนที่เลี้ยงใต้ต้นมะกอกมีโอกาสกินพืชสมุนไพรได้มากกว่า เดินคุ้ยเขี่ยอาหารในพื้นที่กว้างขวางกว่าไกลออกไปเกือบ ๕๐ เมตรจากโรงเรือน มีความเสียหายที่เท้า และหน้าอกน้อยที่สุด
                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ผลของการเสริมหญ้าพุ่มสูง หรือพุ่มไม้ต่อผลผลิต และการกินสมุนไพรของไก่ที่เลี้ยงปล่อยอิสระเปรียบเทียบกันสองฤดูกาล (ฤดูหนาว และร้อน) เปรียบเทียบกับไก่ที่เลี้ยงปล่อยอิสระและให้อาหารเป็นปรกติ หญ้าที่ใช้สำหรับการทดลองมีสองชนิด ได้แก่ ข้าวฟ่าง และต้นมะกอก โดยใช้ไก่คอล่อนเพศผู้ จำนวน ๒๕๐ ตัวเปรียบเทียบแต่ละฤดูกาล และระบบ บันทึกผลการเลี้ยง พฤติกรรม การกินอาหาร และรอยโรคตามร่างกาย พบว่า การเสริมหญ้าไม่มีผลต่อผลการเลี้ยง อย่างไรก็ตาม การมีต้นไม้ หรือพุ่มไม้สูงในพื้นที่การเลี้ยงจะป้องกันความเสียหายจากการถูกจับไปกิน ขณะที่ ไก่ที่เลี้ยงปล่อยอิสระและให้อาหารเป็นปรกติมักมีนกล่าเหยื่อ หรืออีกามารบกวนโดยเฉพาะในระยะแรกของการเลี้ยงที่สัตว์ยังเล็กอยู่ ดังนั้น อัตราการตายจึงต่ำมากในไก่เลี้ยงปล่อยอิสระที่มีหญ้า และพุ่มไม้ในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ ไก่กลุ่มควบคุมอาศัยในโรงเรือนมากกว่าออกเดินหาอาหารในทุ่งหญ้า ขณะที่ ไก่กลุ่มทดลองที่มีหญ้า และพุ่มไม้สูงจะใช้เวลาส่วนใหญ่นอกโรงเรือน และเดินคุ้ยเขี่ยหาอาหารในทุ่งหญ้า การกินอาหารได้รับอิทธิพลจากระบบการเลี้ยง และฤดูกาล ไก่ที่เลี้ยงใต้ตุ้นมะกอกมีโอกาสกินพืชสมุนไพรได้มากกว่า เดินคุ้ยเขี่ยอาหารในพื้นที่กว้างขวางกว่าไกลออกไปเกือบ ๕๐ เมตรจากโรงเรือน มีความเสียหายที่เท้า และหน้าอกน้อยที่สุด
 แหล่งที่มา:          The Journal of Applied Poultry Research Volume 23, Issue 2    

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

รัสเซียห้ามนำเข้าสุกรจากบราซิลและคานาดา



สำนักเฝ้าระวังสุขศาสตร์พืช และสัตว์แห่งรัสเซีย (Russia’s veterinary and phytosanitary surveillance agency) แจ้งว่า รัสเซียเตรียมสั่งห้ามนำเข้าเนื้อสุกรจากบราซิล และคานาดาหลังตรวจพบสารแรคโตพามีน (Ractopamine) ในเนื้อสุกร
                รัสเซียได้จำกัดการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรชั่วคราวจากโรงงานสองแห่ง แห่งแรกเป็นของบริษัท  BRF SA ประเทศบราซิล และอีกแห่งเป็นขอบริษัท HyLife Foods LP ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจาก BRF ที่ผลิตก่อนวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๐๑๔ จะต้องถูกตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้งหมด ทั้งที่ตามข้อตกลงทวิภาคีว่าด้วย การห้ามใช้สารส่งเสริมการเจริญเติบโตสำหรับการผลิตเนื้อสัตว์สำหรับการส่งออกไปยังประเทศรัสเซียแล้ว นอกจากนั้ย ยังมีรายงานการตรวจพบสารแรคโตพามีนในผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแช่แข็งนำเข้าจากประเทศคานาดา ดังนั้น จะมีการจำกัดการนำเข้าชั่วคราวจากบริษัท HyLife Foods ในกรณีที่มีการตรวจพบสารที่สั่งห้ามใช้อีกครั้ง     
แหล่งที่มา:            Meat International (23/6/14)    

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อีก ๖ ปีใช้แมลงเป็นอาหารสุกรได้



ในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ จะสามารถใช้แมลง สาหร่าย และยีสต์เป็นอาหารสำหรับสุกรได้ นักวิชาการอาหารได้วิเคราะห์ศักยภาพ และความสามารถในการใช้งานได้จริงของวัตถุดิบอาหารสัตว์เหล่านี้ ก่อนตัดสินใจแนะนำทางเลือกใหม่ให้ผู้ผลิตสุกรใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์เหล่านี้ในอนาคต
                นอกเหนือจากนั้น นักปรับปรุงพันธ์พืชก็ยังสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพด้านโภชนาการสำหรับสุกรได้ในอนาคต การทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ และการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามเป้าหมายเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มได้อย่างเหมาะสม  
แหล่งที่มา:            AllAboutFeed (23/6/14)    

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...