FSA (Food Standards Agency, FSA) ในสหราชอาณาจักรรณรงค์เรียกร้องให้หยุดการล้างเนื้อไก่ดิบ
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์
ก่อนการประกอบอาหารจากเนื้อไก่
คนส่วนใหญ่ประมาณ ๔๔ เปอร์เซ็นต์ล้างเนื้อไก่ก่อนการปรุงเสมอ
แต่การปฏิบัติเช่นนี้สามารถแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียแคมไพโลแบคเตอร์สู่มือ
พื้นที่การประกอบอาหาร เสื้อผ้า
และอุปกรณ์การปรุงอาหารผ่านหยดน้ำที่กระเด็นจากเนื้อไก่
เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์เป็นโรคอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อยที่สุดในสหราชอาณาจักรส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อราว
๒๘๐,๐๐๐ รายต่อปี โดยสัดส่วน ๘๐ เปอร์เซ็นต์มาจากไก่ที่ปนเปื้อน FSA ได้ขอความร่วมมือบริษัทผู้ผลิตไก่ในการจัดรายการอาหารโดยไม่แสดงขั้นตอนการล้างเนื้อไก่ดิบออกอากาศทางโทรทัศน์
แม้ว่า ประชาชนจะพยายามปฏิบัติตามคำแนะนำของ FSA เช่น
ล้างมือภายหลังการสัมผัสเนื้อไก่ดิบ และการประกอบอาหารโดยให้ความร้อนอย่างทั่วถึง
แต่งานวิจัยของ FSA ยังพบว่า
การล้างเนื้อไก่ดิบยังเป็นการปฏิบัติที่พบได้เสมอ ดังนั้น FSA จึงเรียกร้องให้ประชาชนหยุดการล้างเนื้อไก่ดิบ และเพิ่มความระมัดระวังความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จากการปนเปื้อนข้าม
ปัญหาเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์เป็นประเด็นที่สำคัญมาก
ไม่เพียงแต่เป็นสาเหตุของการป่วยอย่างร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
แต่ยังสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจหลายร้อยล้านปอนด์ต่อปี เนื่องจาก การลาป่วย การประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารความเสี่ยง
และการหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อเป็นส่วนหนึ่งของแผนในการจัดการเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์
ขณะนี้ FSA กำลังรณรงค์ให้มีการจัดการพร้อมกันตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตอาหาร
รวมถึง ฟาร์ม และโรงงาน เพื่อลดอัตราการตรวจพบเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในฟาร์มไก่เนื้อ
และสร้างความมั่นใจได้ว่า โรงฆ่า และโรงงานแปรรูปร่วมกันลดการปนเปื้อนเชื้อในไก่
เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัย
การสำรวจโรคโดย FSA พบว่า
ระดับของความตระหนักต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ต่ำกว่าโรคอาหารเป็นพิษชนิดอื่นๆ
มากกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์รู้จักเชื้อซัลโมเนลลา และอีเชอร์ริเชีย โคลัย เป็นอย่างดี
ขณะที่ ประชากรเพียง ๒๘ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่รู้จักเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์
นอกเหนือจากนั้น ประชาชนที่รู้จักเชื้อแคมไพโลแบคเตอต์เพียง ๓๑
เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่รู้ว่า สัตว์ปีกเป็นแหล่งหลักของเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุที่ประชาชนล้างเนื้อไก่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกำจัดสิ่งสกปรก
(๓๖ เปอร์เซ็นต์) กำจัดเชื้อโรค (๓๖ เปอร์เซ็นต์)
แหล่งที่มา: World Poultry (18/6/14)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น