วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

มาตรฐาน “เบทเทอร์ ไลฟ์” ทางเลือกสำหรับสุขภาพที่ดี


ตัวอย่างของผู้เลี้ยงไก่เนื้อที่เปลี่ยนจากการผลิตตามปรกติเป็นมาตรฐานใหม่ เบทเทอร์ ไลฟ์หรือ “Beter Leven” ๑ ดาว โดยสร้างโรงเรือนใหม่หลังที่สามสำหรับเลี้ยงลูกไก่ ๗๕,๐๐๐ ตัวบนพื้นที่ ๘ พันตารางเมตร โรงเรือนใหม่มีการระบายอากาศจากเพดาน
               ผู้ประกอบการรายนี้มีการลงทุนอย่างมากในธุรกิจการเลี้ยงไก่เนื้อ เริ่มตั้งแต่แผงโซลาร์เซลล์ ๑,๘๕๐ ชุด กำลังการผลิต ๕ แสนกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ขณะนี้ได้ผลกำไรจากการประหยัดพลังงาน นอกจากนั้น เกษตรกรรายนี้ยังมีการเพาะปลูกพืชไร่อีกด้วย ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาก็ประสบปัญหาภัยแล้งจำเป็นต้องมีการรดน้ำในพื้นที่ ๓๗๕ ไร่ โดยใช้ป๊มน้ำไฟฟ้า และน้ำจากบ่อบาดาลของตัวเอง ปั๊มน้ำมีประสิทธิภาพในการทำงาน ๖๕ ตารางเมตรต่อชั่วโมง ความดันลม ๑๖ บาร์ แต่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์บนโรงเรือนเลี้ยงไก่ เกษตรกรสามารถรดน้ำได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในระหว่างวัน ช่วยประหยัดเงินค่าน้ำมันดีเซลให้เกษตรกร ๙ พันบาทต่อวัน

มาตรฐานใหม่ เบทเทอร์ ไลฟ์
               ฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่แห้งแล้ง และอุณหภูมิสูงมาก เป็นสิ่งที่ผิดปรกติสำหรับประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่เกษตรกรรายนี้ไม่ต้องการกังวลกับความเป็นอยู่ที่ดีของไก่เนื้อในช่วงเวลาดังกล่าว จึงตัดสินใจผลิตไก่ตามมาตรฐานใหม่ เบทเทอร์ ไลฟ์ ๑ ดาว ที่เป็นโปรแกรมของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ในเนเธอร์แลนด์ เริ่มตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี ๒๕๕๙ และเปลี่ยนอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ปีที่แล้ว ความหนาแน่นการเลี้ยง ๙.๕ ตัวต่อตารางเมตร และสูงที่สุด ๒๕ กิโลกรัมของเนื้อต่อตารางเมตรที่อายุจับ ทำให้ความหนาแน่นการเลี้ยงลดลงอย่างมาก ไก่ไม่ได้รับผลกระทบจากความร้อนเลย หลายปีก่อนหน้านั้น เกษตรกรรายนี้เลี้ยงไก่ตามระบบปรกติ ประสบปัญหากับสภาพอากาศเป็นประจำ บางครั้งไก่ตายทีเดียวหลายพันตัวเมื่อห้าปีที่แล้ว ก่อนที่จะหันมาเลี้ยงด้วยมาตรฐานใหม่นี้ ความวิตกกังวลก็คลี่คลายลงเมื่อเปลี่ยนเป็นลูกไก่สายพันธุ์โตช้า การเลี้ยงไก่ง่ายขึ้น และต้องคอยควบคุมไม่ให้ลูกไก่น้ำหนักเกินกว่า ๒.๕ กิโลกรัม
               เมื่อปรึกษากับโรงงานแปรรูปการณ์ผลิต เกษตรกรรายนี้เปลี่ยนไปใช้มาตรฐานเบทเทอร์ ไลฟ์ ผลตอบแทนมากขึ้น แต่ทำงานน้อยลง แนวความคิดการผลิตเนื้อสำหรับการตลาดใหม่กำลังเติบโต และความต้องการมากขึ้นในเวลานั้น ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อแห่งนี้ได้เปลี่ยนแผนการผลิตจาก ๖.๕ สัปดาห์เพิ่มเป็น ๙ สัปดาห์ จำนวนไก่ลดลงโดยทันที จากที่เคยเลี้ยงไก่ ๘๔,๐๐๐ ตัวต่อ ๔,๒๐๐ ตารางเมตร ตอนนี้มีไก่ ๗๕,๐๐๐ ตัวต่อ ๘,๐๐๐ ตารางเมตร    
               หลังจากเปลี่ยนไปใช้มาตรฐานเบทเทอร์ ไลฟ์ แล้วก็ต้องมีการปรับปรุงโรงเรือนหลายอย่าง ตั้งแต่การเตรียมช่องกระจกรับแสงสว่างบนหลังคา การก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกใหม่ ๙๕ ´ ๒๘ เมตรเป็นระบบโรงเรือนเลี้ยงไก่แบบใหม่เรียกว่า “Sunbro poultry house” ตามแนวความคิดของฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อเพื่อนบ้าน แต่มีการดัดแปลงเล็กน้อยจนได้โรงเรือนเลี้ยงไก่ที่สวยงามแบบหนึ่ง
การลงทุนราว ๔ ล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากระบบการระบายอากาศจากเพดานโรงเรือน ช่วยตัดปัญหาระบบการระบายอากาศแบบเดิม อากาศบริสุทธิ์ถูกดูดเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยงไก่จากหน้าโรงเรือน อากาศที่ดูดเข้ามาถูกปรับโดยอัตโนมัติในท่ออากาศ และเติมความร้อนโดยระบบการแลกเปลี่ยนอากาศร้อนภายในโรงเรือน ในสัปดาห์แรกของการเลี้ยง ระบบนี้ช่วยลดการใช้พัดลมลงน้อยที่สุด อากาศร้อนที่เข้ามาในโรงเรือผ่านท่อที่แขวนไว้ระดับต่ำ ๒ ท่อ การระบายอากาศทางเพดานโรงเรือน ผู้เลี้ยงสามารถระบายอากาศที่มีความดันเท่าๆกัน แต่ได้รับอากาศปริมาณมากเข้ามา เพื่อลดอิทธิพลของอากาศแห้งผ่านลิ้นปล่อยอากาศออกไป ลูกไก่จะได้รับอากาศที่สบาย และเหมาะสมกับสุขภาพมากกว่า เหมาะสำหรับการเลี้ยงลูกไก่ที่มีความหนาแน่นต่ำลง  

เอกสารอ้างอิง

ภาพที่ ๑ โรงเรือนเลี้ยงไก่แบบใหม่สำหรับมาตรฐาน เบทเทอร์ ไลฟ์ ด้านหน้าโรงเรือนที่อากาศผ่านเข้าสู่โรงเรือนถูกทำเป็นกรอบด้วยไม้อย่างสวยงาม (แหล่งภาพ: Broiler farmers Tienus and Alie Berkepies)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...