การใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชื้อดื้อยามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในฟาร์ม
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยอื่นๆที่มีบทบาทสำคัญ
และการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูกระหว่างรุ่นการเลี้ยงไก่ก็เป็นวิธีการแพร่กระจายเชื้อที่มีความสำคัญ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ การศึกษารูปแบบการดื้อยาของเชื้อ อี. โคไล
ที่แยกได้จากลูกไก่แรกเกิด และการศึกษาผลกระทบจากการใช้ยาปฏิชีวนะระหว่างการเลี้ยง
วิธีการวิจัยครั้งนี้เก็บตัวอย่างขี้เทาจากไก่พันธุ์
Ross อายุ 1 วัน จำนวน 22 ตัว รวมถึง ระหว่างการเลี้ยงได้ให้ยาแอมมอกซิซิลลินที่อายุ 7, 21 และ 35 วัน ผลการวิจัย พบว่า จำนวนของเชื้อ อี. โคไล
ที่ดื้อยาจำนวนมากจากไก่ที่ให้ยาที่อายุ 1 วัน
และดื้อต่อยากลุ่มเบตาแลคแตมสูงที่สุด ติดตามด้วยควิโนโลน และเตตราไซคลิน
ภายหลังการให้ยาแอมมอกซิซิลลิน พบว่า
เชื้อดื้อต่อยาชนิดนี้สูงที่สุดเปรียบเทียบกับยาชนิดอื่นๆที่มีการทดลอง
โดยมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนของอัตราการดื้อยาระหว่างไก่ทดลองกลุ่มที่ให้ยา
และไม่ให้ยาปฏิชีวนะ โดยมีการดื้อยาปฏิชีวนะหลายกลุ่ม ได้แก่ แอมมอกซิซิลลิน เซฟาโลทิน
สเตรปโตไมซิน กานาไมซิน เจนตาไมซิน คลอแรมเฟนิคอล และเตตราไซคลิน
แต่การดื้อยาซิโปรฟลอกซาซิน และกรดนาลิดิซิกไม่แตกต่างกันระหว่างการให้ยา
และไม่ให้ยาปฏิชีวนะ โดยไม่เกิดการดื้อยาต่ออะมิคาซิน และเซฟทริอะโซน
ผลการวิจัยครั้งนี้บ่งชี้ว่า มีการถ่ายทอดเชื้อดื้อยาจากแม่ไก่สู่ลูกไก่แรกเกิด
และการใช้ยาแอมอกซิลินส่งผลให้เชื้อ อี. โคไล ดื้อยาทั้งแอมมอกซิซิลลินเอง
และดื้อข้ามไปยังยาปฏิชีวนะกลุ่มอื่นๆอีกด้วย
เชื้อดื้อยาถูกคัดเลือกจากการให้ยาต่อต้านเชื้อจุลชีพ
แล้วผ่านเข้าสู่มนุษย์ผ่านสัตว์ ของเสีย หรือมนุษย์คนอื่น โดยเฉพาะ เกษตรกร
หรือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงฆ่า การถ่ายทอดเชื้อดื้อยาระหว่างสัตว์
และสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุม
การถ่ายทอดเชื้อโรคติดต่อสู่คนที่เกิดภาวะดื้อยาต้านจุลชีพมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดเพื่อรักษานโยบายการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
ยาปฏิชีวนะแอมมอกซิซิลลินเป็นยากลุ่มเพนิซิลลินที่ออกฤทธิ์กว้าง
เริ่มนำมาใช้ทางการแพทย์ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1970 และใช้รักษาโรคติดเชื้อทั้งแบคทีเรียแรมลบ
และแกรมบวก ความจริงแล้ว ในสหภาพยุโรป
ได้แนะนำให้ใช้แอมมอกซิซิลลินเป็นยาปฏิชีวนะทางเลือกชนิดแรกสำหรับรักษาโรคติดเชื้อทั่วไป
และระบบทางเดินหายใจแบบอ่อนในผู้ป่วยที่แสดงอาการไม่มาก ดังนั้น
เมื่อทำการศึกษาภาวะการดื้อยาในฟาร์มเลี้ยงสัตว์
จึงมักเป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่นักวิจัยเลือกศึกษา
การเลี้ยงสัตว์ปีกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
และการผลิตเนื้อสัตว์ปีกโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นจาก 69 ล้านตันในปี
ค.ศ. 2000 ไปเป็น 94 ล้านตันในปี 2008
คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 35 เปอร์เซ็นต์
การบริโภคเนื้อสัตว์ปีกคิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตเนื้อสัตว์ทั่วโลก
เนื้อไก่ ติดตามด้วย เนื้อไก่งวงเป็นแหล่งเนื้อสัตว์ปีกที่สำคัญคิดเป็น 87 และ 6.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยามีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นแหล่งสำคัญของเชื้อดื้อยา และมีทั่วไปมากกว่าเชื้อโรคด้วยซ้ำ
การแลกเปลี่ยนยีนส์ดื้อยาเกิดขึ้นระหว่างเชื้อก่อโรค และเชื้อที่ไม่ก่อโรค
แม้กระทั่ง ระหว่างเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก และแกรมลบ โดยเฉพาะ
ชนิดที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ ได้แก่ เอนเทอโรคอคไค และ อี. โคไล
เชื้อดังกล่าวมีบทบาทสำคัญต่อการถ่ายทอดยีนส์ดื้อยา เชื้อ อี. โคไล
สามารถแยกเชื้อได้จากสัตว์ที่มีสุขภาพดี ซากสัตว์ หรือเนื้อสัตว์
เป็นแหล่งสำคัญสำหรับการตรวจติดตามให้เห็นถึงปรากฏการณ์ความกดดันให้เกิดการคัดเลือกเชื้อดื้อยาจากการให้ยาต่อต้านเชื้อจุลชีพในกลุ่มประชากรเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ของสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อการผลิตเป็นอาหาร
และศึกษาการปรากฏของภาวะดื้อต่อยาต่อต้านเชื้อจุลชีพ เชื้อ อี. โคไล
เป็นตัวแทนที่ดีของเชื้อกลุ่มเอนเทอโรแบคเทอเรียซิอี เพื่อตรวจติดตามการอุบัติใหม่
และการเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนของเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาพร้อมกันหลายชนิด
แหล่งข้อมูล
Ana Jiménez-Belenguera, Eva Doménechb, Arantxa Villagrác, Alejandro
Fenollard and Maria Antonia Ferrús. 2016. Antimicrobial resistance of
Escherichia coli isolated in newly-hatched chickens and effect of amoxicillin
treatment during their growth. Avia Path. 45(4): 501-507.
แหล่งที่มาภาพ http://www.warrenphotographic.co.uk/15414-buff-bantam-hen-and-chicks
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น