นับจากทศวรรษนี้เป็นต้นไป
อุตสาหกรรมไก่เนื้อจะเผชิญหน้ากับปัญหาเดิมคือพันธุกรรมไก่เนื้อโตช้า
แต่กระแสตลาดอาจพลิกกลับค้านการเลี้ยงไก่โตช้า
ผลการศึกษาใหม่
ปีนี้มหาวิทยาลัยกวัฟล์คาดว่าจะเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีการศึกษาไก่เนื้อโตช้าจำนวนมาก
คาดว่า จะช่วยเป็นกุญแจสำคัญให้กับการเลี้ยงไก่เนื้อตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์ได้ดี
โดยการศึกษาจะได้รับความสนใจจากผู้ผลิตสัตว์ปีกทั่วโลก รวมถึง
องค์กรผู้ให้การรับรองระบบสวัสดิภาพสัตว์ โดยจะช่วยให้เข้าใจว่า
ความเร็วในการเพิ่มน้ำหนักตัวไก่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพสัตว์โดยรวม
และสวัสดิภาพสัตว์ได้อย่างไร สำหรับระดับมหาวิทยาลัยแล้ว
ไก่เนื้อโตช้าถูกวิจารณ์ว่า ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และไม่สามารถใช้ได้ในทางปฏิบัติ ในทางปฏิบัติ ไก่เนื้อโตช้าจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าเพื่อผลิตให้ได้ปริมาณโปรตีนเท่าเทียมกัน
เมื่อเปรียบเทียบแล้ว พันธุ์ไก่เนื้อ
และโรงเรือนปรกติที่นิยมเลี้ยงกันในปัจจุบันช่วยลดการใช้ทรัพยากรสำหรับการผลิตโปรตีนได้ไปอีก
๖๐ ปี
การทดลองระดับเชิงพาณิชย์
ในสหรัฐฯ
บริษัทรายหนึ่งได้พยายามเลี้ยงไก่เนื้อโตช้าด้วยตนเอง และเดินก้าวไปข้างหน้าต่อไป
ได้แก่ ฟาร์มเมอร์ ไพรด์ อิงค์ เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ เบลล์ และอีวานส์ ในปี
พ.ศ. ๒๕๖๑ บริษัทได้เปลี่ยนมาใช้พันธุ์ไก่ลูกผสม เนื่องจาก
ไม่สามารถเลี้ยงไก่เนื้อโตช้าในเชิงพาณิชย์ให้ประสบความสำเร็จได้
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐
บริษัท เบลล์ และอีวานส์ เริ่มปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเป็นไก่เนื้อโตช้า
โดยเริ่มนำมาเลี้ยงในฟาร์มจริง ไก่มีปัญหาสุขภาพ
และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารไม่ค่อยดีเท่าไร
ทำให้บริษัทจำเป็นต้องเปลี่ยนกลยุทธ์เป็นการเลี้ยงพันธุ์ไก่ลูกผสมในปี พ.ศ. ๒๕๖๒
ด้วยการใช้สายพันธุ์ใหม่ร่วมกับปรับการจัดการบางอย่างสำหรับไก่เนื้อโตช้า
เจ้าของบริษัท และประธานบริษัท สก๊อต เซคเลอร์ กล่าวถึง
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้การเลี้ยงไก่เนื้อโตช้าประสบความสำเร็จได้
ถึงเวลาที่ต้องจับขายแล้ว ไม่มีใครอยากจ่ายเงินเพิ่มสำหรับไก่เนื้อโตช้าในปัจจุบัน
เบลล์ และอีวานส์ ต้องขายสินค้าขาดทุน
เบลล์ และอีวานส์
เริ่มตั้งแต่โรงฟักจนถึงการบรรจุสินค้า
แล้วตั้งราคาเป็นสินค้าพรีเมียมที่เหมาะสมสำหรับลูกค้า เพื่อให้มั่นใจว่า
สามารถผลิตสินค้าที่เป็นไปได้ดีที่สุด
ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ประสบปัญหาแล้ว
เมื่อกลางทศวรรษที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมก็ประสบปัญหากับการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงเป็นไม่ขังกรง
ผู้บริโภคต้องการซื้อ หรือจำหน่ายเฉพาะไข่ไก่จากฟาร์มที่เลี้ยงไม่ขังกรงเท่านั้น
ดังนั้น ผู้ประกอบการฟาร์มไก่ไข่จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงทั้งโรงเรือน
และพันธุ์ไก่ไข่ ไข่ไก่ที่เลี้ยงไม่ขังกรงมีต้นทุนสูงสำหรับผู้ผลิต
ไม่มีใครอยากจ่ายเพิ่มต้นทุน
โลกแห่งความฝัน
และโลกแห่งความจริง
ในเวลานี้การเปลี่ยนพันธุ์ไก่เป็นสิ่งแรกที่ถูกกระตุ้นโดยแรงกดดันทางตลาดเทียมของนักเคลื่อนไหวด้านสวัสดิภาพสัตว์
ตัวอย่างของการเลี้ยงไก่ไม่ขังกรง
กลุ่มนักเคลื่อนไหวประสบความสำเร็จในการเลือกสร้างแรงกดดันกับภาคส่วนที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการตอบสนองต่อแรงกดดันได้ดีที่สุด
ในช่วงเวลาอันสั้น
การเลี้ยงไก่ไข่โดยไม่ขังกรงมาจากผลิตภัณฑ์ผลประโยชน์เสริมให้กับมาตรฐานอุตสาหกรรมการผลิตไข่ไก่
เป็นแผนที่นำทางที่กำหนดไว้ให้ได้ในอนาคต ทั้งไข่ไก่จากแม่ไก่เลี้ยงไม่ขังกรง
และเนื้อไก่โตช้าขายได้ยาก เนื่องจาก ยังไม่มีความต้องการที่แท้จริงมากนักสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้
นอกจากนั้น
ยังไม่มีความต้องการมากเพียงพอในตลาดที่จะจ่ายเงินเพิ่มสำหรับราคาสินค้าพรีเมียม
จนมีพลังเพียงพอที่จะทำให้ผู้ประกอบการอยากผลิตสินค้าเหล่านี้
ในระยะสั้น ถ้า
และเมื่อผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีกนำสินค้าเหล่านี้ออกสู่ตลาด
ก็จะกลายเป็นผู้แพ้ในตลาดอย่างแน่นอน ผู้ประกอบการจะต้องลงทุนเพิ่ม
สร้างมลพิษมากขึ้น และถูกกดดันมากขึ้นให้ต้องทำโน่นทำนี้จ่ายเงินลงทุนไปเรื่อย ผู้ชนะจะเป็นนักเคลื่อนไหวรณรงค์สวัสดิภาพสัตว์เท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
Alonzo A. 2020. A new decade to
resist slow-growing genetics. [Internet]. [Cited 2020 Jan 15]. Available from: https://www.wattagnet.com/blogs/47-us-poultry-industry-insights/post/39456-a-new-decade-to-resist-slow-growing-genetics
ภาพที่ ๑ นับจากทศวรรษนี้เป็นต้นไป
อุตสาหกรรมไก่เนื้อจะเผชิญหน้ากับปัญหาเดิมคือพันธุกรรมไก่เนื้อโตช้า (แหล่งภาพ Bell & Evans)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น