ผลิตภัณฑ์คอคเทลฝาจ ๗ ชนิดลดเชื้อ อี.โคไล ก่อโรค หรือเอเพค ในไก่ได้
การใช้แบคเทอริโอฝาจ
มีประสิทธิภาพช่วยลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อ อี. โคไล ก่อโรคในสัตว์ปีก
หรือเอเพคในไก่ได้ จากผลการศึกษาของวิทยาลัยเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเพอร์ดู
อ้างอิงตามผลการวิจัย การใช้แบคเทอริโอฝาน
ร่วมกับการจัดการฟาร์มที่ดีช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยเพอร์ดู
แยกเชื้อแบคเทอริโอฝาจ ๗ ชนิด ที่สามารถช่วยควบคุมเชื้อ อี.โคไล
ก่อโรคในสัตว์ปีกได้
คอคเทล
พอล เอบเนอร์
หัวหน้าคณะผู้วิจัยอธิบายผลการวิจัยครั้งนี้ว่า
เชื้อแบคเทอริโอฝาจสามารถทำลายเชื้อ อี. โคไล ก่อโรคในสัตว์ปีกได้ถึงร้อยละ
๙๐ เมื่อนำไปให้กับไก่ ผลการทดลองช่วยลดเชื้อ อี. โคไล
ก่อโรคในสัตว์ปีกในปอดและไส้ตันได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้น ยังไม่มีผลกระทบต่อผลการเลี้ยง
ทั้งที่ให้เชื้อพิษทับกับสัตว์ทดลอง
และยังไม่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อต้านฝาจอีกด้วย
ผลิตภัณฑ์นี้ให้ด้วยการป้อนทางปากโดยมีการทำเป็นไมโครเอนแคปซูเลชันเพื่อป้องกันฝาจจากสิ่งแวดล้อมในระบบทางเดินอาหาร
และช่วยให้แบคเทอริโอฝาจที่มีชีวิตเข้าถึงตำแหน่งที่มีการติดเชื้อได้
ผลการวิจัยครั้งนี้ทำในรัฐอินเดียนา
พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตอาหารในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง
และโครงการต้นแบบถูกพัฒนาไปแล้วในปากีสถาน ผลการวิจัยในปากีสถาน พบว่า
พฤติกรรมผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าเนื้อไก่ที่ใช้แบคเทอริโอฝาจแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ
ขณะนี้ มหาวิทยาลัยกำลังศึกษาอุปสรรคที่เป็นกำแพงกั้นระหว่างผู้ผลิตสัตว์ปีก
และสัตวแพทย์ผู้ดูแลสัตว์ปีก
การพัฒนาแบคเทอริโอฝาจ
ผลิตภัณฑ์จากแบคเทอริโอฝาจสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกยังมีจำนวนน้อยที่ทำตลาด
และยังมีอุปสรรคในการใช้ในภาคปศุสัตว์ แม้ว่าจะเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางว่ามีศักยภาพที่จะใช้แทนยาปฏิชีวนะได้
ท่ามกลางอุปสรรคเหล่านี้คือ ความสำเร็จทางประวัติศาสตร์ของยาปฏิชีวนะ ที่หาซื้อได้ง่าย
และเป็นที่คุ้นเคยกัน แต่การขึ้นทะเบียนได้ลำบากในหลายประเทศก็ทำให้การทำตลาดเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ความก้าวหน้าในการผลิตแบคเทอริโอฝาจทำให้การใช้งานได้ง่ายขึ้น
ในช่วงต้นปีนี้มีองค์กรที่แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และช่วยสนับสนุนการรับรองขึ้นทะเบียนอย่าง
ฝาจเอเชีย ผู้ก่อตั้งชี้ให้เห็นถึงการขาดความเอาใจใส่ต่อห่วงโซ่คุณค่าของอาหาร รวมถึง
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนที่เป็นไปอย่างล่าช้า ส่งผลให้การยอมรับเทคโนโลยีนี้ไปใช้เป็นไปอย่างล่าช้า
เอกสารอ้างอิง
Clements M. 2024. APEC phage product developed for
low- mid-income countries. [Internet]. [Cited 2024 Jul 10]. Available
from: https://www.wattagnet.com/latest-news/news/15679265/apec-phage-product-developed-for-low-midincome-countries#:~:text=APEC%20phage%20product%20developed%20for%20low-%20mid-income%20countries,in%20avian%20pathogenic%20Escherichia%20coli%20in%20treated%20birds.
ภาพที่ ๑ การอุบัติใหม่อย่างต่อเนื่องของเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ทำให้การจัดการสุขภาพสัตว์มีทางเลือกที่จำกัด ฝาจเป็นเครื่องมือใหม่สำหรับผู้ผลิตสัตว์ปีกที่ช่วยให้สัตว์มีสุขภาพที่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น