วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

น้ำท่วมบราซิล สัญญาณเตือนการผลิตสัตว์

แม้ว่าการผลิตสัตว์จะไม่ใช่ภาคการผลิตเดียวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในริโอ รัฐฮิวกรังจีดูซูว แต่ยังมีส่วนอื่นๆที่ได้รีบความเสียหายมากว่านี้อีก

ภาพข่าวความเสียหายจากน้ำท่วมในรัฐฮิวกรังจีดูซูว (Rio Grande do Sul) ในบราซิลเป็นภาพที่น่าเศร้าอย่างมาก ทั้งชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และบ้านเรือน รวมถึง การผลิตในฟาร์มสัตว์ เริ่มมีการพูดถึงปัญหาซัพพลายเชนของอาหารที่จะได้รับผลกระทบไม่เพียงแค่ต่อประชาชนในรัฐฮิวกรังจีดูซูว แต่ยังรวมถึงประชาชนทั้งประเทศด้วย รวมถึง การส่งออกด้วย ความเสียหายส่งผลต่อมุมมองหลายประการที่อาจเกิดปัญหาทั้งการกระจายอาหาร กล่อง วัสดุการบรรจุ การขนส่งสัตว์ไปยังโรงงานฯ การขนส่งไข่ไก่ไปยังศูนยกระจายสินค้า ไฟฟ้าสำหรับฟาร์ม หรือการทำงานในโรงงานฯ    

               รัฐฮิวกรังจีดูซูวกำลังฟื้นฟูอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกกลับมาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้มีการผลิต และการแปรรูป ไม่ต้องพูดถึงการแจ้งเตือนอะไร เพราะแจ้งไปก็ไม่ได้ช่วยอะไร แต่ชาวบราซิลจำเป็นต้องคิดประเมินเหตุการ์ และผลกระทบต่อไปที่จะเกิดขึ้น การผลิตไก่เนื้อในรัฐฮิวกรังจีดูซูวมีสัดส่วนร้อยละ ๑๑.๔ ของการผลิตทั้งประเทศ โดยมีประชากรไก่เนื้อ ๖๐๔ ล้านตัวในปีที่ผ่านมา ยอดการส่งออกร้อยละ ๑๔.๘ มาจากรัฐฮิวกรังจีดูซูว และการส่งออกเนื้อไก่งวงร้อยละ ๓๗.๑ ก็ผลิตในรัฐนี้อีกด้วย  ไก่ไข่ร้อยละ ๕.๗๓ ของประเทศก็อยู่ในรัฐนี้ มีจำนวนไก่เป็นลำดับที่ ๕ ของประเทศ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐฮิวกรังจีดูซูวเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่เป็นลำดับ ๓ ของประเทศ มียอดการผลิต ๖๙,๒๐๐ เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐.๔ ของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ท่าเรือของรัฐฮิวกรังเป็นทางออกสำคัญสำหรับการส่งออกสินค้า ยังไม่รวมถึงการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งเมล็ดธัญพืช และพืชน้ำมัน โดยผลิตข้าวโพดร้อยละ ๒๑.๘ และถั่วเหลืองร้อยละ ๑๔.๕ ของประเทศ กล่าวได้ว่า การผลิตอาหารตกอยู่ในความเสี่ยง หากชาวบราซิลยังไม่ให้ความสนใจกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

เอกสารอ้างอิง

Ruiz B. 2024. Brazil floods: Warning for animal production, the planet. [Internet]. [Cited 2024 May 15]. Available from: https://www.wattagnet.com/blogs/latin-america-poultry-at-a-glance/blog/15670921/brazil-floods-warning-for-animal-production-the-planet

ภาพที่ ๑ น้ำท่วมบราซิล สัญญาณเตือนการผลิตสัตว์โลก (แหล่งภาพ Pixabay)



วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

จีนหันซื้อไก่รัสเซียเพิ่ม

 รัสเซียพยายามรักษาคู่ค้าเนื้อไก่รายใหญ่ที่สุด ๓ รายในตลาดจีนตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เป็นการปูทางสำหรับการเพิ่มปริมาณการจำหน่ายสินค้าต่อไป นับเป็นการเคลื่อนไหวที่สำคัญของตลาดค้าสัตว์ปีกโลก

รัสเซียเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่มีสัดส่วนร้อยละ ๑๐.๕ ปีที่แล้ว มีปริมาณ ๑.๒ ล้านตัน อ้างอิงตามรายงานอะโกรเอ็กซ์พอร์ต หน่วยงานส่งเสริมการเกษตรรัสเซีย โดยใช้ข้อมูลจากรัฐบาลจีน

จีนกลายเป็นตลาดใหม่สำหรับการส่งออกรัสเซียในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ.๒๕๖๖ ร้อยละ ๕๖ ของยอดส่งออกไปยังประเทศต่างๆมีจุดหมายที่เมืองจีน บ่งชี้ให้เห็นถึง กลยุทธ์ที่สำคัญต่อตลาดรัสเซียสำหรับภาคอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในรัสเซีย

การเพิ่มขึ้นของเนื้อไก่รัสเซียไปยังตลาดจีน เป็นผลมาจากการลดลงของส่วนแบ่งทางการตลาดของสหรัฐฯ สหภาพผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรัสเซีย ชี้ให้เห็นว่า บริษัทรัสเซียตั้งเป้าช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดที่เคยเป็นของสหรัญฯให้ได้ทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลมาจากการลดลงของยอดจำหน่ายเนื้อไก่สหรัฐฯให้กับจีนร้อยละ ๒๙.๖ ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนก

จีนประสบปัญหาเศรษฐกิจ

               เนื่องจาก ปัญหาเศรษฐกิจในจีนเองกลายเป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้ส่งออก ปัจจัยสำคัญในจีน ได้แก่ การจำหน่ายโดยบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ และความต้องการบริโภคที่ลดลงในปี พ.ศ.๒๕๖๖ ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหันมาบริโภคอาหารพร้อมรับประทาน ส่งผลกระทบต่อความต้องการเนื้อสัตว์ทุกชนิด ผู้ผลิตสัตว์ปีกในจีนก็กำลังประสบปัญหากับการพึ่งพาการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้กับผู้ส่งออกรัสเซียเพิ่มปริมาณการผลิตสำหรับช่องทางการจำหน่ายใหม่นี้

เน้นสินค้าบาย-โพรดักส์

                จีนเพิ่มการนำเข้าบาย-โพรดักส์จากเนื้อสุกร และเนื้อสัตว์ปีก สำหรับโรงงานฯในรัสเซีย การค้ากับจีนนับเป็นโอกาสพิเศษที่จะเปลี่ยนชิ้นส่วนไก่บางส่วนจากของเสียให้นำไปขายสร้างรายได้ โดยเฉพาะ ตีนไก่ และปีก การส่งออกชิ้นส่วนเหล่านี้ไปยังจีนเชื่อว่าจะเติบโตต่อเนื่อง เพราะความต้องการตลาดสูง ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า จีนจะเปลี่ยนไปใช้แต่ไก่จากรัสเซียเท่านั้น เพราะจีนก็ยังซื้อสินค้าจากอีกหลายประเทศ

               ระหว่างประชุมเจรจาต่อรองระหว่างผู้แทนการค้ารัสเซียและจีน หลายบริษัทจีนแสดงความสนใจที่จะนำเข้าเพิ่มขึ้นจากรัสเซีย เช่น เอเจนซีหลายใหญ่ Beijing Xinshengbaili Trade ให้สัญญาว่าจะนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อจากรัสเซีย ๑๐๐ ถึง ๒๐๐ ตู้เร็วๆนี้

เอกสารอ้างอิง

Poultry World. 2024. China increasingly relies on Russian poultry. [Internet]. [Cited 2024 May 14]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/china-increasingly-relies-on-russian-poultry/

ภาพที่ ๑ จีนหันมานำเข้าไก่จากรัสเซีย (แหล่งภาพ Canva)


วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

มิชิแกนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหวัดนก

 โรคไข้หวัดนกยังคงระบาดในสหรัฐฯ สองปีที่ผ่านมา สหรัฐฯมีไก่มากกว่า ๙๐ ล้านตัว และนกป่า ๙,๐๐๐ ตัวที่ติดเชื้อด้วยเอช ๕ เอ็น ๑  

ในรอบเดือนที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้รายงานว่า ฟาร์ม ๑๑ แห่ง และฝูงสัตว์ปีกหลังบ้าน ๘ ฝูง ติดเชื้อรวมกันแล้วราว ๘.๘ ล้านตัว โดยล่าสุดเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคมเกิดในรัฐมิชิแกน และได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศคำสั่งรับมือโรคไข้หวัดนก ทั้งฟาร์มสัตว์ปีก และฟาร์มโคนม การระบาดครั้งนี้ในพื้นที่สำคัญภายในอุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์ของมิชิแกนมีความจำเป็นต้องจัดการโรคทันที ตั้งแต่มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ และกำหนดแผนฉุกเฉินสำหรับรับมือ โดยเฉพาะในฟาร์มที่มีความเสี่ยง

โรคไข้หวัดนกได้แพร่กระจายในฝูงโคนมเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว ตามผลการวิเคราะห์เบื้องต้นด้านพันธุกรรมของเชื้อไวรัสล่าสุด เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ยืนยันการติดเชื้อในฝูงโคนม ๓๖ ฝูงใน ๙ รัฐ โคที่ติดเชื้อบางส่วนจากรัฐเท็กซัสได้เคลื่อนย้ายไปยังรัฐอื่นๆ แต่ฝูงโคยังสามารถติดเชื้อได้จากการกินหญ้า หรือน้ำที่ปนเปื้อนมูลนกป่า 

ผลกระทบต่อราคาไข่

               ราคาไข่ไก่ระดับฟาร์มคาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้นราวร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ.๒๕๖๗ เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจาก การผลิตไข่ไก่ลดลง จำนวนแม่ไก่ในสหรัฐฯ ตายหรือถูกทำลาย เนื่องจากโรคไข้หวัดนกมากกว่า ๑๔ ล้านตัวในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคมที่ผ่านมา ราคาไข่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๔ ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ในสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ ๒๓.๒ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  ตอนที่ไข้หวัดนกระบาดในสหรัฐฯเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๕ ราคาไข่ไก่ในซูเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มสูงขึ้นเป็น ๒๕๘ บาทต่อโหล โดยราคาเฉลี่ย ๑๗๗ บาทในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๖      

ราคาไข่ไก่ทั่วโลก

               ราคาไข่ไก่สูงทั่วโลกในปัจจุบัน โรคไข้หวัดนกในญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นเหตุผลทำให้ราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ ในเดือนมกราคม

               ประเทศในสหภาพยุโรป รัสเซีย แอฟริกาใต้ อินเดีย และไนจีเรีย ประสบกับสถานการณ์ราคาไข่ไก่สูงเป็นประวัติการณ์ ราคายังแพงมากในเม็กซิโก นอร์เวย์ อินโดนีเซีย และอีกหลายภูมิภาคทั่วโลก เนื่องจาก คลื่นความร้อน และความต้องการโปรตีนจากไข่แทนราคาเนื้อสัตว์ที่สูง

เอกสารอ้างอิง

Hein T. 2024. Avian influenza: emergency order in Michigan, higher egg prices. [Internet]. [Cited 2024 May 6]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/avian-influenza-emergency-order-in-michigan-higher-egg-prices/

ภาพที่ ๑ สองปีที่ผ่านมาในสหรัฐฯ ไก่มากกว่า ๙๐ ล้านตัว และนกป่า ๙,๐๐๐ ตัวติดเชื้อไข้หวัดนกสับไทป์เอช ๕ เอ็น ๑ (แหล่งภาพ Canva)



วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

 นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน

การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นการเรียกร้องให้จัดการปัญหาคอขวดจากสินค้าที่มีข้อจำกัดด้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไก่ในปีที่ผ่านมา ส่วนแบ่งของเมนูสินค้าอาหารของแมคโดนัลด์ในยูเครนเปิดเผยว่า ส่วนแบ่งของสินค้าเนื้อไก่ในแมคโดนัลด์ยูเครนค่อนข้างต่ำเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในยุโรป นับตั้งแต่ บริษัทไม่มีโอกาสนำเข้าตามปริมาณที่ต้องการ

การจำกัดการนำเข้าเนื้อไก่

               ความท้าทายที่แมคโดนัลด์ต้องเผชิญหน้ากับการนำเข้าเนื้อไก่ในยูเครน เจ้าหน้าที่รัฐของยูเครนได้กำหนดข้อจำกัดการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากหลายประเทศ เป็นการจำกัดความสามารถในการซื้อไก่จากผู้ขายตามปรกติ

               แมคโดนัลด์ร่วมงานกับเอ็มเอชพีในปี พ.ศ.๒๕๖๔ เมื่อบริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกเริ่มส่งชิ้นส่วนไก่เป็นสตริปเข้าสู่ร้านอาหารในยูเครน กระบวนการการปรับตัวด้านการผลิตของเอ็มเอชพีภายใต้ข้อกำหนดของแมคโดนัลด์ใช้เวลานาน ในระยะแรก ชิ้นส่วนไก่จะส่งให้กับร้านอาหารในยูเครนแบบทดลองก่อน แล้วหลังจากนั้น ทั้งห่วงโซ่การผลิตจะเปลี่ยนไปใช้เนื้อไก่จากเอ็มเอชพีทั้งหมด

               การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สอดคล้องกับกลยุทธ์ของแมคโดนัลด์ที่จะเพิ่มการซื้อสินค้าจากภายในประเทศ โดยคาดการณ์ว่า แหล่งวัตถุดิบเนื้อไก่ของบริษัทร้อยละ ๖๐ สำหรับร้านอาหารในยูเครนจะมาจากตลาดภายในประเทศ

ฟื้นกลับจากเร้ดโซน

               การกลับไปใช้วัตถุดิบภายในประเทศจะช่วยให้ฟื้นฟูสุขภาพทางการเงินของแมคโดนัลด์ในยูเครนได้ สถานการณ์ทางการเงินของแมคโดนัลด์ในยูเครน เกิดความผันผวนในช่วงปีที่ผ่านมา โดยปี พ.ศ.๒๕๖๕ รายได้ของบริษัทราว ๓ พันล้านบาท และสูญเสียรายได้หายไป ๑.๘ พันล้านบาท ในปี พ.ศ.๒๕๖๖ รายได้กระโดดขึ้นเป็น ๑.๒ หมื่นล้านบาท และกำไรสุทธิเป็น ๙๒๔ ล้านบาท

แมคโดนัลด์ได้ปิดร้านอาหารทั้งหมดในยูเครนภายหลังกองทัพรัสเซียข้ามเขตพรมแดนประเทศยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ หลังจากนั้น กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖ บริษัทค่อยๆเปิดร้านคิดเป็นร้อยละ ๖๐ ในภาคกลาง และตะวันตกของประเทศ และเปิดใหม่อีก ๑๐ ร้าน ตอนนี้ก็มีอยู่ ๑๐๑ ร้านแล้วที่เปิดบริการ แต่ยังชะลอการเปิดในภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศ สำหรับจำนวนลูกค้าตกลงร้อยละ ๓๐ เปรียบเทียบกับก่อนสงคราม               

เอกสารอ้างอิง

Poultry World. 2024. McDonald’s switches to MHP poultry in Ukraine. [Internet]. [Cited 2024 Apr 29]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/mcdonalds-switch-to-mhp-poultry-in-ukraine/

ภาพที่ ๑ แมคโดนัลด์ปิดร้านทุกแห่งในยูเครนภายหลังกองทัพรัสเสียข้ามเขตพรมแดนประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ (แหล่งภาพ Canva)




วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

อังกฤษวิตกสัตว์ปีกปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาจากโปแลนด์

 สถาบันมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร หรือเอฟเอสเอ กังวลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยจากการติดเชื้อ ซัลโมเนลลา ในเนื้อสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก และไข่สัตว์ปีกจากโปแลนด์ โดยเอฟเอสเอสังสัยว่า มาตรการบรรเทาความเสี่ยงที่รัฐบาลโปแลนด์จัดการจะเพียงพอต่อการควบคุมการปนเปื้อนได้หรือไม่   

สถาบันมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร หรือเอฟเอสเอ ได้ร่างมาตรการเตรียมรับมือให้กับอธิบดีกรมอาหาร สัตว์ และพืช และคณะกรรมาธิการยุโรปด้านความปลอดภัยอาหาร เพื่อสอบถามถึงการอัพเพตแผนที่คณะกรรมาธิการยุโรป และโปแลนด์วางไว้สำหรับคลี่คลายปัญหา และจัดการสิ่งที่เป็นภัยคุกคามต่อผู้บริโภคในสหราชอาณาจักร  

จดหมายดังกล่าวได้ส่งไปเมื่อเดินธันวาคม แต่พึ่งเผยแพร่ต่อสาธารณะ ภายหลังการเรียกร้องตามกฏเสรีภาพด้านข้อมูล การระบาดของเชื้อ ซัลโมเนลลา เอนเทอไรทิดิส เชื่อมโยงกับเนื้อสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก และไข่ไก่นำเข้าจากโปแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นต้นมา สหราชอาณาจักรได้รายงานการระบาดทั้งหมด ๖ ครั้ง ผู้ป่วยราว ๒,๖๘๐ ราย และเสียชีวิตหลายราย ขณะนี้ เอฟเอสเอ ได้ส่งเอกสารเพื่อขอให้กำหนดมาตรการบรรเทาปัญหานี้ลง

มาตรการควบคุมภายในโปแลนด์

               ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เอฟเอสเอแห่งสหราชอาณาจักร เข้าใจว่า สถานการณ์ของเชื้อดีขึ้น ภายหลังนำมาตรการควบคุมโรคที่ยกระดับขึ้นภายในโปแลนด์ อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุดพบว่า ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกที่ปนเปื้อนซัลโมเนลลาจากโปแลนด์ได้เพิ่มขึ้นในตลาดสหราชอาณาจักร

               นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕ พบผู้ป่วยจากการติดเชื้อ ๖๖ ราย ดังนั้น เอฟเอสเอจึงกังวลต่อสถานการณ์ว่า มาตรการควบคุมความเสี่ยงในโปแลนด์ยังไม่เพียงพอต่อการควบคุมการปนเปื้อนซัลโมเนลลา

ทบทวนมาตรการควบคุมเชื้อ

               เอฟเอสเอได้ตั้งคำถามเรียกร้องให้มีการทบทวนมาตรการควบคุมเชื้อใหม่ รวมถึง ผลลัพธ์ที่ได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการ และระบบที่นำมาใช้ป้องกันไม่ให้สินค้าปนเปื้อนด้วยซัลโมเนลลาแล้วส่งออกให้กับสหราชอาณาจักร

เนื่องจาก ความเสี่ยงด้านสาธารณสุขต่อสหราชอาณาจักรจากสินค้าโปแลนด์ที่พบการปนเปื้อน เอฟเอสเอ กำลังพิจารณาทางเลือกสำหรับป้องกันสินค้าโปแลนด์ โดยเอฟเอสเอกำลังพิจารณาทางเลือกต่างๆที่จะช่วยป้องกันผู้บริโภคได้ รวมถึง มาตรการด้านการป้องกันความปลอดภัยต่อสินค้าที่ปนเปื้อน โดยพร้อมที่จะประชุมหารือระหว่างเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรึกษาแนวทางที่ดีที่สุดในการจัดการปัญหานี้ให้ได้

เอกสารอ้างอิง

Peys R. 2024. UK reports rise in cases of Salmonella from Poland. [Internet]. [Cited 2024 Apr 12]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/uk-reports-rise-in-cases-of-salmonella-from-poland/

ภาพที่ ๑ เอฟเอสเอต้องการทราบแผนที่คณะกรรมาธิการยุโรป และโปแลนด์ เพื่อควบคุมความเสี่ยงจากซัลโมเนลลาต่อผู้บริโภคในสหราชอาณาจักร (แหล่งภาพ Canva)



วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...