วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทเรียนเจ็บๆ...ใช้ข้าวสาลีแทนข้าวโพดในอาหารไก่

เมื่อปี ค.ศ. 2009 ผู้ประกอบการผลิตไก่เนื้อรายหนึ่งประสบปัญหาความเสียหายอย่างร้ายแรงภายหลังการเปลี่ยนวัตถุดิบอาหารสัตว์จากข้าวโพดเป็นข้าวสาลี ไก่เนื้อปฏิเสธการกินอาหารไม่ยอมกินเหมือนที่ผ่านมา อัตราการเจริญเติบโต และ FCR แย่ลงอย่างมาก ตอนที่นักโภชนาการคำนวณสูตรอาหารก้อไม่เห็นอะไรผิดนี่ ค่าโภชนะทุกอย่างก็สมดุลสมบูรณ์ดีเลิศประเสริฐศรี แต่ไก่ไม่ได้สนุกไปด้วยนะครับ 
               นักโภชนาการโทรศัพท์ทางไกลด่วนจี๋สอบถามอาจารย์ที่ปรึกษา Ioannis Mavromichalis อาจารย์ที่ปรึกษาประสบการณ์สูงขอตัวอย่างข้าวสาลีให้ส่งมาทางไปรษณีย์ 2 ตัวอย่างให้ห้องปฏิบัติการเคมี เพื่อวิเคราะห์ค่าโภชนะ แถมด้วยสารพิษครบแผง และวิเคราะห์ใยอาหาร
               ขณะที่ รอผลการวิเคราะห์ อาจารย์ที่ปรึกษาสั่งให้ปรับสูตรอาหาร 3 ประการ ประการที่ 1 ให้ปรับระดับโปรตีน 2 ระดมคอคเทลเอนไซม์รวมพลังบูรณาการ ประการสุดท้าย 3 เพิ่ม Mycotoxin binder ทันที เพียงคำสั่ง 3 ข้อเท่านั้น ไก่ในฟาร์มก็มีอาการดีขึ้นทันตาเห็น แต่ผลการเลี้ยงก็ยังไม่ดีเท่าก่อนหน้านี้ ผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ แสดงให้เห็นว่า ว่า คุณค่าทางโภชนะของข้าวสาลีก็เป็นไปตามสูตรที่คำนวณไว้นี้ อาจารย์ก็เลยคิดว่า ไม่น่าเกี่ยวข้องกับกรดอะมิโนมากเกิน ชุดข้อมูลสารพิษจากเชื้อรา พบว่า เราเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ผิด จึงตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ Mycotoxin neutralization agent ที่เหมาะสมกว่า สุดท้ายผลการวิเคราะห์ใยอาหารอยู่ในระดับปานกลาง อาจารย์ก็เลยเปลี่ยนมาใช้เอนไซม์ที่จำเพาะให้ใช้เฉพาะต่อข้าวสาลี ทันใดนั้น ทันใดนั้น ไก่ก็แจ่มใส เจิดจ้าขึ้นมาทันใด ต้นทุนอาหารพลิกกลับไปยังระดับที่ยอมรับได้ กลายเป็นบทเรียนที่อาจารย์ต้องจดจำไปตลอดชีวิต ไม่ให้ถือโอกาสเปลี่ยนแปลงสูตรอาหารสัตว์ โดยละเลยหลงลืมสิ่งที่ไม่ใช่สารโภชนะ ใส่เครื่องหมายตกใจด้วย
หมายเหตุ            

เอกสารอ้างอิง    Ioannis Mavromichalis (21/6/16) 

















แหล่งภาพ http://prayod.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...