นักวิจัยพบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างฝ่าเท้าอักเสบ และท่าเดินในไก่เนื้อ
หลังการศึกษาต่อเนื่อง ๓ ปีในสหรัฐฯ
นักวิจัยศึกษาความชุก และความรุนแรงของปัญหาฝ่าเท้าอักเสบ (Footpad
dermatitis, FPD) และท่าเดิน (Gait score, GS) ที่เป็นตัวบ่งชี้ปัญหาขาพิการในไก่เนื้อเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ระหว่าง
FPD และ GS โดยมหาวิทยาลัยเออร์เบิร์น
และสมาคมพยาธิสัตวแพทย์สัตว์ปีกอเมริกา ประเมินความชุก และความรุนแรงของ FPD
และปัญหาขาพิการในไก่เนื้อที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
FPD และ GS ภายใต้สภาวะการเลี้ยงไก่พื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯที่ผลิตไก่เนื้อน้ำหนักน้อย
๑.๙๔ ถึง ๒.๒๒ กิโลกรัม และน้ำหนักมาก ๓.๖๒ ถึง ๓.๖๗ กิโลกรัม
อาการของโรคมักสังเกตเห็นได้ตั้งแต่สภาพขนปกคลุม ผิวหนัง และกระดูก ข้อมูลเก็บจากฟาร์ม
๕๕๔ แห่ง ๑๖,๖๙๗ โรงเรือน และไก่เนื้อจำนวน ๑๖๖,๖๙๗ ตัว เป็นตัวแทนของไก่เนื้อ ๓๒๘ ล้านตัวตลอดการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า
๑.
ไก่เนื้อน้ำหนักเบามี FPD และ GS
มากกว่าน้ำหนักมาก
๒.
มีความสัมพันธ์สูงระหว่าง FPD และ GS
๓.
มีความสัมพันธ์สูงมากที่ไก่เนื้อที่มี GS แย่จะมีปัญหา
FPD รุนแรง และไก่เนื้อที่พบ FPD สูงก็มี
GS ที่รุนแรงมาก
ผลการศึกษาครั้งนี้มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
Journal of
Applied Poultry Research เป็นแรงผลักดันให้กลุ่มสวัสดิภาพสัตว์กดดันแมคโดนัลด์ให้เปลี่ยนไปเลี้ยงไก่เนื้อโตช้า
ด้วยเหตุสวัสดิภาพสัตว์จากปัญหาขาพิการในการเลี้ยงไก่สมัยใหม่
เอกสารอ้างอิง
McDougal.
2018. Link between broiler footpad lesions and gait
scores explored. [Internet]. [Cited 2018 Apr 16].
Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2018/4/Link-between-broiler-footpad-lesions-and-gait-scores-explored-272694E/
ภาพที่
๑ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง FPD และ GS ภายใต้สภาวะการเลี้ยงไก่พื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ
(แหล่งภาพ Mark Pasveer)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น