เรื่องเล่าทางวิชาการของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงสับไทป์เอช ๕
เอ็น ๑ ในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เรา ไม่ใช่ปัญญาประดิษฐ์ ระบาดมากกว่า ๓ ทศวรรษแล้ว
แบ่งเป็น ๔ รอบปี ๒๕๔๘ ๒๕๕๐ ๒๕๕๑ และล่าสุด ๒๕๖๐
การระบาดครั้งแรกเกิดขึ้นในรัฐกลันตัน และเปรัคในปี พ.ศ.
๒๕๔๘ ในเวลานั้นเชื้อไวรัสก็แยกเป็น ๓ เคลส์แล้วเป็น ๑ ๒.๓ และ ๒.๓.๔ การวิเคราะห์ระดับโมเลกุลของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่ยีน
HA พบว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์เอช ๕ เอ็น ๑ มีลักษณะเหมือนกัน
และจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ Vietnam/Thailand/Malaysia (VTM) sublineage
ที่แยกได้จากสัตว์ปีกอพยพ และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกในประเทศไทย
เวียดนาม กัมพูชา และฮ่องกงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง ๒๕๔๘
ความแตกต่างทางพันธุกรรมของเคลดเหล่านี้กับเคลดที่ ๒.๑ จากอินโดนีเซีย บ่งชี้ว่า
เชื้อไวรัสยังคงอยู่ในสัตว์ปีกมากกว่าจะมีการนำเชื้อไวรัสใหม่มาจากภายนอก ในปี
พ.ศ. ๒๕๕๐ เชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๑ ตรวจพบในกัวลาลัมเปอร์ รัฐเปรัค และปีนัง
การระบาดครั้งนั้นพบว่า
มีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายกับเชื้อไวรัสที่เคยมีการระบาดก่อนหน้านี้สายพันธุ์ Fujian-like
sub-lineage เคลด ๒.๓.๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔๘ เชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๑
ยังถูกตรวจพบในรัฐเซลังงอ กลันตัน และกัวลาลัมเปอร์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐
และเฉพาะในรัฐกลันตันในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ถึง ๒๕๖๐ มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงต่ำ
ได้แก่ เอช ๔ เอ็น ๓ เอช ๔ เอ็น ๖ เอช ๓ เอ็น ๖ เอช ๕ เอ็น ๖ เอช ๒ เอ็น ๙ เอช ๔
เอ็น ๑ เอช ๗ เอ็น ๑ เอช ๒ เอ็น ๙ เอช ๓ เอ็น ๘ เอช ๙ เอ็น ๒ เอช ๑๐ เอ็น ๕ เอช ๕
เอ็น ๒ การระบาดของโรคไข้หวัดนกในมาเลเซีย บ่งชี้ว่า
การทำลายไก่ป่วยมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อในสัตว์ปีก ลดปริมาณเชื้อไวรัสในสิ่งแวดล้อม
และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรรัสจากสัตว์ปีกสู่มนุษย์
เอกสารอ้างอิง
Adibah et al. 2018. Avian influenza outbreaks in
Malaysia, 1980-2017. Asia Pacific and Environ Jol. 2017: 3(2), 1-14; http://www.apeohjournal.org/index.php/v/article/download/46/58.
ภาพที่ ๑ การระบาดของโรคไข้หวัดนกในมาเลเซีย บ่งชี้ว่า
การทำลายไก่ป่วยมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อในสัตว์ปีก ลดปริมาณเชื้อไวรัสในสิ่งแวดล้อม
และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรรัสจากสัตว์ปีกสู่มนุษย์