วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คาร์กิลล์เปิดตัวเครื่องมือต่อสู้กับโรค EMS



ธุรกิจอาหารสัตว์ของคาร์กิลล์ได้เปิดตัวเครื่องมือประเมินความเสี่ยงโรค EMS (Early Mortality Syndrome, EMS) ใหม่สำหรับช่วยให้ลูกค้าได้
                EMS หรือ Acute Hepatopancreatic Necrosis Disease (AHPND) มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio สร้างความเสียหายต่อการผลิตกุ้งในจีน เวียดนาม มาเลเซีย และไทย และล่าสุดในเม็กซิโก ด้วยเครื่องมือประเมินความเสี่ยงโรค EMS จะช่วยให้สามารถประเมินความเสี่ยง เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคเพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของกุ้งได้ การระบาดของ EMS ส่งผลให้อัตราการตายสูงถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ การใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงอย่างเข้มข้นนี้จะสามารถสนับสนุนแผนความปลอดภัยทางชีวภาพโดยการค้นหา และลดความเสี่ยงต่อความสูญเสียจากโรคนี้ในฟาร์มกุ้ง เครื่องมือประเมินความเสี่ยงโรค EMS นี้อาศัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่อโรคทั้งหมด ตั้งแต่ ซีด (Seed, post-larvae) พันธุกรรม สุขศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และการจัดการฟาร์มไปจนถึงโภชนาการ และสุขภาพ นับเป็นก้าวสำคัญอีกครั้งสำหรับการควบคุมโรค EMS นอกเหนือจาก ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่เข้มงวดแล้ว อาหารสำหรับลูกกุ้งในฟาร์มเพาะลูกกุ้ง และฟาร์มเลี้ยงกุ้งที่มีคุณภาพดีจะช่วยนำส่งโภชนะไปยังกุ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งที่มา:           All About Feed (31/7/14) 

รัสเซียแบนไก่สหรัฐตามกระแสตื่นกลัวซัลโมเนลลา



รัสเซียกำลังพิจารณาจำกัดการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐฯเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อซัลโมเนลลา โดยล่าสุด การติดเชื้อซัลโมเนลลามีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วสหรัฐฯจนถึงขณะนี้มีผู้ป่วยติดเชื้อถึง ๒๗๘ รายแล้ว
                ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา USDA ได้ออกคำเตือนว่า เนื้อสัตว์ปีกที่ผลิตจากโรงงานของบริษัทฟาร์มฟอสเตอร์สามแห่งในแคลิฟอร์เนียเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแต่ถึงขณะนี้ เชื้อนี้ได้แพร่กระจายไปกว่าครึ่งประเทศ และฟาร์มสัตวปีกอีกหลายฟาร์ม ดังนั้น รัฐบาลรัสเซียจึงได้มีการประเมินความเสี่ยง และพิจารณาตัดสินใจการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกในอีกสองสามวันนี้ หลังจากนั้น อีกสองถึงสามสัปดาห์ก็จะมีการควบคุมการนำเข้าต่อไป เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัสเซียก็พึ่งระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากแคลิฟอร์เนีย เนื่องจาก โรคไข้หวัดนก ขณะนี้ ผู้ผลิตในสหรัฐฯกว่า ๒๗๐ รายขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกไปยังรัสเซีย แต่ยังมีเพียง ๑๐ รายเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกต่อไปได้
แหล่งที่มา:            VLADISLAV VOROTNIKOV (31/7/14) 

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรงบำบัดน้ำเสียเป็นแหล่งสำคัญเชื้อดื้อยา



น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมีบทบาทสำคัญก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะได้ นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างตะกอนจากแม่น้ำทั้งก่อน และหลังการบำบัดจากโรงบำบัดน้ำเสียในสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. ๒๐๐๙ ถึง ๒๐๑๑ โดยเน้นเชื้อ อี.โคลัย และทดสอบความต้านทานต่อยาปฏิชีวนะรุ่นที่ ๓ เซฟาโลสปอรินที่เป็นยากลุ่มปฏิชีวนะที่สำคัญที่นำมาใช้รักษาผู้ป่วยที่โลหิตเป็นพิษ และการติดเชื้อในสมอง
                น้ำที่ผ่านการบำบัดมีเชื้อ อี. โคลัย ที่ต้านทานต่อยาสูงเป็นเจ็ดเท่าของน้ำก่อนการบำบัด เนื่องจาก โรงบำบัดน้ำเสียเป็นจุดสำคัญ (Hot spot) สำหรับการถ่ายทอดยีนส์ต้านทานยา ในโรงงานบำบัดน้ำเหล่านี้จะมีของเสียจากทั้งครัวเรือน ฟาร์ม และอุตสาหกรรมรวมกัน รวมถึง ยีนส์ที่มีความต้านทานต่อยาชนิดต่างๆกัน โดยเฉพาะ น้ำที่มาจากฟาร์มจะมีเชื้อแบคทีเรียต้านทานยาหลายชนิด ผู้วิจัยได้ศึกษาสถานที่ที่มีโอกาสเป็นแหล่งเก็บกักเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหารที่ดื้อยาในสิ่งแวดล้อม และเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ และสัตว์ นักวิจัยเรียกร้องให้มีการเข้มงวดควบคุมโรงงานบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้มั่นใจว่า เชื้อแบคทีเรียจะหยุด หรือลดการต้านทานต่อยาปฏิชีวนะที่อาจก่อให้เกิดโรคในมนุษย์โดยไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเป็นประเด็นท้าทายที่สุดในอนาคตอันใกล้ ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ทั่วโลกเป็นแหล่งสำคัญที่ใหญ่ที่สุดของเชื้อดื้อยา
แหล่งที่มา:            Emmy Koeleman (28/7/14)


วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิจัยวัคซีนป้องกันโรคแคมไพโลแบคเตอร์



วัคซีนสำหรับเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ได้รับทุนจากสมาคมสัตว์ปีกสหรัฐฯ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน เป็นสาเหตุสำคัญของโรคติดเชื้อจากอาหารในมนุษย์โดยมีที่มาจากสัตว์ปีก แม้ว่าจะได้นำยุทธศาสตร์หลากหลายมาใช้สำหรับลดการปนเปื้อนของเชื้อแล้ว แต่ก็ยังไม่มีวิธีการใดที่ประสบความสำเร็จในการลดการปนเปื้อนของเชื้อในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีก ระหว่างการผลิต และกระบวนการในโรงงาน ดังนั้น นักวิจัยจึงมุ่งแสวงหานวัตกรรมใหม่สำหรับควบคุมเชื้อตั้งแต่ในฟาร์ม โดยการพัฒนาโปรตีนสับยูนิตของเชื้อสำหรับเตรียมเป็นวัคซีนให้ในไก่เนื้อ
                การศึกษาครั้งนี้เป็นการผลิตโปรตีนของเชื้อ C. jejuni หลายชนิดเพื่อคัดเลือกแอนติเจนใหม่ที่สามารถใช้สำหรับใช้เตรียมเป็นวัคซีนผ่านไข่เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารของไก่ โดยมีวัตถุประสงค์คือ (1) สร้างระบบสำหรับการผลิตโปรตีนที่สำคัญของเชื้อ C. jejuni ปริมาณมาก (2) ผลิต และเตรียมโปรตีนของเชื้อ recombinant C. jejuni ให้บริสุทธิ์ (3) การตรวจการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อต่อโปรตีนของเชื้อ C. jejuni และ (4) การทดลองใช้เป็นวัคซีนด้วยโปรตีนจากเชื้อ C. jejuni   
                ผลการศึกษาพบว่า โปรตีนที่ปรากฏในเชื้อ C. jejuni ทั้งหมด 21 ตัวอย่าง สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อได้ ดังนั้น โปรตีนนี้จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการประเมินผลการใช้เป็นวัคซีนเพื่อลดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในสัตว์ปีก นอกจากนั้น แอนติบอดีต่อโปรตีนชี้อาจนำมาใช้สำหรับการตรวจติดตามสถานภาพของฟาร์มระหว่างการผลิต ในปัจจุบัน เชื้อชนิดนี้พบได้ทั่วไปในทางเดินอาหารของไก่โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตัวไก่ที่ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ไก่ที่ได้รับเชื้อ หรือติดเชื้อจะมีการพัฒนาแอนติบอดีขึ้นมา นักวิจัย พบว่า แอนติบอดีต่อโปรตีน FliD มีการแพร่กระจายทั่วไปในประชากรสัตว์ปีก ดังนั้น การควบคุมการติดเชื้อผ่านวัคซีนจึงน่าจะเป็นมาตรการที่ดีสำหรับการควบคุมเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ได้ และโปรตีน Flid เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับใช้เตรียมเป็นวัคซีน ขณะนี้ กำลังประเมินผลการใช้โปรตีนชนิดนี้โดยการฉีดเข้าไข่เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ และประสิทธิภาพของวัคซีน  
แหล่งที่มา:                           
Yehm H.Y., Huett, K.L., Line, J.E. and Seal, B.S. 2014. Development of Campylobacter jejuni Proteins as in ovo vaccine for broiler chickens. US Poultry and Eggs Association.      

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เครื่องผสมเอนไซม์ผงในโรงงานอาหารสัตว์



บริษัท Huvepharma ผู้ผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพ และเอนไซม์ พัฒนาเอนไซม์ละลายน้ำที่สามารถเตรียมในโรงงานอาหารสัตว์ได้โดยการใช้เครื่องมือ “HuvematicÒ เครื่องแรกจะถูกติดตั้งที่โรงงานอาหารสัตว์ในเนเธอร์แลนด์เร็วๆนี้
                การเตรียมเอนไซม์เหลวในสถานที่ผลิตจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความคงตัวมากขึ้น และสามารถปรับขนาดได้ตามความเหมาะสม สำหรับผู้จัดการโรงงานก็จะไม่ต้องให้ความสำคัญกับถังเติมเอนไซม์เพิ่ม (Enzyme intermediate bulk containers, IBCs) ที่สิ้นเปลืองพื้นที่ นอกจากนั้น ยังช่วยให้การผสมผงเอนไซม์ในสถานที่ผลิตได้แทนที่จะจัดส่งเป็นของเหลว (ที่มีส่วนประกอบของน้ำถึง 95 เปอร์เซ็นต์) เป็นระยะทางไกลๆ
                ในยุโรป ยังไม่มีโรงงานอาหารสัตว์แห่งใดที่มีการเตรียมเอนไซม์ของเหลวในสถานที่การผลิต อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐอเมริกามีการใช้เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๓ เป็นต้นมา ๒๐ เปอร์เซ็นต์ของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ขนาดใหญ่มีการติดตั้งระบบ Post-pellet-liquid application system เรียบร้อยแล้ว ก่อนหน้านั้น หลายบริษัทมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับระบบนี้ แต่แนวโน้มในอนาคต บริษัทผู้ผลิตอาหารจะหันมาใช้ระบบนี้อีก เนื่องจาก ช่วยป้องกันการทำลายเอนไซม์โดยความร้อน และการเสียดสีของกระบวนการขึ้นเม็ดอาหาร (Pelleting process)     
                บริษัท Huvepharma ร่วมพัฒนาเครื่องจักรในประเทศเนเธอร์แลนด์โดยระบบเดียวกันสำหรับตลาดยุโรปเรียกว่า “HuvematicÒที่เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นเอนไซม์ที่ละลายน้ำได้ชื่อว่าชื่อว่า ไซลาเนส (Xylanase)” ชื่อทางการค้าคือ “HostazymeÒและไฟเตสชื่อทางการค้าคือ “OptiPhosÒโรงงานอาหารสัตว์จะได้ประโยชน์จากการเตรียมเอนไซม์เหลวในอาหารสัตว์ โดยบริษัทผู้จัดจำหน่ายสามารถส่งเอนไซม์ในรูปผงเพียง ๑๐ กิโลกรัมแทนที่จะเป็นในรูปของเหลว ๑,๐๐๐ ลิตร และใช้เครื่อง  HuvematicÒ สำหรับการผสมเป็นเอนไซม์เหลวที่โรงงานอาหารสัตว์สำหรับสเปรย์ลงบนอาหารเม็ด ดังนั้น เอนไซม์ก็จะสดใหม่เสมอหากมีการใช้ภายใน 12-24 ชั่วโมงภายหลังการเตรียม เป็นการช่วยให้นักโภชนาการอาหารสัตว์สามารถปรับขนาดการให้เอนไซม์ในอาหารสัตว์ได้อย่างแม่นยำ
                บริษัท Huvepharma ผลิตเอนไซม์ในโรงงานหมักที่ประเทศบัลกาเรียก่อนจัดส่งสินค้าไปทั่วยุโรป โดยการใช้เครื่องนี้จะช่วยให้เอนไซม์มีความปลอดภัย มีคุณภาพดี และสามารถควบคุมจัดการได้ดีขึ้นกว่าเดิม เครื่อง HuvematicÒ เครื่องแรกในยุโรปจะติดตั้งในประเทศเนเธอร์แลนด์ภายในไม่กี่เดือนนี้
แหล่งที่มา:                            All About Feed (11/6/14)     

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...