มูลค่าของเหลือทิ้งจากเนื้อสัตว์ปีกในสหราชอาณาจักรในแต่ละปีนับว่าสูงกว่าอาหารเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆในสิบลำดับแรก
ผลการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับของเสียจากการบริโภคอาหารที่ระดับการผลิตปฐมภูมิในสหราชอาณาจักร
พบว่า เนื้อสัตว์ปีกติดเป็นลำดับที่ ๖ ของประเภทคอาหารทั้งโดยปริมาณ และโดยคุณค่า
อ้างอิงจากหน่วยงานผู้ให้การรับรองการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World
Responsibility Accredited Production, WRAP) ในสหราชอาณาจักรรายงานว่า
เนื้อสัตว์ปีกราว ๖๖,๐๐๐ ตัน สูญเสียที่ฟาร์มในแต่ละปี คิดเป็นร้อยละ ๓.๕
ของการผลิต มีมูลค่าราว ๓.๒ พันล้านบาท หน่วยงาน WRAP อ้างว่า
ข้อมูลผลการศึกษานี้เป็นที่น่าเชื่อถือได้มาก เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ
เนื้อสัตว์ปีกเป็นประเภทอาหารที่มีมูลค่าสูงที่สุด
และเป็นเนื้อสัตว์ชนิดเดียวที่อยู่ในสิบลำดับแรก
ผลิตภัณฑ์ที่สูงที่สุดคือการผลิตหัวบีทสำหรับผลิตน้ำตาล เกิดของเสียราว ๓๔๗,๐๐๐
ตันต่อปี หรือร้อยละ ๓.๙ ของการผลิต
การผลิตอาหารตั้งแต่การเก็บเกี่ยว หรือสัตว์ที่กำลังส่งโรงฆ่า รวมถึงส่วนเกิน
และของเสียจากกระบวนการทั้งการคัดเกรด การบรรจุ การล้าง
และการทิ้งสินค้าของผู้บริโภค ผลการศึกษาครั้งนี้ คาดการณ์ว่า ส่วนเกิน
และของเสียจากการผลิตปฐมภูมิรวมแล้วประมาณ ๓.๖ ล้านตันต่อปี หรือร้อยละ ๗.๒
ของการผลิต มีมูลค่าทางการตลาดราว ๔.๕ หมื่นล้านบาท
เมื่อนำของเสีย
และผลิตภัณฑ์ส่วนเกินมาจำแนกแล้ว พบว่า ของเสียมีปริมาณรวมแล้วราว ๑.๖ ล้านตัน
หรือร้อยละ ๓ ของการผลิตโดยมีมูลค่าราว ๒.๓ ล้านบาท
ส่วนเกินจากการผลิตประกอบด้วยสินค้าที่ไม่ได้จำหน่ายให้ผู้บริโภคโดยตั้งใจ
แต่ใช้ผลิตเป็นอาหารปศุสัตว์แทน หรือบริจาค หรือใช้ผลิตเป็นวัตถุดิบอื่นๆ เช่น
สารให้สี ปริมาณผลิตภัณฑ์ส่วนเกินรวมแล้วราว ๒ ล้านตันต่อปี หรือร้อยละ ๔ โดยมีมูลค่าทางการตลาดมากกว่า ๑.๘ หมื่นล้านบาท
ยากจะประเมิน
การประเมินของเสียในการผลิตขั้นปฐมภูมิไม่ใช่เรื่องง่าย
ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของธรรมชาติ
แต่ยังต้องคาดเดาความต้องการผู้บริโภค และเวลาการเก็บเกี่ยว
รายงานครั้งนี้เชื่อว่าเป็นผลการศึกษาที่แม่นยำที่สุดสำหรับการประเมินของเสีย
และส่วนเกินจากการผลิตทางการเกษตรกรรม
และสำรวจหาสิ่งจำเป็นที่ต้องลำดับสำคัญเพื่อการจัดการที่ดีที่สุด
สหภาพเกษตรกรแห่งชาติ (National Farmers Union, NFU) ชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการ
และเจ้าของฟาร์มลำบากอย่างยิ่งที่จะมั่นใจว่าสามารถลดของเสียให้น้อยที่สุดได้
อย่งไรก็ตาม NFU ได้ร่วมมือกับผู้ค้าปลีก
และผู้ผลิตอาหารให้คำมั่นว่าจะลดของเสียจากอาหารลงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๓
หรืออีกสิบเอ็ดปีข้างหน้า
ขณะที่ของเสียที่ระดับฟาร์มในสหราชอาณาจักรอาจสร้างความกังวล
แต่สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญต่อไปคือ
ความสูญเสียที่เกิดขึ้นภายหลังสินค้าถูกซื้อไปแล้ว
ครัวเรือนในสหราชอาณาจักรสร้างของเสียราว ๗.๑ ล้านตันต่อปี ขณะที่ ผู้ประกอบการผลิตอาหารเกิดของเสียเพียง
๑.๙ ล้านตันต่อปีเท่านั้น
หน่วยงาน WRAP เน้นย้ำว่า
หากเปรียบเปรยของเสียจากอาหารของโลกเป็นประเทศหนึ่ง ก็จะเป็นสาเหตุสำคัญลำดับ ๓
ของการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกตามหลังประเทศสหรัฐฯ และจีน ดังนั้น
ของเสียจากอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คุณธรรม
และความน่าอับอายทางการเงิน
เอกสารอ้างอิง
Clement M. 2019. By
value, poultry meat tops UK most wasted foods table. [Internet]. [Cited 2019 Jul
29]. Available from: https://www.wattagnet.com/blogs/23-poultry-around-the-world/post/38338-by-value-poultry-meat-tops-uk-most-wasted-foods-table?utm_source=KnowledgeMarketing&utm_medium=email&utm_content=Poultry%20Update&utm_campaign=19_07_30_Poultry%20Update_Tuesday&eid=423230450&bid=2493011
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น