วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2568

FAO วอนเข้มคุมหวัดนก

 การระบาดของโรคไข้หวัดนกเอช ๕ เอ็น ๑ สร้างความเสียหายให้สัตว์ปีกหลายร้อนล้านตัวทั่วโลก แล้วยังแพร่ไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องเข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ การตรวจติดตามและเฝ้าระวังโรค กลไกการตอบสนองต่อโรคอย่างรวดเร็ว และการสื่อสารด้านความเสี่ยงเพื่อสร้างความปลอดภัยต่อภาคการผลิตสัตว์ปีกและปกป้องอาชีพเกษตรกรรมและเศรษฐกิจ

ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารสัตว์โลก ก๊อดฟรีย์ แม็กเวนซี่ แสดงความเห็นถึงการแพร่ระบาดของโรคที่กว้างขวางอย่างคาดไม่ถึง ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงทางอาหารในหลายประเทศ รวมถึง การสูญเสียโอกาสทางโภชนาการ งานและรายได้ ช๊อกต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น และสร้างภาระเพิ่มรายจ่ายให้กับผู้บริโภค

สิ่งท้าทายคือจะป้องกันระบบการผลิตสัตว์ปีกเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของประชากรหลายล้านคนที่ต้องพึ่งพาเนื้อสัตว์และไข่ได้อย่างไร สิ่งท้าทายเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ และการค้าขายที่ปลอดภัย และป้องกันผลกระทบทางสังคม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก   

ความร่วมมือเป็นสิ่งจำเป็น

               องค์การอาหารโลกเน้นย้ำถึงปัญหาระหว่างประเทศที่ต้องอาศัยความร่วมมือของประเทศต่างๆทั่วโลก ตอนนี้องค์การอาหารโลกเป็นแนวหน้าในการต่อสู้กับไวรัสนี้มาเป็นเวลามากกว่า ๒๐ ปี สนับสนุนให้ภาครัฐบาลของประเทศต่างๆตรวจสอบ ป้องกัน และรับมือกับการระบาดของโรค

               เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือให้เกิดความเข้มแข็ง องค์การสุขภาพสัตว์โลก หรือโวอ้า ได้กำหนดกลยุทธ์สิบปีสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกทั่วโลก บทบาทขององค์การอาหารโลกในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดนกเน้นย้ำความสำคัญของระบบสุขภาพสัตว์และสัตวแพทย์ที่เข้มแข็งในทุกประเทศ โซ่เส้นนี้จะเกิดความแข็งแรงเท่าใดขึ้นกับจุดเชื่อมต่อที่อ่อนแอที่สุด โดยการทำงานร่วมกัน จะช่วยลดผลกระทบของโรคไข้หวัดนกและป้องกันทั้งสุขภาพสัตว์และมนุษย์ทั้งในท้องถิ่นและทั่วโลกได้ ในสี่ปีที่ผ่านมา สังเกตการเปลี่ยนแปลงสำคัญของโรคไข้หวัดนกตามภูมิภาค และแพร่สู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เกิดความเสียหายอย่างมากในการเลี้ยงสัตว์ปีก ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารและราคาสินค้าสัตว์ปีกที่สูงขึ้น  จำนวนสัตว์ปีกป่าที่ตายจากโรค ส่งผลร้ายความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างน้อยนกธรรมชาติ ๓๐๐ ชนิดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นมา

               องค์การอาหารโลก เรียกร้องให้ประเทศต่างๆกำหนดมาตรการรับมือโรคไข้หวัดนก เพิ่มการเฝ้าระวังและรายงานโรค เพิ่มประสิทธิภาพห้องปฏิบัติการ พัฒนาและปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ สนับสนุนการจัดการความเสี่ยงโดยระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ พิจารณาการให้วัคซีนเพื่อลดความสี่ยง 

               พิจารณาบทบาทของการให้วัคซีนในการบรรเทาความเสี่ยง เสริมความแข็งแกร่งในการรับมือกับการระบาดของโรค ความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยการเฝ้าระวังโรคและรายงานโรค เพิ่มขีดความสามารถห้องปฏิบัติการ พัฒนาและเตรียมแผนให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจต่อไปได้ ส่งเสริมการจัดการความเสี่ยงผ่านระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

เอกสารอ้างอิง

Brockötter  F. 2025. FAO appeals for stronger action against the spread of H5N1. [Internet]. [Cited 2025 Mar 25]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/changes-proposed-to-poultry-catching-and-handling-in-uk/

ภาพที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคมที่ผ่านมา  ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารสัตว์โลก ก๊อดฟรีย์ แม็กเวนซี่ เรียกร้องให้เข้มมาตรการควบคุมการระบาดเอช ๕ เอ็น ๑ (แหล่งภาพ FAO/Cristiano Minichiello)



วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568

UK แก้กฎหมายการจับสัตว์ปีกสำหรับการขนส่ง

 ร่างกฎหมายปรับเปลี่ยนวิธีการจับและควบคุมสัตว์ปีกในสหราชอาณาจักรสำหรับการขนส่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ดูเหมือนเป็นการเอาใจผู้เลี้ยงสัตว์ปีก

ดีฟราได้เปิดเผยข้อเสนอให้แก้ไขการจับสัตว์ปีกโดยอนุญาตให้จับแม่ไก่ไข่และไก่เนื้อ ตั้งแต่การยกและการอุ้มในเวลาขึ้นและถ่ายลงจากรถขนส่ง เพื่อให้กฎหมายเกิดความชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น ผู้เลี้ยงจะสามารถจับสัตว์ด้วยขาทั้งสองข้างได้ตามหลักเกณฑ์สวัสดิภาพสัตว์

        บทบัญญัติตามดีฟรากำหนดไว้สำหรับสวัสดิภาพสัตว์แม่ไก่ไข่และไก่รุ่น รวมถึง สวัสดิภาพสัตว์ของไก่เนื้อและไก่พันธุ์เนื้อ ทั้งในอังกฤษและสก๊อตแลนด์ ครอบคลุมการจับขาทั้งสองข้างของไก่พร้อมกันเป็นวิธีที่เหมาะสมและยอมรับได้   

ไม่อนุญาตในสหภาพยุโรป

               ข้อเสนอนี้จะทำให้หลักการของสหราชอาณาจักรขัดแย้งกับสหภาพยุโรป โดยกฏหมายสหภาพยุโรปในปัจจุบันตามกฏระเบียบ ๑/๒๐๐๕ ว่าด้วยการป้องกันสัตว์ระหว่างการขนส่ง และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ได้อนุญาตให้ยกและจับสัตว์ขึ้นรถขนส่งด้วยขาทั้งสองข้างได้  

               ดีฟรากล่าวถึงข้อเสนอให้แก้ไขกฎระเบียบ ๑/๒๐๐๕ เพื่ออนุโลมให้การจับไก่รวบสองขาได้ แต่จะไม่ให้จับขาเดียว ซึ่งเป็นการช่วยให้อุตสาหกรรมไข่ไก่และเนื้อไก่ของสหราชอาณาจักร และบริษัทรับบริการจับไก่ เกิดความชัดเจนต่อข้อกำหนดทางกฎหมายที่บังคับใช้กับกิจกรรมการจับสัตว์ปีก และสร้างความเชื่อมั่นว่า ไก่ยังสามารถขนส่งระหว่างโรงเรือน และนำส่งไปยังโรงงานแปรรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันเหตุการณ์ โดยไม่ส่งผลให้มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ต่ำลง

งานวิจัยในอนาคต

               ภาครัฐบาลยังมองหางานวิจัยเกี่ยวกับการเปรียบเทียบผลลัพธ์ของสวัสดิภาพสัตว์ และพารามิเตอร์ต่างๆด้านโลจิสติกจากการจับไก่ด้วยวิธีต่างๆ รวมถึง การจับไก่โดยการอุ้มและการรวบสองขา เมื่อต้องปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อการปรับแก้ไขกฏหมาย หรือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไปในระยะยาวได้ โดยการรวบรวมข้อมูลเพิ่มขึ้นจากระยะเวลาในการจับไก่ด้วยวิธีการต่างๆในระบบโรงเรือนที่แตกต่างกัน    

·      วิธีการจับไก่งวง

·      วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการจับ จำนวนคนในทีมจับไก่และสวัสดิภาพสัตว์

เมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ของรัฐบาลได้รายงานข้อเสนอให้จับไก่ด้วยขา จนกระทั่ง มูลนิธิกฎหมายสัตว์ในสหราชอาณาจักรแย้งว่า กฏหมายปัจจุบันและการจับไก่อย่างขาดมนุษยธรรมในสหราชอาณาจักรทำให้ต้องทบทวนความจำเป็นต่อการลำดับความสำคัญของสวัสดิภาพสัตว์ในสังคมอีกครั้ง  

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2025. Changes proposed to poultry catching and handling in the UK. [Internet]. [Cited 2025 Mar 28]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/changes-proposed-to-poultry-catching-and-handling-in-uk/

ภาพที่ ๑ กฎระเบียบยุโรป ๑/๒๐๐๕ ห้ามการยกหรือจับสัตว์ด้วยขา เนื่องจากเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือบาดเจ็บโดยไม่จำเป็น คำสั่งห้ามนี้ใช้กับสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดรวมถึงสัตว์ปีก ระหว่างการขนส่ง (แหล่งภาพ Ton Kastermans Photography)





FAO วอนเข้มคุมหวัดนก

  การระบาดของโรคไข้หวัดนกเอช ๕ เอ็น ๑ สร้างความเสียหายให้สัตว์ปีกหลายร้อนล้านตัวทั่วโลก แล้วยังแพร่ไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เป็นเรื่อง...