เครื่องมือสำคัญเช่น การเสริมสารอาหาร โพร-และพรีไบโอติก ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์ปีกให้มีความสมดุลของจุลินทรีย์ที่มีสุขภาพดีได้
ระบบทางเดินอาหารเป็นจุดตั้งต้นทั้งโดยตรง หรือโดยอ้อม สำหรับโรคสัตว์ปีกมากมาย ความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน และกลมกลืนระหว่างไมโครไบโอมในลำไส้ และโฮสต์มีบทบาทสำคัญต่อการทำหน้าที่
แบคทีเรียมากกว่า ๑,๐๑๒ สายพันธุ์อาศัยในลำไส้ไก่ ยังมีเชื้อไวรัส เชื้อรา และจุลินทรีย์อื่นๆ รวมกันเรียกว่า ไมโครไบโอมของลำไส้ ส่วนใหญ่แล้ว จุลินทรีย์ในลำไส้ทำงานร่วมกันเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของโฮสต์ อย่างไรก็ตาม การทำหน้าที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของไมโครไบโอมคือ การกดประชากรของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ที่สามารถก่อให้สัตว์ป่วยต่อไปได้
ตัวอย่างหนึ่ง ได้แก่ เชื้อบิด เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดในการทำลายผนังลำไส้ของสัตว์ปีก การทำลายผนังลำไส้ ส่งผลให้เพิ่มโอกาสการเกิดโรคอื่นๆในสัตว์ปีก
อาณาจักรที่เป็นเอกลักษณ์
เชื้อจุลินทรีย์ทำให้ระบบทางเดินอาหารของสัตว์ปีกแต่ละตัวมีความเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน และเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ฟักเป็นตัว เนื่องจาก เชื้อแบคทีเรียชนิดแรกที่เข้าสู่ทางเดินอาหารของลูกไก่เริ่มต้นมาจากแม่ไก่ สุขภาพของทางเดินอาหารจึงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่พ่อแม่
ตัวบ่งชี้ของสุขภาพสัตว์
ไมโครไบโอมของสัตว์ปีกไม่เพียงมีความสำคัญต่อสุขภาพทางเดินอาหารเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลต่อสุขภาพสัตว์โดยภาพรวมอีกด้วย
แม้ว่า งานวิจัยด้านไมโครไบโอมในสัตว์ปีกยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น แต่ก็มีหลักฐานจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่า ไมโครไบโอมสามารถส่งผลต่อสุขภาพสัตว์ปีกได้ โครงการไมโครไบโอมในมนุษย์ได้เชื่อมโยงไมโครไบโอมในร่างกายมนุษย์กับโรค และความผิดปรกติจำนวนมาก รวมถึง โรคติดเชื้อ โรคตับ มะเร็งของระบบทางเดินอาหาร โรคเมตาโบลิก โรคทางเดินหายใจ ความผิดปรกติทางจิต และความผิดปรกติของภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง
การจัดการเพื่อเลี้ยงสัตว์ปีกไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ
ในอดีต โรคจำนวนมากเริ่มต้นขึ้นในลำไส้สัตว์ปีก สามารถใช้ยาปฏิชีวนะรักษาได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตสัตว์ปีกส่วนใหญ่ได้ขยับตัวไปสู่ระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic-free หรือ no-antibiotics-ever) เพื่อสนองความใส่ใจของผู้บริโภคต่อปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ
ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสามารถช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีไว้ได้ในร่างกายของสัตว์ โดยการให้สาอาหารที่เหมาะสม และควบคุมเชื้อก่อโรคไว้ให้ได้ ในปัจจุบัน นักวิชาการให้ความสำคัญกับการจัดการสุขภาพระบบทางเดินอาหาร โดยเปลี่ยนจากความคิดต่อต้าน กลายเป็นการยอมรับในการทำงานร่วมกับไมโครไบโอม โดยการใช้พรีไบโอติก และโพรไบโอติก
เอกสารอ้างอิง
Doughman E. 2020. The microbiome’s crucial role in poultry gut health. [Internet]. [Cited 2021 Jan 8]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/41941-the-microbiomes-crucial-role-in-poultry-gut-health
ภาพที่ ๑ อิทธิพลของไมโครไบโอมต่อสุขภาพทางเดินอาหารสัตว์ปีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น