วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

เกราะเลเซอร์คุ้มครองแม่ไก่

ฟาร์มตัวอย่างขนาดเล็กๆ แต่ไม่ธรรมดา ฉลาดล้ำเทคโนโลยีจากอังกฤษก้าวพ้นขอบวิถีชนบท ไม่ยอมจำนนต่อโรคไข้หวัดนกเหมือนฟาร์มบางแห่ง นำเทคโนโลยีเลเซอร์เพื่อคุ้มครองแม่ไก่อินทรีย์ที่เลี้ยงปล่อยอิสระให้ปลอดจากโรคไข้หวัดนก
เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั่วโลกพยายามป้องกันสัตว์ปีกจากโรคไข้หวัดนก ในหลายประเทศมีคำสั่งให้ต้อนสัตว์ปีกเลี้ยงภายในโรงเรือนทั้งหมด เพื่อยกระดับความเข้มข้นความปลอดภัยทางชีวภาพ อย่างไรก็ตาม ก็กลายเป็นการจำกัดอิสรภาพของสัตว์ การกักขังสัตว์เป็นเวลานานยังเป็นการเพิ่มต้นทุนของเกษตรกร หากมีโอกาสให้สัตว์สามารถออกมานอกโรงเรือนได้ก็จะทำทันที แม้ว่าจะต้องวิตกกังวลกับการปนเปื้อนจากนกธรรมชาติ และนกอพยพก็ตาม ในอังกฤษ รัฐบาลก็พยายามผ่อนปรนมาตรการกักสัตว์ไว้ในโรงเรือนในบางพื้นที่ แต่ก็เตือนให้เกษตรกรระมัดระวังป้องกันสัตว์เลี้ยงของตน ตามปรกติ การออกนอกโรงเรือนก็จะถูกควบคุมโดยใช้ตะข่าย หรือเกษตรกรเอง 

ยกสตาร์เทร็กออกมานอกจอคุ้มครองแม่ไก่
ที่ฟาร์มไก่ไข่ Hoeberichts Orchard Eggs ในเมือง West Sussex เลี้ยงแม่ไก่อินทรีย์ ๔,๕๐๐ ตัวปล่อยเลี้ยงอิสระในพื้นที่ ๖๐ เอเคอร์ เมื่อรัฐบาลยกเลิกคำสั่งให้กักสัตว์เลี้ยงไว้ในโรงเรือน ผู้ประกอบการมีพื้นที่ ๒๔ เอเคอร์นอกโรงเรือน โรงเรือนสามารถเคลื่อนที่ได้โดยแม่ไก่สามารถเข้ามาได้ตามต้องการ ด้วยความใส่ใจในการป้องกันโรคไข้หวัดนก พื้นที่นอกโรงเรือนกว่า ๖๐ เอเคอร์ก็กลายเป็นฝันร้ายเช่นกัน ดังนั้น จึงใช้ประสบการณ์ที่ได้ชมภาพยนตร์สตาร์เทร็ก และแมดแม็กซ์ ตัดสินใจสร้างหอคอยติดตั้งปืนเลเซอร์บนยอดหอคอย เพื่อยิงลำแสงสีเขียวจากแก๊สโปรเปนเพื่อไล่นกป่า

มาตรการควบคุมโรคอื่นๆ
ฟาร์มไก่ไข่แห่งนี้ได้ประยุกต์เทคโนโลยีเลเซอร์จากบริษัทดัทช์ เพื่อกระตุ้นให้นกอพยพป่าตื่นกลัว และป้องกันไม่ให้ลงมาคลุกคลีกับไก่ในฟาร์มของตนเอง ขณะที่ รัฐบาลอังกฤษพึ่งขยายพื้นที่ป้องกันโรคไข้หวัดนกเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. ๒๐๑๗ ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการก็ได้ยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างใกล้ชิด ขณะที่ พวกเขาต้องการให้สัตว์อยู่นอกโรงเรือน แต่เมื่อเจ้าของฟาร์มแห่งนี้ได้ทราบเทคโนโลยีใหม่ของเลเซอร์จึงเริ่มคิดที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในมาตรการควบคุมโรคทางชีวภาพของตัวเองบ้าง หลักการของการไล่นกด้วยแสงเลเซอร์ได้แรงบันดาลใจมากจากธรรมชาติ นกจะคิดว่าลำแสงเลเซอร์ที่เข้ามาอาจทำร้ายร่างกายตัวเอง ดังนั้น จึงพยายามบินหนีเอาตัวรอด

แสงเลเซอร์ป้องกันแม่ไก่โดยไม่ทำร้ายนกป่า
ผู้ประกอบการพยายามทุกวิถีทางเพื่อป้องกันไก่ในฟาร์มมิให้ติดเชื้อ เมื่อได้ยินเรื่องราวของบริษัทอะกริเลเซอร์ออโตโนมิก (Agrilaser Autonomic) เป็นเหมือนแสงสว่างส่องทางออกที่เติมเต็มมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ เครื่องส่องเลเซอร์อัตโนมัติเป็นนวัตกรรมสำหรับขับไล่นกที่ไม่ต้องการโดยมิได้ทำอันตรายต่อทั้งนกป่า ไก่ และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ระบบนี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทสัญชาติดัทช์ กลุ่มควบคุมนก ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคนิคของ Delft ในประเทศเนเธอร์แลนด์ 

ประสิทธิภาพไล่นกป่า ๙๐ ถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
แสงเลเซอร์ทำงานอย่างเงียบกริบ และไล่นกได้ ๙๐ ถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นับเป็นทางเลือกใหม่ที่ราคาถูกกว่าการใช้ตาข่ายรอบทั้งฟาร์ม สามารถทดลองใช้ได้โดยการเช่าด้วยราคา ๒๖,๕๐๐ บาทต่อเดือน หากซื้อราคาเต็ม ๓๕๒,๐๐๐ บาท ตัวแทนจำหน่ายในสหราชอาณาจักรคือ บริษัท เพสต์ฟิกส์ (PestFix) พยายามแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสหราชอาณาจักร โดยย้อนไปเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. ๒๐๑๖ สร้างความกดดันให้กับภาคเกษตรกร และไข่ ตามแผนของ APHA (Animal &Plant Health Authority) อนุโลมให้เลี้ยงสัตว์ปีกปล่อยอิสระได้ หากเจ้าของฟาร์มสามารถกันนกป่าได้ ด้วยเหตุนี้เทคโนโลยีเลเซอร์สำหรับไล่นกเป็นทางเลือกที่ดี และเป็นมิตรต่อสัตว์ในฟาร์ม       
สหราชอาณาจักรได้กำหนดพื้นที่ป้องกันโรคนับตั้งแต่วันที่ ๖ ธันวาคม ค.ศ. ๒๐๑๖ เป็นต้นมา นั่นหมายความว่า ผู้เลี้ยงนก และสัตว์ปีกทั้งหมดต้องยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเข้มงวด รวมถึง การเก็บสัตว์ปีกของตัวเองไว้ในโรงเรือน หากเป็นไปได้ต้องแยกให้ห่างออกจากนกป่า โดยมีการประกาศซ้ำเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ค.ศ.๒๐๑๗ และกำหนดไว้จนถึง ๒๘ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๑๗ พื้นที่ป้องกันโรคเพิ่มเติมจะยังคงบังคับไว้จนกระทั่งปลายเดือนเมษายน ค.ศ. ๒๐๑๗  

ความเสี่ยงที่สำคัญ
สมาคมผู้ผลิตไข่ปล่อยเลี้ยงอิสระแห่งสหราชอาณาจักร (British Free Range Egg Producers Association, BFREPA) ก็สนับสนุนให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์นี้ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่ชอบอกชอบใจของผู้บริโภค และผู้บริโภคปัจจุบันก็พึงพอใจที่จะให้แม่ไก่สามารถออกไปเดินเล่นนอกโรงเรือนได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่สำคัญต่อฟาร์มสัตว์ปีกอิสระคือ โรคไข้หวัดนก ท่ามกลาง นกป่าในประเทศมีจำนวนมากมาย แต่ผู้บริโภคก็เข้าใจได้ว่า ไม่ต้องตื่นกลัวว่าอาหารจะไม่ปลอดภัย ไข่ยังคงเป็นแหล่งของสารอาหารที่สุดยอด และปลอดภัยต่อผู้บริโภค   
เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม Defra พบว่า บางส่วนของเกาะอังกฤษมีความเสี่ยงสูง สัตว์ปีกต้องอยู่เฉพาะในโรงเรือน หรือติดตะข่ายรอบฟาร์มอย่างสมบูรณ์ นอกเหนือจากนั้น ผู้ผลิตสัตว์ปีกอิสระอาจปล่อยสัตว์ออกได้โดยยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพของตัวเองโดยขึ้นกับผู้ประกอบการแต่ละราย รวมถึง คำแนะนำจากสัตวแพทย์ที่เข้าในพื้นที่ แล้วพิจารณาความเสี่ยงของฟาร์ม 
ผู้ประกอบการบางรายสามารถปล่อยสัตว์ของตัวเองออกจากโรงเรือน และตัดสินใจตามความเสี่ยง เพื่อคุ้มครองสุขภาพสัตว์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเก็บสัตว์ไว้ในโรงเรือนจนกระทั่งอันตรายจากการติดเชื้อเคลื่อนผ่านไป กล่องบรรจุภัณฑ์ของไข่จากแม่ไก่เลี้ยงปล่อยอิสระจะยังคงผนึกไว้เพื่อแจ้งให้กับผู้บริโภคทราบว่า ไข่อาจวางโดยแม่ไก่ที่เลี้ยงในโรงเรือนบ้างบางเวลา เพื่อป้องกันปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ หวังว่า มาตรการจะดำรงอยู่เพียงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อความปลอดภัยของผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ปีกปล่อยอิสระได้มีโอกาสปล่อยสัตว์ของตัวเองออกไปภายนอก ผู้ประกอบการให้ความมั่นใจว่า สัตว์ที่เลี้ยงในโรงเรือนจะยังได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี โดยยังเป็นไปตามแผนความปลอดภัยทางชีวภาพตลอดเวลาได้
เอกสารอ้างอิง
McCullough C. 2017. Layers protected by lasers. [Internet]. [Cited 2017 Apr 12]. Available from: http://www.poultryworld.net/Health/Articles/2017/4/Layers-protected-by-lasers-119187E/  
https://www.youtube.com/watch?v=L5fkixXNDVQ 

ภาพที่ ๑ ปืนยิงลำแสงเลเซอร์อัตโนมัติเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับไล่นกป่า โดยไม่เป็นอันตรายต่อนก และไก่ รวมถึง สิ่งแวดล้อมโดยรอบ  (แหล่งภาพ: Chris McCullough)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...