นักวิจัยเดนมาร์กเผยเชื้อดื้อยาสายพันธุ์ใหม่
เชื้อ สตาไฟโลคอคคัส ออเรียส ดื้อยาเมธิซิลลิน (MRSA) อาจแพร่สู่มนุษย์ผ่านการสัมผัส
หรือบริโภคเนื้อสัตว์ปีกที่ปนเปื้อนเชื้อดื้อยา
กลุ่มนักวิจัยเดนมาร์กที่สถาบัน Miken Institute SPH และ Statens Serum Institut ในโคเปนเฮเกน
ประเทศเดนมาร์ก และสถาบัน Translational Genomics Research Institute ใน Flagstaff สำรวจวิวัฒนาการ
และระบาดวิทยาของเชื้อแบคทีเรียดื้อยา MRSA สายพันธุ์ใหม่จากการผลิตปศุสัตว์
โดยพบว่า เชื้อดื้อยาเหล่านี้ เพิ่มจำนวน และติดต่อสู่มนุษย์โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์
นักวิจัยตีพิมพ์ผลการวิจัยใน Journal Clinical Infectious Diseases อ้างว่า สัตว์ปีก และเนื้อสัตว์ปีก อาจเป็นแหล่งของเชื้อ MRSA ติดต่อสู่มนุษย์ได้ ประชาชนที่อาศัยในเมือง
อาจได้รับเชื้อมาจากเนื้อสัตว์ปีกที่มีการปนเปื้อนเชื้อดื้อยา
เชื้อ MRSA
เชื้อดื้อยาสายพันธุ์ใหม่ เชื้อ สตาไฟโลคอคคัส ออเรียส ดื้อยาเมธิซิลลิน
(MRSA) เป็นเชื้อแบคทีเรียสตาฟที่ดื้อยาปฏิชีวนะหลายชนิด
ในสถาบันด้านสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล และสถานพยาบาล อาจประสบปัญหาที่ร้ายแรง เช่น
การติดเชื้อตามบาดแผลผ่าตัด และกระแสเลือด และปอดอักเสบ จนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
การเพิ่มจำนวนเชื้อ MRSA โดยไม่เกิดการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่สามารถสังเกตเห็นอาการป่วย
เชื้อสตาฟเป็นเชื้อแบคทีเรียตามจมูกที่พบได้ตามธรรมชาติราว ๓๐
เปอร์เซ็นต์ของมนุษย์ทั้งหมด
ปัจจุบัน มีเชื้อ MRSA หลากหลายสายพันธุ์ นักวิจัย ความจริงแล้ว เชื้อเหล่านี้อาจมาจากโรงพยาบาล
สถานประกอบการ ชุมชน หรือฟาร์มปศุสัตว์ สายพันธุ์นี้ได้ปรับตัวเข้ากับทั้งมนุษย์
และสัตว์ปีก เชื้อ MRSA ในบางประเทศพบได้ในสัตว์ปีก
และสัตว์ที่ใช้ผลิตเป็นอาหาร เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ สัตวแพทย์
และคนงานที่ปฏิบัติโดยตรงกับสัตว์เหล่านี้จึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ MRSA
ได้ เป็นข้อเท็จจริงที่ทราบกันมานานหลายปีแล้ว อย่างไรก็ตาม
ผลการศึกษาที่สถาบัน Statens Serum Institut แสดงให้เห็นว่า
ผู้ที่ไม่ได้สัมผัสสัตว์ปีก หรือปศุสัตว์ใดๆก็สามารถได้รับเชื้อ
และกลายเป็นแหล่งเพิ่มจำนวนเชื้อ และติดเชื้อด้วยเชื้อ MRSA สายพันธุ์ใหม่นี้ได้
ดังนั้น ผลการวิจัยนี้จึงได้เตือนให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบดังกล่าวนี้
โดยเฉพาะการสัมผัส
และบริโภคเนื้อสัตว์ปีกที่มีการปนเปื้อนเชื้อเป็นแหล่งสำคัญของการติดเชื้อนี้ได้
ขณะนี้ เชื้อ MRSA สายพันธุ์ใหม่นี้ได้ปรับตัวต่อทั้งร่างกายมนุษย์
และสัตว์ปีก และสามารถถ่ายทอดจากอาหารสู่ผู้บริโภคได้ เชื้อ MRSA ยังคงมีวิวัฒนาการต่อไปเพื่อแพร่กระจายจากสัตว์สู่มนุษย์
การวิเคราะห์ทางพันธุกรรม
นักวิจัยได้ตรวจสอบฐานข้อมูลเชื้อ MRSA ที่ตรวจพบในประเทศเดนมาร์กตั้งแต่ปี
ค.ศ. ๑๙๙๙ ถึง ๒๐๑๕ โดยใช้การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของเชื้อ MRSA เปรียบเทียบกับเชื้อที่พบในมนุษย์ ปศุสัตว์
และผลิตภัณฑ์อาหารจากประเทศต่างๆในยุโรป เพื่อการวิเคราะห์เปรียบเทียบจาก ๑๑๐
ตัวอย่างของห้องปฏิบัติการต่างๆกันทั่วยุโรป เพื่อตรวจคัดกรองจีโนมสำหรับยีนบางยีน
พบว่า ชาวเดนมาร์กที่อาศัยในเขตเมือง จำนวน ๑๐ คน เกษตรกรผู้เลี้ยงมิงก์ ๒ ราย
ที่ตรวจพบเชื้อ หรืออาจเริ่มมีการติดเชื้อด้วยเชื้อ MRSA บางชนิด
ในจำนวน ๑๐ คนนี้มีการติดเชื้อ MRSA สายพันธุ์ใหม่ที่พบในสัตว์ปีก
ตามประวัติไม่มีผู้ใดทำงานในฟาร์ม หรือมีโอกาสสัมผัสกับสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์ม
กรณีดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจมาก เนื่องจาก
จีโนไทป์นี้ไม่เคยตรวจพบในปศุสัตว์เดนมาร์ก และการสอบสวนทางระบาดวิทยา
แสดงให้เห็นว่า ไม่พบผู้ใดใน ๑๐ คนนี้มีความเกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงปศุสัตว์
และเชื้อ MRSA จากสัตว์ปีกสายพันธุ์ดังกล่าวไม่เคยพบในปศุสัตว์เดนมาร์กมาก่อนเลย
อาจต้องมีการสอบย้อนกลับไปยังเนื้อสัตว์ปีกนำเข้าจากประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรป
การแพร่กระจายจากคนสู่คน
เชื้อ MRSA สายพันธุ์ที่ตรวจพบนี้
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสายพันธุ์ที่พบในสัตว์ปีกที่เคยมีรายงานในประเทศต่างๆ
แต่ยังไม่เคยมีการตรวจพบในปศุสัตว์เดนมาร์กมาก่อน เชื่อว่า การแพร่กระจายเชื้อ MRSA
อาจมากจากอาหาร หรือการถ่ายทอดเชื้อจากคนสู่คน
หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปรากฏของเชื้อ MRSA ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในประเทศสมาชิกภายในสหภาพยุโรปอื่นๆ
แต่มีการนำเข้ามาจำหน่ายในเดนมาร์ก ทำให้เชื่อได้ว่า
ชาวเดนมาร์กมีโอกาสได้รับเชื้อโรคเหล่านี้จากการบริโภค หรือการประกอบอาหารที่มีการปนเปื้อนได้
รายงานก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่า การแพร่กระจายเชื้อ MRSA ที่พบในผู้ปฏิบัติงานด้านปศุสัตว์ไปยังสมาชิกภายในครอบครัว
ขณะที่ โรงพยาบาล และชุมชน การถ่ายทอดเชื้อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งก็พบได้บ่อย
โดยทั่วไปมาจากการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด
เชื้อนี้ไม่เคยพบในปศุสัตว์เดนมาร์กมากก่อน และพบว่า
เกิดการแพร่กระจายของเชื้อเหล่านี้มาเป็นเวลาหลายปีแล้วทำให้การถ่ายทอดเชื้อด้วยวิธีข้างต้นเป็นไปได้น้อย
ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า
การถ่ายทอดเชื้อจากคนสู่คนมีโอกาสน้อยที่จะเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อในเมือง
เนื่องจาก คนเหล่านี้ไม่เคยมีโอกาสสัมผัสกับผู้ปฏิบัติงานด้านปศุสัตว์
หรือมีประวัติเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีเชื้อ MRSA ระบาดประจำถิ่นในปศุสัตว์
อนาคตของเชื้อ MRSA ไม่อาจคาดเดาได้
น่าสนใจว่า คณะผู้วิจัยหลายกลุ่มได้แสดงให้เห็นว่า เชื้อ MRSA ในปศุสัตว์เป็นเชื้อที่ปรับตัวได้ง่ายมาก
เชื้อเหล่านี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ และสัตว์ได้หลายชนิด
ทำให้อนาคตของเชื้อ MRSA ในปศุสัตว์ไม่สามารถคาดเดาได้
เป็นสาเหตุอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่องระหว่างมนุษย์
และสัตว์ แต่จนถึงปัจจุบัน ยังมีการเฝ้าระวังโรคค่อนข้างน้อยเกินไปที่จะสามารถบอกได้ว่า
ปศุสัตว์มีการปนเปื้อนมากน้อยเพียงใด
มีสัตว์จำนวนน้อยมากที่มีการปนเปื้อนเชื้อแล้วแสดงอาการป่วย
และยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่สำหรับตัวอย่างที่จะมีโอกาสตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรม
การตรวจหาสายพันธุ์ย่อยต้องอาศัยการเฝ้าระวัง และการทดสอบอย่างเข้มข้น
ในสัตว์ปีกตรวจพบสายพันธุ์อื่นๆด้วย แต่ไม่ใช่ชนิดที่พบได้บ่อย อย่างไรก็ตาม
สายพันธุ์ลูกผสมบางสายพันธุ์มีการตรวจพบในประเทศยุโรปหลายประเทศ
ในทางตรงกันข้ามกับเดนมาร์ก เชื้อ MRSA แยกได้จากสุกร โค
สัตว์ปีก และตลาดค้าปลีกในอีกหลายประเทศของยุโรป รวมถึง ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี
และเนเธอร์แลนด์ เชื้อ MRSA จะไม่พบในเมืองใหญ่ เช่น
อัมสเตอร์ดัม หรือปารีส แต่พบได้ตามชนบท แสดงให้เห็นว่า
อาหารมีโอกาสเป็นแหล่งการปนเปื้อนได้น้อย ความเสี่ยงจะยิ่งน้อยลงอย่างมาก
หรือเกือบหมดไปเลย หากประชาชนใส่ใจต่อสุขอนามัยในครัว
เราสามารถลดความเสี่ยงลงได้ด้วยสุขอนามัยพื้นฐานในครัว ไม่สัมผัสจมูก
เมื่อไปจับกับเนื้อสัตว์ ไม่หั่นผักด้วยมีดอันเดียวกับที่ใช้หั่นเนื้อดิบ
ปรุงอาหารให้สุกอย่างทั่วถึง
ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ
แม้ว่า
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อจะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อ MRSA ไปยังมนุษย์ได้น้อย
นักวิจัยเดนมาร์กก็ได้เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ที่ใช้ผลิตเป็นอาหาร
การใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับการป้องกันนำไปสู่ปัญหาเชื้อดื้อยา ซูเปอร์บัก เช่น เชื้อ MRSA
สายพันธุ์ใหม่ นักวิจัย แนะนำให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ยาปฏิชีวนะให้น้อยที่สุดตามความจำเป็น
และใช้ต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น ก็จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยาได้
ส่วนใหญ่เรามักคิดถึงผู้ป่วย ๑๐
รายในระยะเวลา ๑๐ ปี สายพันธุ์เหล่านี้ไม่ปรกติอย่างมาก
แต่สามารถพิสูจน์แนวความคิดที่ว่า เราจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังโรคที่ดีทั้งสัตว์
อาหาร และมนุษย์ ผู้ตรวจสอบอาหารไม่ค่อยจะตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อ MRSA ในสัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์อาหาร แต่มุ่งสนใจแต่เชื้อ ซัลโมเนลลา
และเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษอื่นๆ
หากยังไม่สามารถควบคุมยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ได้ก็จะเกิดเชื้อ MRSA สายพันธุ์ใหม่ในปศุสัตว์ ดังนั้น หน่วยงานราชการ
และผู้ประกอบการควรทำงานร่วมกัน ขณะนี้ เชื้อ MRSA ยังไม่มีนัยยะทางการเมือง
และประเทศต่างๆที่อยู่ใกล้กันควรร่วมมือกันจัดการเชื้อดื้อยา หากเราไม่สามารถควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะไว้ได้ก็จะปรากฏเชื้อ
MRSA สายพันธุ์ใหม่ขึ้นในปศุสัตว์อุบัติขึ้น
และเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อสุขภาพมนุษย์ร้ายแรงกว่าที่เราเคยเผชิญหน้ามาก่อน
พื้นฐานยาปฏิชีวนะ
นับตั้งแต่ยาปฏิชีวนะเริ่มต้นใช้กันตั้งแต่ทศวรรษ
ค.ศ. ๑๙๔๐ เป็นต้นมา เชื้อแบคทีเรียก็เริ่มดื้อยา
กลไกของยาปฏิชีวนะที่เกิดการดื้อยาเป็นไปตามธรรมชาติ แพทย์ฆ่าเชื้อก่อโรคที่มีความไวรับต่อยา
และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เชื้อก่อโรคที่ไม่ดื้อยาให้เจริญเติบโต กลไกเหล่านี้ไม่เคยมีปัญหมามาเป็นเวลานาน
เนื่องจาก ยาปฏิชีวนะอื่นๆอีกหลายตัวกลับไปได้ผลดี อย่างไรก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป
และผิดวิธี กระตุ้นให้เชื้อก่อโรคมีวิวัฒนาการที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม จนกระทั่ง มนุษย์กำลังไม่มีทางเลือกสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียอีกต่อไป
โดยเฉพาะ การสถาปนาของเชื้อแบคทีเรียต้านยาพร้อมกันหลายชนิดที่เรียกว่า ซูเปอร์บัก
กลายเป็นภัยคุกคามที่แท้จริง ประชาชนมากกว่า ๕๐,๐๐๐ คนต่อปีต้องเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาที่ในอดีตเคยรักษาได้ไม่ยาก
แหล่งของเชื้อดื้อยาอาจมาจากหลายทาง
ทั้งจากธรรมชาติ ไปสู่มนุษย์ ทุกวิถีทางมุ่งไปยังสัตวบาลผู้เลี้ยงสัตว์
และการบำบัดน้ำที่ไม่ดี การลดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเป็นภารกิจสำหรับทุกภาคส่วนที่ต้องทำหน้าที่ของตนเอง
องค์การอนามัยโลก สรุปว่า การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์เป็นสาเหตุสำคัญของการอุบัติใหม่
และการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา ดังนั้น การใช้ยาปฏิชีวนะ
เป็นสารเร่งการเจริญเติบโตในอาหารสัตว์ควรต้องมีการควบคุม สำหรับ OIE ได้เพิ่มเติมกฏระเบียบด้านสุขภาพสัตว์เลี้ยงบนบก
เป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิก สร้างสรรค์ และร่วมกันวางแผนการเฝ้าระวัง
และตรวจติดตามเชื้อดื้อยาระดับชาติ และได้ออกข้อแนะนำเพื่อสร้างความมั่นใจต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง
และรอบคอบ รวมถึง คำแนะนำอื่นๆ ที่ช่วยจัดการความเสี่ยง
และประเมินความเสี่ยงของเชื้อดื้อยา
เอกสารอ้างอิง
Teuling, M. 2016. Farmers should do their utmost to
ensure good hygiene. World Poultry 2016-9.
ภาพที่ ๑ เชื้อ เอสเชอริเชีย
โคไล ซูโดโมนาส แอโรจิโนซา ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส เคลบเซลลา สแตฟิโลคอคคัส
ออเรียส และเชื้อเอ็มอาร์เอสเอ เป็นเชื้อซูเปอร์บัก (แหล่งภาพ:
Kateryna Kon)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น