สมาชิกของระบบประกันคุณภาพฟาร์มสัตว์ปีก รายสำคัญที่สุดในอังกฤษเร้ดแทร็กเตอร์ เปลี่ยนแปลงแผนการตรวจประเมินอย่างน้อย ๒ ครั้งในเวลา ๒๔ เดือน
อย่างน้อยจะมีการตรวจประเมินที่ฟาร์ม
๑ ครั้งโดยระบบเร้ดแทร็กเตอร์
เพื่อปรับวิธีการตรวจประเมินสัตว์ปีกให้สอดคล้องกับระบบความปลอดภัยระดับสูงในอุตสาหกรรม
เลน การ์ดเนอร์ ประธานภาคสัตว์ปีกของเร้ดแทร็กเตอร์
เน้นย้ำเหตุผลสำหรับการเปลี่ยนแปลงความถี่ในการตรวจประเมิน
ตามจดหมายถึงสมาชิกมีรายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงความเห็นใจต่อผู้ผลิตสัตว์ปีกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ต้องเผชิญกับปัญหาโรคโควิด ๑๙ โรคไข้หวัดนก เบร็กซิต และภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจาก
ต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น เร้ดแทร็กเตอร์คำนึงถึงคำมั่นสัญญาต่อผู้บริโภค
ในสถานการณ์ที่โรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงที่เกิดการระบาดอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้น
ภาคสัตว์ปีกเคลื่อนไหวไปในทางที่ถูกต้องแล้วที่ยกระดับการจัดการความเสี่ยงไว้ในระดับที่สูงโดยพึ่งพาระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
เมื่อระบบประกันคุณภาพที่ฟาร์ม
ได้วิวัฒนาการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
จึงได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในอังกฤษ
เร้ดแทร็กเตอร์ให้คำสัญญากับผู้บริโภคที่จะให้ระบบการตรวจประเมินเพื่อตรวจสอบฟาร์มเป็นประจำทุกปี
ปัจจุบัน สถานการณ์โรคโควิดได้คลี่คลายไปแล้ว เร้ดแทร็กเตอร์จึงกลับไปทำงานได้เหมือนกับปีที่ผ่านมา
ร่วมกับเพื่อสมาชิกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตสัตว์ปีกในอังกฤษเพื่อพัฒนาระบบการตรวจประเมินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
โดยเฉพาะ ตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
เร้ดแทร็กเตอร์ได้พบวิธีที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับรอบการตรวจประเมิน
เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับสมาชิก
จากการทบทวนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องว่าวิธีการที่ดีที่สุดที่จะทวนสอบความสอดคล้องต่อมาตรฐานของเร้ดแทร็กเตอร์
เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และเกิดประสิทธิภาพ
เร้ดแทร็กเตอร์จะตรวจติดตามความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาสองปีต่อไปนี้
ควบคู่ไปกับการมองหาวิธีการพัฒนาระบบของเร้ดแทร็กเตอร์โดยใช้ข้อมูล เทคโนโลยี และสติปัญญาด้านต่างๆ
โดยอาศัยมุมมองด้านความเสี่ยงในอนาคตทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม
และความต้องการผู้บริโภคในอนาคต
ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน
และกลางเดือนเมษายน การตรวจประเมินอาจจะยังไม่สามารถทำได้ในพื้นที่ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรคไข้หวัดนกระหว่างฟาร์ม
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการภาคสัตว์ปีกเห็นชอบร่วมกันว่า หากจำเป็นก็ต้องตรวจประเมินที่ฟาร์มภายในช่วงเวลาดังกล่าว
และภายใต้เงื่อนไขเฉพาะ เช่น ภายในช่วงเวลา ๗๒ ชั่วโมงก่อนการจับไก่ หรือในฟาร์มที่ผู้ตรวจประเมินไม่ได้เข้าไปในพื้นที่เลี้ยงสัตว์โดยตรง
เนื่องจาก จับไก่ไปหมดแล้ว เช่น ฟาร์มไก่พันธุ์ หรือไก่งวง
รอบการเลี้ยงใหม่ ฟาร์มสมาชิกไม่ควรคาดหวังว่าจะได้ตรวจประเมินที่โรงเรือนเดียวกันไปทุกปี
คาบเวลาสูงสุดระหว่างการตรวจประเมินจะไม่เกิน ๒๑ เดือน และไม่ต่ำกว่า ๖ เดือน
เอกสารอ้างอิง
Mcdougal T. 2023. Audit cycle changes for poultry
across major UK farm assurance scheme. [Internet]. [Cited 2023 Jul 21]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/audit-cycle-changes-for-poultry-across-major-farm-assurance-scheme/
ภาพที่
๑
อังกฤษเปลี่ยนแผนออดิตฟาร์มสัตว์ปีก (แหล่งภาพ Michel Sweeter)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น