วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ชีวิต SLOW LIFE คุณภาพเนื้อดี มีปัญหาขาพิการน้อย

การเปรียบเทียบไก่สายพันธุ์โตเร็ว (พันธุ์ COBB) และโตช้า (พันธุ์ S&G Polutry LLC) พบว่า ไก่สายพันธุ์โตเร็วมีการเจริญเติบโต และผลผลิตกล้ามเนื้ออกที่ดีกว่ามาก ขณะที่ ไก่สายพันธุ์โตช้า มีอัตราการตายต่ำ และสุขภาพกระดูกที่ดีกว่า อิทธิพลของสูตรอาหารสัตว์สามารถลดปัญหาจากไก่สายพันธุ์โตเร็วได้ โดยพบว่า การใช้ปรับสูตรอาหารสัตว์ให้มีโภชนะต่ำลงช่วยให้คะแนนท่าเดินดีขึ้น และลดขนาดของกล้ามเนื้ออกได้ด้วย การลดขนาดของกล้ามเนื้ออกก็จะช่วยลดปัญหาคุณภาพซากทั้งพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อสันใน (DPM) และกล้ามเนื้ออกเป็นลายทางสีขาว (WS)  
      ความชุกของโรคกระดูก และข้อต่อในไก่เนื้อกำลังเป็นที่จับตามองจากนักวิชาการทั่วโลก สาเหตุมาจากทั้งโรคติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ ความผิดปรกติที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ ภาวะการตายของเซลล์กระดูกอ่อนจากแบคทีเรีย (Bacterial chondronecrosis, BCO) ความผิดปรกติขากาง และขาโก่ง (Valgus-varus deformities) และ TD ความผิดปรกติดังกล่าวทำให้การเคลื่อนที่ของไก่ผิดปรกติไป โดยการเจริญเติบโตที่เร็วเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมาก โดยมีหลักฐานทางวิชาการแสดงให้เห็นชัดเจนว่า
1. ไก่ที่เจริญเติบโตช้าพบอุบัติการณ์ของโรค BCO ได้ต่ำกว่า
2. การเลี้ยงไก่ให้โตช้าลงในช่วง 15-20 วันแรกของชีวิต ช่วยลดอุบัติการณ์ของความผิดปรกติขากาง และขาโก่ง และ TD ได้
3. ไก่สายพันธุ์โตช้า จะมีปัญหาความผิดปรกติขากาง และขาโก่งน้อยกว่าสายพันธุ์โตเร็ว
      การเปรียบเทียบจีโนไทป์ของไก่สายพันธุ์โตเร็วมีคะแนนท่าเดิน (Gait scores) ที่สูงกว่าสายพันธุ์โตช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จีโนไทป์ หรือสายพันธุ์ของไก่ มีอิทธิพลต่อคะแนนท่าเดินได้จากทั้งอัตราการเจริญเติบโต และโครงสร้างร่างกายของไก่ เนื่องจาก ขนาดกล้ามเนื้ออกที่มีขนาดใหญ่ของไก่สายพันธุ์โตเร็วทำให้ศูนย์ถ่วงเคลื่อนไปด้านหน้า ส่งผลให้รูปแบบท่าเดินไม่มีประสิทธิภาพ การเลี้ยงไก่แบบนอกโรงเรือน (Outdoor) ช่วยให้คะแนนท่าเดินดีขึ้นอย่างมาก เนื่องจาก เปิดโอกาสให้ไก่ได้ออกกำลังกาย
               นอกจากนั้น อิทธิพลของสูตรอาหารสัตว์ก็ช่วยบรรเทาปัญหาจากไก่สายพันธุ์โตเร็วได้ โดยพบว่า การใช้ปรับสูตรอาหารสัตว์ให้มีโภชนะต่ำลงช่วยให้คะแนนท่าเดินดีขึ้น และลดขนาดของกล้ามเนื้ออกได้ด้วย การลดขนาดของกล้ามเนื้ออกก็จะช่วยลดปัญหาคุณภาพซากทั้งพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อสันใน (Deep pectoral myopathy) และกล้ามเนื้อสันในเป็นลายทางสีขาว (White striping/Wooden breast meat)
เอกสารอ้างอิง
Fanatico et al. 2008. Performance, livability and carcass yield of slow and fast growing chicken genotypes fed low-nutrient or standard diets and raised indoors or with outdoor access. Poul Sci. 87: 1012-1021






















แหล่งที่มาภาพ  http://www.al.com/news/index.ssf/2015/03/post_47.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...