วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2563

สี่เทรนด์ที่เปลี่ยนโฉมการผลิตไก่เนื้อในทศวรรษที่ผ่านมา


พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ทำลายล้างธุรกิจอาหารระหว่างทศวรรษที่ ๒๐๑๐

การผลิตเนื้อไก่เติบโต และเป็นที่นิยมอย่างมากตลอดทศวรรษที่ ๒๐๑๐ เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่เพิ่งผ่านพ้นมา ชาวอเมริกันบริโภคเนื้อไก่เฉลี่ย ๔๓.๖ กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก ๓๗.๘ กิโลกรัมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ การผลิตเนื้อไก่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรตลอดสิบปีที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๓

๑. ความโปร่งใสในการเลี้ยงสัตว์กลายเป็นสิ่งสำคัญ

กลุ่มพิทักษ์สิทธิสัตว์พยายามรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ที่ใช้ผลิตเป็นอาหารเป็นกระแสสำคัญระหว่างทศวรรษที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ผลการสำรวจจากพันธมิตรฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในสหรัฐฯ พบว่า เกือบร้อยละ ๖๐ ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวตรงกันว่า สวัสดิภาพสัตว์กลายเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอย่างมากที่ร้านอาหาร และร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ร้องขอข้อมูลจากผู้ประกอบการฟาร์มผลิตเนื้อสัตว์เกี่ยวกับขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้น ผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีก และร้านค้าปลีกจึงพยายามร่วมกันทำงานเพื่อสร้างความโปร่งใสเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับขั้นตอนการเลี้ยง การให้อาหาร และการดูแลจัดการสัตว์ในฟาร์ม

 ตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งคือ โครงการไข่ดี (Good Egg Project) โดยสมาคมไข่ไก่ในสหรัฐฯ เว็บไซต์ของสมาคมได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่ผู้บริโภคสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองว่าจะสืบค้นอย่างไรว่า ไข่ไก่ที่ตัวเองบริโภคมาจากฟาร์มไหน เลี้ยงดูอย่างไร เกษตรกรผู้เลี้ยงแม่ไก่พยายามดูแลเอาใจใส่แม่ไก่ ชุมชน และโลกใบนี้ให้เขียวสดใสในทุ่งลาเวนเดอร์ได้อย่างไรบ้าง

๒. เนื้อจากพืชโผล่ขึ้นทุกหนแห่ง

 เมื่อสิบปีที่แล้ว วีแกน และผู้บริโภคมังสวิรัติเป็นกลุ่มลูกค้าหลักสำหรับอาหารจากพืช วันนี้โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว เกือบร้อยละ ๙๐ ของผู้บริโภคไม่ได้บอกว่าตนเองเป็นวีแกน หรือผู้บริโภคมังสวิรัติอีกต่อไปแล้ว แต่ผันตัวเองกลายเป็น "ผู้บริโภคมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น หรือ เฟล็กซิทาเรียน (Flexitarians)" ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และเอาใจใส่สุขภาพ เพื่อมุ่งลดการบริโภคเนื้อสัตว์ไม่ใช่เลิกบริโภคเนื้อสัตว์

 ยอดจำหน่ายเนื้อสัตว์จากพืช ปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง ๑.๓ แสนล้านบาท ทะยานสูงขึ้นทีเดียวร้อยละ ๓๑ เพียงระยะเวลาสองปีเท่านั้น

๓. เทคโนโลยีช่วยเปลี่ยนวิถีของอาหาร

เชื่อหรือไม่ว่า เพียงร้อยละ ๓๕ ของผู้ใหญ่ในสหรัฐฯเท่านั้นที่มีมือถือเป็นของตัวเองตั้งแต่ทศวรรษที่ ๒๐๑๐ เป็นต้นมา แต่วันนี้จำนวนผู้ใช้มือถือเพิ่มเป็นสองเท่าถึงร้อยละ ๘๑ แล้ว

โทรศัพท์มือถือได้รับความนิยม และพัฒนาแอพลิเคชันใหม่ๆให้ใช้ได้ง่าย และสะดวกขึ้นในการสั่งของใช้ที่ส่งตรงถึงบ้าน บริการรับส่งอาหาร และรายการอาหารจากภัตตาคารชั้นนำ วิถีชีวิตที่รวดเร็วกับตารางเวลาที่ยุ่งจนไม่มีเวลา ทำให้ผู้คนสนใจสั่งซื้ออาหารออกมาจากร้านผ่านทางมือถือคิดเป็นสัดส่วนของยอดจำหน่ายจากร้านอาหารมากกว่าร้อยละ ๒๕ 

๔. เนื้อไก่อินทรีย์ และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ

ผู้บริโภคต้องการเนื้อสัตว์ปีกอินทรีย์ และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ยอดจำหน่ายอาหารอินทรีย์เพิ่มเป็นสองเท่าระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวอ้างอิงตามสมาคมผู้จำหน่ายสินค้าอินทรีย์ในสหรัฐฯ

ผู้บริโภควิตกกังวลแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น และให้ความสำคัญอย่างมากกับการใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตสัตว์ปีกเป็นอาหาร ผู้ผลิตเนื้อไก่อย่างไทสันฟู้ดได้เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของตนเองเป็น ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเลยทีเดียว (No Antibiotic Ever, NAE) และบริษัท Fieldale Farms ประกาศไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในกระบวนการผลิตในปี พ.ศ. ๒๕๕๗

เอกสารอ้างอิง

Doughman  E. 2019. 4 trends that changed poultry production in the last decade.. [Internet]. [Cited 2019 Dec 23]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/39343-trends-that-changed-poultry-production-in-the-last-decade
ภาพที่ ๑ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ทำลายล้างธุรกิจอาหารระหว่างทศวรรษที่ ๒๐๑๐ (แหล่งภาพ Monkey Business Images | Dreamstime.com) 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...