บรรยายโดย T. van der Braak (Hendrix Genetics, เนเธอร์แลนด์)
ทิศทางการปรับปรุงสายพันธุ์ไก่ไข่ ปัจจุบัน และอนาคต มีเป้าหมายเพื่อให้ความสามารถในการรอดชีวิต การให้ผลผลิตไข่ไก่ได้เป็นเวลานาน รูปแบบการให้ผลผลิตเหมาะสม คุณภาพเปลือกไข่ดี พฤติกรรม และฟุ้ตพรินต์ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการบริโภคโปรตีนจากสัตว์ทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ.2031 การบริโภคโปรตีนจากสัตว์จะเพิ่มขึ้นอีก 16% จากปี ค.ศ. 2021 โดยเฉพาะ เนื้อสัตว์ปีก (26%) และไข่ไก่ (22%) โจทย์สำคัญในปัจจุบันเป็นการพัฒนาการผลิตสัตว์ปีกอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ ทั้งสวัสดิภาพสัตว์ ฟุ้ตพรินต์ ลดการใช้ยาปฏิขีวนะ โดยมีราคาที่ย่อมเยา
ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต
ได้แก่ กฏระเบียบของภาครัฐบาล มาตรฐานของผู้ผลิตและลูกค้าที่เป็นพรีเมียมแบรนด์
ทั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่มาจากความต้องการทางสังคมในฐานะที่อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต
การใส่ใจต่อสวัสดิภาพสัตว์ การรักษาสิ่งแวดล้อม การดูแลรักษาสุขภาพ
และการเลือกซื้อสินค้าในท้องถิ่น (buy local) เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตสินค้าจากปรกติให้กลายเป็นสินค้าทางเลือกที่มีความหลากหลายกว่าเดิมประทับตราเครื่องหมายรับรองระบบต่างๆติดอยู่ข้างบรรจุภัณฑ์
ระบบการผลิตไข่ไก่ เริ่มตั้งแต่ เพียวไลน์ (PL) 4
ตัวผลิตฝูงไก่ปู่ย่าพันธุ์ (GPS) ได้ 50 ตัว
เพื่อผลิตฝูงไก่พ่อแม่พันธุ์ 5,000 ตัว สำหรับฝูงแม่ไก่ไข่
500,000 ตัว สุดท้ายจึงได้ไข่ไก่ จำนวน 250,000,000 ฟอง จำหน่ายให้กับผู้บริโภค
โดยวงจรการผลิตจากเพียวไลน์ไปจนถึงแม่ไก่ใช้เวลา 3 ปี เช่น เพียวไลน์ในปี ค.ศ.2024
กว่าจะได้เห็นภาพการผลิตไข่ไก่จริงๆก็ต้องรอจนถึงปี ค.ศ.2027
ความก้าวหน้าด้านพันธุกรรมช่วยให้แม่ไก่สามารถออกไข่ได้จำนวนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมและนานกว่าเดิมจาก
350 ฟองต่อแม่จะเพิ่มขึ้นได้อีก 150 ฟองเป็น 500 ฟอง
การปรับปรุงความแข็งแรงของเปลือกไข่ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ
การแลกเปลี่ยนอาหารที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ในสถานการณ์ที่ทรัพยากรต้องแบ่งปันกันใช้ประโยชน์ระหว่างอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์กับพลังงาน
โดยมีแรงกดดันมากขึ้นกับถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์ม กลยุทธ์จากฟาร์มสู่ส้อมจะต้องใช้
by-products
มากขึ้นในอาหารไก่ เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นด้วยการลด FCR และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจาก carbon footprint การเลี้ยงไก่ควรมองว่าเป็นการลงทุนแทนที่จะเป็นต้นทุน
ในยุโรป การเลี้ยงไก่บนกรงตับกำลังถึงกาลอวสานแล้วโดยมีการรณรงค์ให้ยุติการเลี้ยงสัตว์ในกรง
(End
the cage age) จากองค์กรไม่แสวงหากำไร (NGO) เช่น
COMPASSION in world farming โดยสื่อสารถึงพลเมืองในยุโรป
1.5 ล้านคนจะยุติการจัดการฟาร์มในสัตว์โดยการเลี้ยงขังไว้ในกรง
คาดการณ์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการเลี้ยงไก่ไข่ต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจก
(GHG)
เปรียบเทียบระหว่างปี ค.ศ.2018
ไข่ไก่เปลือกสีน้ำตาลผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 87 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมของไข่ไก่
สูงกว่าไข่เปลือกสีขาว คิดเป็น 4.1% และปี ค.ศ. 2030 แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลง
204 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมของไข่ไก่ ลดลงคิดเป็น 9.4% เปรียบเทียบกับปัจจุบัน
แต่ไข่เปลือกสีขาวจะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงได้ 242 กรัมต่อน้ำหนัก 1
กิโลกรัมของไข่ไก่ คิดเป็น 11.5% เปรียบเทียบกับปัจจุบัน
ไข่สีน้ำตาลผลิตคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าไข่สีขาว 124 กรัมต่อน้ำหนัก 1
กิโลกรัมของไข่ไก่ บ่งชี้ว่า แม่ไก่สีขาวช่วยลดแก๊สเรือนกระจกได้ดีกว่า
และพัฒนาได้รวดเร็วกว่าแม่ไก่สีน้ำตาล ในปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป เช่น
สเปน เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และฝรั่งเศส ก็ยังนิยมไข่ไก่สีน้ำตาลมากกว่าไข่ไก่สีขาว
มีเพียงไม่กี่ประเทศ เช่น เดนมาร์ก ที่บริโภคไข่ไก่เปลือกสีขาวเกือบทั้งหมดแล้ว
แต่โดยภาพรวม ในยุโรปเปลี่ยนมาบริโภคไข่ไก่สีขาวเพิ่มขึ้น
เทคโนโลยีการจำแนกเพศตัวอ่อนในไข่ฟัก
กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
คณะผู้วิจัยบางรายเลือกที่จะจำแนกเพศตัวอ่อนในช่วงก่อนระยะการฟัก 6 วัน
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตัวอ่อนยังไม่รู้สึกเจ็บปวด เช่น Matrixspec,
eggXYT และ CSIRO เป็นต้น ส่วนใหญ่เลือกช่วงระยะการฟัก
7-13 วัน ซึ่งเป็น grey zone ตัวอ่อนเริ่มพัฒนาประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดบ้างแล้ว
เช่น SELEGGT, IN OVO, PLANTegg, ATT, ORBEM เป็นต้น
การพัฒนาเทคโนโลยี Gene editing ล่าสุด ในระดับเพียวไลน์ นักวิจัยใช้ ZFP เป็น genetic marker ชนิดใหม่ที่ตัดแต่งจีนเข้าไปใน Z
chromosome ของเพียวไลน์
เพื่อใช้ตรวจสอบแยกเพศตั้งแต่ตัวอ่อนในไข่ฟักอายุได้ 1 วัน แล้วดึงไข่ไก่ที่มี genetic
marker ZFP บน Z chromosome
ออกมาก่อนที่จะนำไปเข้าตู้ฟัก ดังนั้น
จึงมีเฉพาะลูกไก่เพศเมียเท่านั้นที่จะออกจากตู้ฟัก โดยไม่ต้องทำลายชีวิตตัวอ่อน
หรือลูกไก่เพศผู้อีกตัวไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น