โรคระบบทางเดินอาหารในสัตว์ปีก เช่น โรคบิด และลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย เป็นสิ่งท้าทายสำหรับกาผลิตเนื้อสัตว์ปีก และไข่อย่างยั่งยืนทั่วโลก ล่าสุด วิทยาลัยสัตวแพทย์พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย โดยอาศัยเวกเตอร์เป็นเชื้อบิดไส้ตัน
การผลิตเนื้อสัตว์ปีกที่เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าตัวภายในสองทศวรรษ
โดยเฉพาะ ประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง กระตุ้นให้เกิดการเลี้ยงฝูงสัตว์ปีกแบบเข้มข้น
และสัตว์ปีกหลังบ้านที่มีความไวรับต่อการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต
โรคระบบทางเดินอาหารได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจาก ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ สวัสดิภาพสัตว์
และมีโอกาสเกิดโรคติดต่อสู่คน
การอุบัติใหม่ของโรค
การใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารสำหรับควบคุมโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตายจากเชื้อ
คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก และสร้างสปอร์
โรคนี้กลายเป็นโรคอุบัติใหม่ในภาคการผลิตสัตว์ปีกสหรัฐฯ
ภายหลังการแบนยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์
วิทยาลัยสัตวแพทย์
รายงาน การเพิ่มขึ้นของโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตายจาก ๖.๙ หมื่นบาทในปี พ.ศ.๒๕๔๓
เป็น ๒ แสนล้านบาทในปี พ.ศ. ๒๕๕๘
ปัจจัยโน้มน้ำที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของระบบทางเดินอาหาร
เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เชื้อ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์
ให้เจริญเติบโต และก่อโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย ปัจจัยเหล่านี้รวมถึง
การติดเชื้อร่วมกับเชื้อโรคอื่นๆ เช่น บิด ความเครียด การกดภูมิคุ้มกัน
และโภชนาการ
วิทยาลัยสัตวแพทย์นำโดย
เวอร์จิเนีย มารูแกน-เฮอร์นาเดส ตั้งสมมติฐานว่า การป้องกันปัจจัยโน้มนำสำคัญ เช่น
บิดไส้ตัน ร่วมกับการให้วัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับควบคุมโรคในไก่
กลยุทธ์ใหม่
นักวิจัยสร้างวัคซีนต้นแบบ
๒ ชนิด สำหรับป้องกันเชื้อ ค. เพอร์ฟริงเจนส์ โดยการการดัดแปลงพันธุกรรมการถ่ายฝากยีนไปยังเชื้อบิดไส้ตัน
เชื้อต้นแบบที่เป็นพาหะของเชื้อบิดสามารถผลิตแอนติเจนต่อเชื้อ ค.
เพอร์ฟริงเจนส์
โดยกลไกการเพิ่มจำนวนเชื้อไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์เมื่อให้ด้วยทางปาก
การตอบสนองทางภูมิคุ้มก้นต่อเชื้อ
ค. เพอร์ฟริงเจนส์ เมื่อให้วัคซีนต้นแบบทางปาก
ประสิทธิภาพของวัคซีนต้นแบบทัดเทียมกับระบบการ expression ด้วยวิธีอื่นๆ
รวมถึง วิธีการให้ด้วยการฉีดอีกด้วย การให้วัคซีนต้นแบบทางปาก เชื่อว่า
ช่วยให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกนดีขึ้นกว่าการฉีด เนื่องจาก
เป็นการมุ่งเป้าหมายไปที่ลำไส้โดยตรง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เชื้อ ค.
เพอร์ฟริงเจนส์ ก่อให้เกิดโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตายตามธรรมชาติ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ดีขึ้น
และเป็นวิธีการให้ในฝูงสัตว์จำนวนมากได้ง่ายและสะดวก
สำหรับพันธมิตรของโครงการอย่าง
เอ็มเอสดี แอนนิมัลเฮลธ์ ผู้ผลิตวัคซีนปีกรายใหญ่ที่สุดในโลก
ได้ประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนต้นแบบในสัตว์ทดลองด้วยการป้อนเชื้อพิษทับ ข้อมูลจากการทดลองหลายครั้งกำลังออกมาและเปิดเผยให้เห็นถึงโอกาสของวัคซีนสัตว์ปีกชนิดใหม่ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์จำนวนมากพร้อมกัน
โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาวัคซีนโดยอาศัยเชื้อบิด
เพื่อป้องกันไก่จากโรคอื่นๆ โดยนำร่องวัคซีนต้นแบบจากโรคอุบัติซ้ำอย่างลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย
เชื่อว่าในอนาคตจะหันไปพัฒนาวัคซีนแบบเดียวกันสำหรับป้องกันเชื้อที่ติดต่อสู่มนุษย์
ซึ่งมีความสำคัญทั้งในประเทศรายได้สูง ปานกลาง และต่ำ เช่น แคมไพโลแบคเตอร์
และ ซัลโมเนลลา ต่อไปได้
เอกสารอ้างอิง
Mcdougal T. 2023. Development of poultry vaccine
platform. [Internet]. [Cited 2023 Jul
7]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/development-of-poultry-vaccine-platform/
ภาพที่
๑
แพลตฟอร์มใหม่วัคซีนสัตว์ปีก (แหล่งภาพ Сергей)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น