ระบบการจัดการคอมพิวเตอร์ สามารถตรวจสอบฝูงไก่เนื้อที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดนกได้ ฟังแล้วเหมือนกับว่าห่างไกลไปในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง นักวิทยาศาสตร์จากอิหร่านและสหรัฐฯ แสดงให้เห็นแล้วว่า เป็นไปได้ที่จะตรวจโรคไข้หวัดนก และนิวคาสเซิลด้วยการใช้ภาพถ่ายอุณหภูมิและเอไอบอกโรคก่อนที่อาการจะปรากฏออกมาให้เห็นได้
การตรวจพบโรคไข้หวัดนกในโรงเรือนสัตว์ปีกตั้งแต่ระยะแรกมีความสำคัญต่อการป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปยังฟาร์มอื่นๆ
ผลการศึกษาร่วมกันของอิหร่านและสหรัฐฯ
ไม่ใช่ครั้งแรกที่จะตรวจโรคไข้หวัดนกโดยใช้ภาพถ่าย ในปี พ.ศ.๒๕๖๐
นักวิจัยชาวจีนก็ได้พัฒนาอัลกอลิทึมสำหรับตรวจสอบเอช ๕ เอ็น ๒ ในไก่เนื้อ
โดยอาศัยเส้นโครงร่าง และข้อมูลเกี่ยวกับกระดูก
ในครั้งนี้
นักวิจัยจากอิหร่านและสหรัฐฯก็ใช้ภาพถ่ายอุณหภูมิเพื่อจำแนกระหว่างสัตว์ป่วยและสัตว์ปรกติ
โดยสัตว์ป่วยมีอุณหภูมิที่ผิดปรกติ อ้างอิงตามรายงานการวิจัยจากวารสารวิชาการ
แอนิมอล วิธีที่ใช้สามารถตรวจสอบโรคไข้หวัดนกได้ ๘ ชั่วโมงภายหลังการติดเชื้อ
แม้ว่าความแน่นนอนจะยังน้อยกว่าร้อยละ ๙๐ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยอ้างว่า
สามารถทำนายโรคได้แม่นยำอย่างมากภายในเวลา ๒๔ ชั่วโมง
ภาพถ่ายอุณหภูมิภายหลังการติดเชื้อ
นักวิจัยจากอิหร่าน
และสหรัฐฯ ร่วมกับทดลองภายใต้สภาวะในห้องปฏิบัติการแบ่งไก่เป็น ๔
กลุ่มการทดลองโดยใช้ไก่พันธุ์รอส ๓๐๘ จำนวน ๒๐ ตัวต่อกลุ่ม
กลุ่มหนึ่งให้เชื้อไวรัสนิวคาสเซิล อีกกลุ่มหนึ่งให้เชื้อไวรัสไข้หวัดนกเอช ๙ เอ็น
๒ และอีกกลุ่มเป็นกลุ่มควบคุม เลี้ยงไก่ในกรงแยกกันด้วยตะข่าย
ภาพถ่ายอุณหภูมิบันทึกทุก ๘ ชั่วโมงในทุกกลุ่มจาก ๘ ถึง ๕๖
ชั่วโมงภายหลังการให้เชื้อ โดยตั้งไว้ในระยะ ๐.๕ เมตร
นักวิจัยระบุว่า
ภาพถ่ายดังกล่าวได้จากระบบโรบอตแบบเคลื่อนที่
ที่สามารถตรวจสอบอาการระยะแรกของการติดเชื้อโรคไข้หวัดนกโดยอาศัยภาพถ่ายอุณหภูมิ ๓
ภาพต่อไก่เนื้อ ๑ ตัวในทุก ๘ ชั่วโมง ในโลกของบิ๊กดาต้า ข้อมูลมหาศาลจำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์
อย่างไรก็ตาม
นักวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ค้นหาคุณลักษณะทางสถิติของภาพถ่ายอุณหภูมิที่สามารถคัดกรองและคัดเลือกออกมาได้
ด้วยการใช้สูตรและการใช้เอไอ จึงได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
การวิจัยขนาดเล็ก
ในการทดลองด้วยการใช้ระบบเอไอ
๒ วิธี เพื่อประมวลภาพถ่ายอุณหภูมิ เทคนิคที่ ๓
ถูกใช้โดยประมวลผลร่วมกับอีกสองวิธีข้างต้น พบว่า มีความแม่นยำสูงร้อยละ ๙๗.๒
สำหรับโรคไข้หวัดนก และร้อยละ ๑๐๐ สำหรับโรคนิวคาสเซิล
นักวิจัยยอมรับว่า
นี่เป็นเพียงการทดลองขนาดเล็ก จำเป็นต้องขยายขนาดให้การทดลองใหญ่ขึ้นกว่านี้ เป้าหมายของนักวิจัยกลุ่มนี้ไม่ได้ใช้กับฟาร์มทุกวัน
การตรวจอาการของโรคไข้หวัดนกยังเป็นความรับผิดชอบของผู้จัดการฟาร์มเป็นหลักอยู่
เอกสารอ้างอิง
van der
Werff N. 2024. Spotting avian
influenza with infrared imaging. [Internet]. [Cited 2024 Jul 8]. Available
from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/spotting-avian-influenza-with-infrared-imaging/
ภาพที่ ๑ การตรวจสอบโรคในมนุษย์มีการทดลอง
และทดสอบมาแล้ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาของไก่บ้าง (แหล่งภาพ ANP)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น