วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การควบคุมแอมโมเนียในการเตรียมวัสดุรองพื้น

 ระดับแอมโมเนียที่สูงเป็นสิ่งท้าทายในการผลิตสัตว์ปีกทั่วโลก แก๊สพิษดังกล่าวได้คุกคามสุขภาพของสัตว์และมนุษย์ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ และส่งผลร้ายทางสังคม หากไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม

               ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ปีก จากการใช้โปรตีนหรือแหล่งสารอาหารอื่นๆ ไนโตรเจนบางส่วนถูกใช้ในกระบวนการเมตาโบลิซึมของสัตว์ และการสร้างเนื้อเยื่อหรือไข่ อย่างไรก็ตาม ไนโตรเจนส่วนอยู่ถูกขับออกมาผ่านปัสสาวะหรือมูลสัตว์ ในรูปของกรดยูริกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๘๐ แก๊สแอมโมเนียร้อยละ ๑๐ และยูเรียร้อยละ ๕ เมื่อกรดยูริกและยูเรียถูกขับออกจากร่างกายก็จะถูกเปลี่ยนเป็นแก๊สแอมโมเนีย โดยการย่อยสลายด้วยเชื้อจุลชีพ และเอนไซม์ ผ่านแบคทีเรียและเอนไซม์ที่พบในวัสดุรองพื้นโรงเรือนสัตว์ปีก ในระหว่างกระบวนการนี้ แอมโมเนียถูกปลดปล่อยออกมาปริมาณมากเข้าสู่อากาศในรูปของแก๊ส และทั้งสัตว์ปีกและคนเลี้ยงสัตว์ปีกในฟาร์มจะได้รับแก๊สดังกล่าว บทความทบทวนวรรณกรรม แนะนำระดับแอมโมเนียที่ยอมรับได้ไม่เกิน ๑๐ พีพีเอ็มในอากาศ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสำหรับฝูงสัตว์ปีกและผู้เลี้ยงสัตว์ การระเหยกลายเป็นไอของไนโตรเจนส่งผลให้แก๊สมลพิษสูงขึ้น โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรกรรมเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความหลากหลายของระบบนิเวศ สุขภาพมนุษย์ และสัตว์อีกด้วย

โรค และความผิดปรกติอื่นๆ

               หากไม่มีการตรวจติดตามและควบคุมแอมโมเนียอย่างเพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจ ความผิดปรกติของสมอง การทำลายตับ และการบาดเจ็บของเส้นเลือดและกล้ามเนื้อในมนุษย์ สำหรับสัตว์ปีก หากปราศจากอากาศที่สะอาดหายใจจะส่งผลกระทบต่อการเป็นอยู่ที่ดี และผลผลิตลดลง และส่งผลต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก จากความสม่ำเสมอของฝูง และคุณภาพซากที่โรงฆ่า ระดับแอมโมเนียที่สูงกว่า ๑๐ พีพีเอ็ม ส่งผลให้การกินอาหาร และการเจริญเติบโตลดลง ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารไม่ดี การระคายเคืองต่อตาและปอดของสัตว์จนอาจทำให้ตาบอด และปัญหาระบบทางเดินหายใจ อัตราการตายเพิ่มขึ้นในทุกระยะ แต่ส่วนใหญ่เป็นช่วงสัปดาห์ที่ ๑ และ ๒ นับเป็นผลกระทบที่เป็นอันตรายที่สุดจากการสัมผัสแอมโมเนีย

การจัดการปรกติ

               วิธีการควบคุมที่นิยมใช้กันมากที่สุดเป็นการพักโรงเรือนเป็นเวลา ๑๒ ถึง ๑๕ วันจนกว่าลูกไก่ชุดถัดมาจะลงเลี้ยง วัสดุรองพื้นถูกกลับไปมาภายหลังการหมักทิ้งไว้ แล้วเพิ่มการระบายอากาศภายในโรงเรือน ในบางแห่งใช้ปูนขาวโรยให้แห้งเร็วขึ้นในพื้นที่อากาศชื้น การระบายอากาศอย่างเพียงพอ ดูแลอุปกรณ์การให้น้ำ และระวังไม่ให้ความหนาแน่นของสัตว์สูง ซึ่งจะทำให้มีการสะสมของสิ่งขับถ่ายมากเกินกว่าจะสามารถควบคุมได้ การเปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุก ๕ ถึง ๖ ฝูงหรืออย่างน้อยปีละครั้ง  อย่างไรก็ตาม การควบคุมระดับของแอมโมเนียอย่างมีประสิทธิภาพมีวิธีการที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับชนิดของวัสดุรองพื้น ฤดูกาล จำนวนครั้งที่มีการใช้ซ้ำ โรงเรือนบางแห่งที่มีพัดลมระบายอากาศ และสามารถเปิดระยายอากาศได้หลายวัน ยังมีระดับแอมโมเนียสูงเกินกว่า ๙๐ พีพีเอ็ม นั่นคือ ด้วยวิธีการปรกติ การควบคุมระดับแอมโมเนียไม่สามารถรับประกันได้ว่า แอมโมเนียจะถูกกำจัดออกไปได้หมด แม้ว่า ระดับของแอมโมเนียจะลดลงได้เมื่อลงลูกไก่ จะดีกว่านี้หากใช้เวลามากกว่า ๑๕ วัน   

               สถานการณ์จะเลวร้ายในช่วงฤดูหนาว เนื่องจาก จำเป็นต้องปิดโรงเรือนตลอดเวลา เพื่อรักษาความอบอุ่นให้กับสัตว์ วิธีการจัดการหนึ่งคือ การเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทุกรุ่นการเลี้ยง เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับการควบคุมแอมโมเนีย อย่างไรก็ตาม ก็เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น  

เอกสารอ้างอิง

Azevedo D. 2023. Ammonia control evolves to poulry litter preparation. [Internet]. [Cited 2023 May 11]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/ammonia-control-evolves-to-litter-preparation/

ภาพที่ ๑ แก๊สส่งผลกระทบต่อผลผลิต และสุขภาพมนุษย์ หากไม่ลดให้ต่ำกว่า ๑๐ พีพีเอ็ม (แหล่งภาพ Daniel Azevedo)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...