วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

อวสานโรงฟักในเยอรมัน

 อนาคตของอุตสาหกรรมไก่ไข่ในเยอรมันกำลังตกที่นั่งลำบากแล้ว นับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๗ ลูกไก่ไข่เพศผู้ทั้งหมดต้องมีชีวิตต่อไป ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องลงทุนก้อนใหญ่เพื่อซื้อเครื่องคัดเพศตัวอ่อนในไข่ฟัก นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๔ เป็นต้นมา จำนวนโรงฟักลดลงจาก ๒๐ โรงเหลือเพียง ๘ โรงแล้ว หากต้องการดำเนินธุรกิจต่อไปก็ต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตใหม่ 

              องค์กรด้านการผลิตไก่ไข่ Bundesverband Ei ภูมิใจกับอุตสาหกรรมการผลิตไก่ไข่ แต่อนาคตของอุตสาหกรรมกำลังมืดมนลง ในด้านฟาร์มผลิตสัตว์ปีก ประเทศเยอรมันเปรียบเหมือนกับรถเฟอร์รารี เยอรมันมีนักพันธุกรรมชั้นนำของโลก และยังมีเทคนิคต่างๆด้านพันธุศาสตร์ก็มาจากเยอรมัน ต่อไปนี้จะไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป เยอรมันมีฟาร์มไก่ไข่ที่ทันสมัย และโรงฟักที่ดีที่สุด แทบไม่มีแม่ไก่ที่เลี้ยงในกรงตับอีกแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ระบบกรงใหญ่ (aviary housing systems) บางส่วนก็ปล่อยอิสระ หรือระบบอินทรีย์ ทุกสิ่งทุกอย่างของเยอรมันเรียกได้ว่า เกินกว่าระบบมาตรฐานสูงสุดของโลกแล้ว แล้วยังทำมากไปกว่านั้นกับการคุ้มครองสัตว์ และสวัสดิภาพสัตว์ในเยอรมัน อย่างไรก็ตาม ความพยายามเหล่านี้แลกมาด้วยต้นทุนที่สูงมาก ผลผลิตไข่ปัจจุบันกำลังเน้นไปยังการส่งออกไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในประเทศที่ประเด็นต่างๆข้างต้นไม่ได้เป็นที่สนใจมากนัก กลายเป็นภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

การพัฒนาอุตสาหกรรมไก่ไข่เยอรมัน  

                เยอรมันเป็นผู้นำเข้าไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์จนทำสถิติโลก อัตราการผลิตเพื่อพึ่งพาตัวเองราวร้อยละ ๗๓ เท่านั้น ที่เหลือก็จะเป็นการนำเข้ามาบริโภคภายในประเทศ ซึ่งนับว่าลดลงแล้ว เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ อยู่ที่ร้อยละ ๕๕ เท่านั้น ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ แม่ไก่ในเยอรมันมีราว ๗๕ ล้านตัว แต่ตอนนี้เหลือ ๕๕ ล้านตัว เนื่องจาก การบังคับให้เปลี่ยนจากกรงตับเป็นระบบโรงเรือนทางเลือกอื่นๆ ในเยอรมันเริ่มก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ แล้วยุโรปจึงทำตามต่อในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ เยอรมันสมัครใจหยุดการตัดจงอยปากเอง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โรงฟักเยอรมันก็ยกเลิกการตัดจงอยปาก ขณะนี้ เยอรมันกำลังยกเลิกฆ่าลูกเพศผู้

นโยบายคุ้มครองชีวิตลูกไก่เพศผู้

               ศาลสูงเยอรมัน กำหนดให้ปี พ.ศ.๒๕๖๒ หยุดการทำลายลูกไก่เพศผู้ หากมีทางเลือกทางวิชาการที่พร้อมแล้วสำหรับการตรวจเพศตัวอ่อนในระยะแรก ในเวลานั้น ยังไม่มี แต่ความรู้ด้านวิศวกรรมก็เริ่มต้นพัฒนานับตั้งแต่เวลานั้น กระทรวงเกษตรจึงสั่งแบนการฆ่าลูกไก่นับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๕ เป็นต้นมา โดยกฏหมายฉบับนี้อาศัยวิธีการตรวจสอบไก่เพศผู้ ๒ วิธีทั้งสองวิธียังเป็นช่วงท้ายของการฟัก

               หลังจากนั้น กฏหมายก็เริ่มกระชับขึ้น นับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป ต้องคัดเพศในไข่ฟักก่อนอายุไข่ฟัก ๗ วัน แต่ยังไม่มีวิธีการใดที่พร้อมใช้ในทางพาณิชย์ได้ ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคมเป็นต้นไป ผู้ผลิตจะต้องเลี้ยงลูกไก่เพศผู่ทั้งหมด หากยังต้องการทำธุรกิจโรงฟักในเยอรมัน

ที่มาของการกำหนดอายุไข่ฟักไว้เป็นวันที่ ๗

               ทั้งหลายทั้งปวงมาจากความเชื่อมั่นต่อการพัฒนาเทคโนโลยี นักวิจัยมีความหวังกับเทคโนโลยี รามัน สเปคโตรสโคปี สำหรับตรวจสอบเพศได้ตั้งแต่อายุตัวอ่อนได้ ๔ วัน และกำลังวางตลาดแล้ว อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่าเมื่อกระบวนการทางกฏหมายบังคับใช้ไปแล้ว สเปคโตรสโคปีก็ยังไม่เข้าสู่ตลาดก่อนปี พ.ศ.๒๕๖๗ เนื่องจาก ยังให้ผลบวกปลอมจำนวนมาก

               กฏหมายคุ้มครองลูกไก่เพศผู้ได้กลายเป็นเงามืดวงการผลิตไก่ไข่เยอรมันไปเรียบร้อยแล้ว โรงฟักไก่ไข่ที่ยังเหลือผลิตอยู่ในปี พ.ศ.๒๕๖๔ เหลือเพียง ๘ แห่งเท่านั้น ดังนั้น ลูกไก่ไข่ที่จะเข้าฟักก็จะเหลือน้อยลงเพียง ๒๕ ล้านตัวเท่านั้นเมื่อปีที่ผ่านมา หมายความว่า เยอรมันฟักลูกไก่ไข่ออกมาเพียงครึ่งหนึ่งของ ๕๕ ล้านตัวที่เคยเลี้ยงกันมาเท่านั้น ที่เหลือมาจากการนำเข้า เชื่อว่า ส่วนแบ่งของลูกไก่ที่ฟักในเยอรมันจะลดลง หากกฏหมายยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง แน่นอนไม่มีใครลงทุนกับโรงฟักอีกต่อไป หากกำหนดเส้นตายยังเป็นปี พ.ศ.๒๕๖๗ หากไม่แก้ไขกฏหมาย โรงฟักเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ยังสามารถยืนอยู่ได้ โดยฟักทั้งลูกไก่เพศเมีย และเพศผู้ สถานการณ์ที่ยากลำบากกำลังรอคอยอยู่เบื้องต้น

โอกาสที่จะเลื่อนกำหนดออกไป

               กระทรวงอาหารและการเกษตรต้องส่งรายงานสถานการณ์ในฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ.๒๕๖๖ นี้ เพื่อรายงานว่า การคัดเลือกเพศสามารถทำงานได้จริงก่อนอายุการฟักวันที่ ๗ แล้ววันที่เท่าไรที่ตัวอ่อนรับรู้ถึงสิ่งกระตุ้นจากความเจ็บปวดได้ สภาฯสามารถตอบสนองต่อรายงานได้ แต่เลือกที่จะไม่ทำ  ผู้ผลิตไข่ไก่พยายามเปลี่ยนใจพรรคการเมือง และรัฐบาลท้องถิ่น ปี พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นไปได้ยาก เยอรมันจำเป็นต้องมีโรงฟักของตัวเอง หากยังต้องการรักษาธุรกิจให้ดำรงต่อไปได้ การผลิตไข่ไก่ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้หากปราศจากโรงฟัก ผู้ผลิตสัตว์ปีกไม่สามารถยอมรับเส้นตายไม่ว่าจะเป็นปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ๒๕๖๙ ๒๕๗๒ จนกว่านักวิจัยจะประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีคัดเพศที่ใช้ได้จริง ตลาดยุโรปมีเพียงหนี่งเดียว ปัญหาการทำลายลูกไก่ต้องแก้ไขในระดับยุโรปทั้งหมด องค์กรสวัสดิภาพสัตว์ยุโรปชื่นชมฝรั่งเศสที่สามารถวิเคราะห์ด้วยเทคนิคสเปคตรัลในวันที่ ๑๓ และยอมรับว่ามีการแก้ไขปัญหาลูกไก่ไข่เพศผู้ได้แล้ว แต่ในเยอรมันต้องการให้เป็นไปตามจริยธรรมสัตว์ตั้งแต่เริ่มต้นเลย

             การตัดสินใจในปี พ.ศ.๒๕๖๒ กำหนดให้ผู้ผลิตไก่ไข่ต้องยุติการฆ่าลูกไก่ แต่ไม่ได้ให้จัดการตั้งแต่กระบวนการฟักไข่ ไม่ว่าตัวอ่อนในไข่ฟักจะรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่ หรือเวลาที่เหมาะสมสำหรับการทำลายตัวอ่อนลูกไก่ เน้นย้ำว่าให้ยุติการฆ่าลูกไก่วันแรกเท่านั้น และผู้ผลิตไก่ไข่ในเยอรมันก็ประสบความสำเร็จไปแล้ว และยังคงทำต่อไป

               เยอรมันเป็นผู้นำตลาดโลก หากเยอรมันสามารถเดินหน้าไปตามเส้นทางที่ทำ ไม่มีประเทศใดสามารถทำตามสิ่งที่เยอรมันสร้างขึ้นมาได้ มีเทคนิคสำหรับการตรวจเพศไข่ฟักในวันที่ ๙ ทำไมจึงไม่เดินหน้าด้วยเทคนิคนี้  แต่ยังมีแรงต่อต้านมากเกินไป จึงมีโอกาสเป็นไปได้น้อย องค์กรสวัสดิภาพสัตว์เยอรมัน และในอีกหลายประเทศ ไม่ได้คิดว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้อง และเห็นว่าเยอรมันควรขับเคลื่อนนำไปสู่การใช้ประโยชน์แม่ไก่ไข่ให้ได้สองวัตถุประสงค์พร้อมกัน ให้มีผลผลิตไข่ที่ดี โดยมองว่า เป็นการใช้แนวคิดด้านพันธุกรรมที่ผิดมากกว่า  แม่ไก่ไข่สายพันธุ์ใหม่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งเพศผู้และเพศเมียถูกนำเข้าสู่ตลาดเยอรมันแล้ว ฝูงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเลี้ยงแม่ไก่ ๗,๐๐๐ ตัว ปัญหาคือให้ไข่ได้เพียง ๒๒๐ ฟองต่อปีเท่านั้น คิดเป็นสองในสามของประสิทธิภาพการผลิตในปัจจุบัน ปัญหาใหญ่กว่านั้นคือ ขนาดฟองเล็กมาก ไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ขณะที่ เพศผู้โตเร็วกว่าพ่อไก่ไข่ปรกติทั่วไป แต่ยังต้องเลี้ยงเป็นเวลานาน และกินอาหารปริมาณมาก เนื้อแข็งมาก และมองดูแตกต่างจากปรกติ คำถามคือจะไปหาตลาดที่ไหนขายได้

สิ่งที่จะเกิดในอีกสามถึงห้าปีต่อไป

               ขนาดของตลาดไข่ไก่เยอรมันจะเปลี่ยนไปได้ยากลำบาก สวัสดิภาพสัตว์ยังคงเป็นประเด็นสำคัญในเยอรมัน หลายสิ่งหลายอย่างได้ปรับตัวไปเหมือนกันในตลาดไข่ไก่เยอรมัน ฉลากและคำอธิบายอย่างละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ในซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งแหล่งที่มา พี่น้องของแม่ไก่ถูกฆ่าไปแล้วรึเปล่า เก็บรักษาไข่ไว้อย่างไร เป็นต้น ยังดีที่พาสตา หรือขนมปังเบเกอรี ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับแหล่งที่มา แต่อยู่ในขั้นตอนของการผลักดันให้บังคับใช้เหมือนกัน หากผู้ผลิตไข่ไก่เยอรมันต้องลงทุนไปกับฟาร์มที่ต้นทุนสูงมาก ก็จะสะท้อนไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไข่ไก่ด้วย ผู้ค้าปลีกรายหนึ่งเลือกที่จะใช้แต่ไข่ไก่โอเคที (ohne kuken toten, OKT) ที่ผลิตจากแม่ไก่ที่ไม่มีการสังหารพี่น้องเพศผู้ของหล่อน สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายใต้ฉลากของผู้ค้าปลีกรายนี้ อย่างไรก็ตาม หากบังคับใช้ทั่วไปก็จะส่งผลต่อการค้าเสรี และตลาดเปิดภายในสหภาพยุโรป เยอรมันอาจบังคับใช้กฏหมายห้ามฆ่าลูกไก่ได้ และได้ทำไปแล้ว แต่ไม่สามารถห้ามการจำหน่ายไข่ หรือผลิตภัณฑ์จากไข่ที่เพศผู้ถูกฆ่าได้ อย่างไรก็ตาม เยอรมันสามารถควบคุมให้เกิดความโปร่งใสเกี่ยวกับวิธีการผลิตได้ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่า หรือไม่ฆ่าลูกไก่เพศผู้ แล้วให้ผู้บริโภคตัดสินใจเอาเอง อย่างนี้จะเป็นธรรมมากกว่า

ผู้บริโภคจะยอมจ่ายหรือไม่?

                   ผู้บริโภคมีเงินสำหรับจ่ายได้ ประชากรบางกลุ่มก็ประหยัดใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ แต่ไข่โอเคทีมีต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าไข่ปรกติ ๕๐ ถึง ๗๕ สตางค์ อัตราการบริโภคไข่ไก่ ๒๐๐ ฟองต่อปีรวมแล้วราว ๑๔๗ บาทเท่านั้น ส่วนต่างราคาไม่สามารถถกเถียงได้

               เยอรมันยังคงนำเข้าแม่ไก่ที่ไม่ใช่โอเคทีต่อไป เนื่องจาก จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฏหมายของยุโรปว่าด้วยการค้าเสรี แม่ไก่ที่ไม่ใช่โอเคทียังสามารถใช้ในการผลิตไข่ไก่ได้ ทั้งที่พี่ชายน้องชายของแม่ไก่เหล่านี้มีสัดส่วนร้อยละ ๓๐ ถึง ๔๐ ของแม่ไก่ทั้งหมด ๕๕ ล้านตัวในเยอรมันถูกทำลายตั้งแต่อายุวันแรก สัดส่วนของแม่ไก่ที่ไม่ใช่โอเคทียังคงสูงจากข้อมูลของโรงฟักและผู้จำหน่ายลูกไก่ นอกจากนั้น ก็ยังมีลูกค้าบางกลุ่มที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นสวัสดิภาพสัตว์สุดโต่งนี้

เนเธอร์แลนด์ส่งออกไข่ไก่ และแม่ไก่จำนวนมากให้เยอรมัน

                บริษัทผู้ผลิตไข่ไก่เนเธอร์แลนด์ ๓ รายสำคัญได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการตลาดเยอรมัน โดยการผลิตไข่ไก่ภายใต้เคเอที โรงฟักปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเข้มขวด ข้อมูลทางสถิติ พบว่า ลูกไก่เพศผู้ร้อยละ ๙๐ ที่เข้าฟักในเนเธอร์แลนด์ ไม่ได้เลี้ยงในประเทศ แต่ส่งไปยังโปแลนด์ โดยส่งผ่านเยอรมัน  

               นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป เยอรมันต้องเลี้ยงลูกไก่เพศผู้ภายใต้กฏเคเอที ซึ่งความจริงแล้วไม่เป็นที่ต้องการ เยอรมันไม่สามารถเลี้ยงลูกไก่เพศผู้ได้ จึงต้องให้โปแลนด์เลี้ยง คำสั่งห้ามจะทำให้มีการขนส่งสัตว์ผ่านเยอรมันมากขึ้น เพื่อให้สามารถฟักลูกไก่ไข่ได้ตามกฏระเบียบนี้ ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักการสวัสดิภาพสัตว์    

เอกสารอ้างอิง

Bodde R. 2023. Germany: ‘Only a few hatcheries will survive’. [Internet]. [Cited 2023 Apr 27]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/germany-only-a-few-hatcheries-will-survive/

ภาพที่ ๑ ไข่ไก่โอเคทีต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าไข่ปรกติ ๕๐ ถึง ๗๕ สตางค์ในตลาด (แหล่งภาพ Koos Groenewold)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...