วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ก้าวสู่ยุคโรบอตในโรงเชือดไก่

บริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่กำลังติดกับดักเทคโนโลยีชั่วขณะ ก่อนที่จะก้าวไปสู่ยุคโรบอตในการผลิต และแปรรูปสัตว์ปีก   
การใช้หุ่นยนต์โรบอตในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกสหรัฐฯ ยังไม่สามารถเติบโตได้เหมือนกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ทำไม ผู้ผลิตสัตว์ปีกในสหรัฐฯ ยังคงยืนรออยู่ข้างสนาม เมื่อหลายอุตสาหกรรมได้โดดเข้ามาเล่นเต็มตัวแล้ว  ซีอีโอจากภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ทั่วโลก มองหาเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ โดยมีผลการสำรวจเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๕ พบว่า หุ่นยนต์มีประสิทธิภาพสูง มากกว่า ๙๔ เปอร์เซ็นต์ได้นำหุ่นยนต์มาใช้เรียบร้อยแล้ว และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ห้าปีถัดจากนี้ เชื่อว่า หนึ่งในห้าของการผลิตจะใช้หุ่นยนต์ และคาดว่าจะมีการลดลูกจ้างลง ๕๘ เปอร์เซ็นต์ ความจริงแล้ว การใช้หุ่นยนต์ได้มีการนำร่องใช้มาก่อนแล้วในอุตสาหกรรมรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่วิทยาศาสตร์อาหาร และชีวิตกำลังเริ่มต้นรับเทคโนโลยีหุ่นใหญ่เพิ่มขึ้น  
ผู้ผลิตรถยนต์ในอเมริกาเหนือ มีคำสั่งหุ่นยนต์มาใช้ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ แต่สัดส่วนคำสั่งซื้อนี้ลดลง ๒๗ เปอร์เซ็นต์ในปี ค.ศ. ๒๐๑๔ เนื่องจาก สินค้าบริโภค และอุปโภคมีการแบ่งสัดส่วนคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจาก ๓ เป็น ๗ เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับบริษัทวิทยาศาสตร์ชีวภาพก็สามารถสังเกตเห็นการสั่งซื้อหุ่นยนต์เพิ่มจาก ๒ เป็น ๖ เปอร์เซ็นต์

ผู้ประกอบการสัตว์ปีกในสหรัฐฯ ยังลังเลที่จะลงทุนกับโรบอต
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในสหรัฐฯ ยังไม่ตัดสินใจลงทุนกับโรบอต และยังลังเลที่จะนำหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตไก่ และการแปรรูปเนื้อไก่ ขณะที่ อุตสาหกรรมอื่นๆกำลังเริ่มต้นเพิ่มการใช้หุ่นยนต์แล้ว ในโรงฟักบางแห่ง อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกสหรัฐฯ ใช้หุ่นยนต์จัดเรียงกล่องลูกไก่ และในโรงงานแปรรูปบางแห่ง ใช้ในการจัดวางกล่องจับไก่  
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ผลิตสัตว์ปีกยังคงปฏิเสธการใช้หุ่นยนต์ในภาคธุรกิจของตัวเอง ด้วยเหตุผลหลายอย่าง ได้แก่ การคืนทุนไม่เร็วเพียงพอ ส่วนใหญ่แล้ว บริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกในสหรัฐฯ ต้องการการคืนทุนภายใน ๑ ปี แต่การลงทุนในเทคโนโลยีหุ่นยนต์ต้องใช้เวลา ๑.๕ ถึง ๒ ปี พื้นที่ในโรงงานแปรรูปฯ ประเด็นด้านวัฒนธรรมก็เป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ พนักงานไม่ค่อยเต็มใจทำงานกับหุ่นยนต์ รวมถึง วิตกกังวลว่า โรงงานฯอาจต้องปิดหากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ล้มเหลว

โรบอตช่วยอะไรโรงงานฯได้บ้าง
เมื่อเทคโนโลยีโรบอตนำมาใช้แล้วในปัจจุบัน โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการแปรรูปสัตว์ปีก ได้แก่ โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ และอาหารสำเร็จรูป เช่น การถอดกระดูก การบรรจุ และการจัดวางชั้นสินค้า แต่การนำมาใช้งานจริงยังไม่ค่อยเกิดขึ้นเท่าไร เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในสหรัฐฯมีพัฒนาการค่อนข้างช้า แม้ว่า อุตสาหกรรมข้างเคียง เช่น รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการนำมาใช้เป็นเวลานานมากแล้ว การปรับแก้ไขหุ่นยนต์ให้เหมาะกับอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีกไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ยังสามารถทำได้
ภารกิจหลักที่หุ่นยนต์สามารถนำมาใช้ในโรงงานแปรรูปสัตว์ปีกได้คือ การแขวนสัตว์ปีกมีชีวิตบนแชคเกิลตามไลน์การเชือด และการขึ้นแขวนซากสัตว์ปีกบนไลน์การผลิต เป็นต้น 

ระบบการถอดกระดูกอัจฉริยะ
ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตเครื่องถอดกระดูกด้วยหุ่นยนต์ ๓ บริษัท ได้แก่ Brenett ยังไม่สามารถตอบโจทย์โรงงานแปรรูปสัตว์ปีกในสหรัฐฯได้  โดยเทคโนโลยีการถอดกระดูกจากเนื้อสัตว์ปีกพัฒนาโดยสถาบัน Geogia Tech Research Institiute (GTRI) สามารถถอดกระดูกแบบอัตโนมัติ หรือใช้ระบบถอดกระดูกอัจฉริยะมีการใช้งานมาเป็นเวลา ๒ ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตสัตว์ปีกในสหรัฐฯ ยังไม่สามารถซื้อระบบใหม่นี้ได้ เนื่องจาก การลงทุนที่ค่อนข้างสูงมาก นักวิจัยที่ GTRI กำลังสนใจกล้องสามมิติ เพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายนอกของซากไก่ และกำหนดโครงสร้างของกระดูกภายในซากไก่ นักวิจัยพยายามใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ และใบมีด เพื่อเก็บผลผลิตเนื้อไก่ให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้แรงงานคน 
ขณะที่ การใช้ระบบถอดกระดูกอัตโนมัติเป็นที่นิยมมากในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกยุโรป แต่เครื่องมือที่มีอยู่ก็ยังไม่ตอบสนองความต้องการของตลาดสหรัฐฯ ตอนนี้ ยุโรปได้นำหน้าสหรัฐฯไปแล้วสำหรับการนำหุ่นยนต์ไปใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรม สาเหตุที่พัฒนาการเทคโนโลยีนี้ในยุโรปไปเร็วกว่าคือ ความเร็วไลน์ที่เร็วกว่า ช่วยชดเชยต้นทุนของเทคโนโนโลยีได้เนื้อแปรรูปปริมาณมากขึ้น 
  ยุโรปก้าวไปไกลมากสำหรับการขับเคลื่อนนวัตกรรมหุ่นยนต์ เป็นผลมาจากการสนับสนุนเงินวิจัยของรัฐบาลทั้งในเดนมาร์ก สวีเดน ฮอลแลนด์ และเยอรมัน มีการระดมงบประมาณหลายล้านเหรียญในเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ขณะที่ ในสหรัฐฯ งานวิจัยอยู่ในมหาวิทยาลัย และอุตสาหกรรมไม่กี่แห่งเท่านั้น ถึงกระนั้น ก็ยังมีความหวังสำหรับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในสหรัฐฯ โดยเชื่อว่า จะมีเทคโนโลยีหุ่นยนต์ใหม่ๆทดสอบในภาคธุรกิจ เช่น วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และชีวการแพทย์ อันเป็นธุรกิจที่มีผลตอบแทนสูงกว่า เมื่อขอบเขตของงานวิจัยในภาคการแพทย์ก้าวไปข้างหน้า ก็จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอาหารให้คล้อยตามได้ง่ายขึ้น อุตสาหกรรมการแพทย์มีกำลังทรัพย์เพื่อจ่ายให้กับการวิจัย และระบบหุ่นยนต์ ที่พร้อมสำหรับถ่ายทอดไปยังอุตสาหกรรมสัตว์ปีก เช่น กิจกรรมที่คล้ายคลึงกันระหว่างหุ่นยนต์ที่ใช้ทางการแพทย์ และการแปรรูปสัตว์ปีก ไม่ว่าจะเป็นการตัดเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น และกระดูก เป็นต้น
  ขณะที่ การศึกษาเทคโนโลยีหุ่นยนต์พัฒนา และมีความสามารถมากขึ้น เทคโนโลยีจะพัฒนาจนทำให้ผู้ปฏิบัติงานถอดกระดูกสัตว์ปีกสามารถฝึกหุ่นยนต์ทำงานแทนได้ แตกต่างกันอย่างมากกับการพัฒนาโปรแกรมให้ทำงาน

ระบบการแขวนไก่มีชีวิต
เทคโนโลยีภาพ และเซนเซอร์ กำลังเจริญเติบโตทั้งความสามารถ และต้นทุนที่ต่ำลง หุ่นยนต์สามารถแขวนไก่มีชีวิตขึ้นบนไลน์เชือด หรือเก็บชิ้นส่วนสัตว์ปีก มีการพัฒนาใกล้จะนำไปใช้เชิงพาณิชน์แล้ว เวลานี้ ระบบเซนเซอร์ด้วยหุ่นยนต์เป็นสิ่งท้าทายที่จะหยิบปีกไก่จากตัว หรือการจับไก่มีชีวิตที่ผ่านลงมาตามสายพาน แล้วแขวนขึ้นบนแชกเกิล แต่นักวิจัยกำลังทำงานในมิติใหม่ที่จะทำให้ภารกิจเหล่านี้มีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์จริง สิ่งนี้จะเป็นไปได้ในวันหนึ่งโดยใช้ โคบอต (Cobots) คือ หุ่นยนต์ที่ทำงานเคียงข้างกับมนุษย์ พนักงานอาจเป็นผู้ควบคุมไก่มีชีวิตบนสายพานให้เป็นระเบียบก่อนที่จะให้โคบอตจับ แล้วแขวนไก่ขั้นบนราวแขวนไก่  

โรบอตพร้อมแล้วสำหรับโรงงานแปรรูปการผลิต
ปัจจุบัน การนำหุ่นยนต์มาใช้ในโรงงานแปรรูปใกล้เคียงความจริงมากขึ้น เช่น การบรรจุผลิตภัณฑ์ลงในกล่อง และการปิดผนึกกล่อง ลำเลียงขึ้นบนชั้นพาเลต ถึงกระนั้น ก็ยังเป็นไปค่อนข้างช้าเป็นผลมาจากราคาที่ยังแพง และระยะเวลาการคืนทุน หุ่นยนต์สำหรับการลำเลียงสินค้าบนชั้นพาเลตต้องใช้เวลา ๒ ปี แต่ยังมีมูลค่าที่ยากต่อการประเมินเป็นตัวเงิน เช่น การใช้หุ่นยนต์ลำเลียงสินค้าบนชั้นพาเลตช่วยลดปัญหาปวดหลัง หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆของพนักงาน ตลอดจนลดเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน หุ่นยนต์ไม่ต้องพัก หรือมีวันหยุด   
ประตูได้เปิดกว้างแล้วสำหรับการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก อุปสรรคบางประการเกี่ยวกับราคา และพื้นที่ภายในโรงงาน รวมทั้งปัจจัยด้านวัฒนธรรมเกี่ยวกับมุมมองของมนุษย์ต่อหุ่นยนต์ การเปลี่ยนไปใช้หุ่นยนต์คงไม่เกิดขึ้นทันทีทันใดในวันพรุ่งนี้ คงต้องเตรียมความพร้อมของบุคลากร ความสามารถ และเทคโนโลยีในเวลา และสถานที่อันเหมาะสมต่อไป

เอกสารอ้างอิง
Thornton G. 2015. Robotics in poultry processing-a growing role?. [Internet]. [Cited 2015 Apr 11]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/24517-robotics-in-poultry-processing-a-growing-role  

ภาพที่ ๑ โรบอตก้าวเข้าสู่ภารกิจใหม่ในโรงงานแปรรูปการผลิตสหรัฐฯ (Bigstock, 2015) 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...