วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ปศุสัตว์บราซิลขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์

รัฐบาลบราซิลพยายามลดอุณหภูมิภาคการผลิตปศุสัตว์ที่กำลังพยายามเรียกร้องขอลดภาษีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์

              ภาคการผลิตปศุสัตว์บราซิลเกิดความกลัวว่าจะเกิดการขาดแคลนข้าวโพด และถั่วเหลือง เนื่องจาก ราคาที่สูงขึ้น และพฤติกรรมของผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์บางส่วน สถานการณ์ที่แปลกประหลาดในปีนี้ บราซิลคาดว่าได้มีการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์มากที่สุดแล้วราว ๒๗๑ ล้านตัน

              แม้ว่าราคาข้าวโพดจะลดลงเล็กน้อยในตลาดโลก ภาคการผลิตสุกร และสัตว์ปีกย้ำว่า รัฐบาลควารแทรกแทรงตลาดเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาสูงเกินไป ข้อเรียกร้องโดยตรงไปยังประธานาธิบดีบราซิล ฌาอีร์ โบลโซนารู ถึงความเสี่ยงที่เกิดจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น กำลังส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเนื้อสัตว์ปีก และสุกร ผู้เชี่ยวชาญโต้แย้งว่า ตลาดดูเหมือนจะลดการผลิตสินค้าเหล่านี้

              ประธานสมาคมโปรตีนจากสัตว์แห่งบราซิล ริคาร์โด ซานติน เรียกร้องว่า ประธานาธิบดีจำเป็นต้องแทรกแซงราคาสินค้า เนื่องจาก อีกไม่นานบนโต๊ะอาหารชาวบราซิลจะไม่เหลืออะไรเลย หากรัฐบาลไม่รีบดำเนินการโดยเร็ว ไม่ได้หมายถึงเพียงไม่มีอาหาร แต่โอกาสหาซื้อได้ก็ลดลงด้วย คนจนจะได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรก ราคาข้าวโพดเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๘๐ ถั่วเหลือง ร้อยละ ๑๔๐ กระดาษแข็ง ร้อยละ ๖๘ น้ำมันดีเซล ร้อยละ ๓๐ และบรรจุภัณฑ์ ร้อยละ ๘๕ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นมา 

              ราคาข้าวโพดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกครั้งในตลาดโลก จึงเรียกร้องให้ยกเว้นภาษีนำเข้า และการจัดซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ และเรียกร้องให้ยกเลิกข้อจำกัดการนำเข้าข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมจากสหรัฐฯ

การลดหย่อนภาษีนำเข้า

              รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร บราซิล มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายภาษีการนำเข้า และการพาณิชย์ข้าวโพดอาหารสัตว์ เพื่อลดแรงกดดันต่อต้นทุนของเกษตรกรภายในประเทศ นอกจากนั้น ยังขอให้เพิ่มการผลิตข้าวโพดภายในประเทศในรอบการผลิตถัดไป และเชื่อว่าจะช่วยลดราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ในระยะยาว รายงานการเก็บเกี่ยววัตถุดิบอาหารสัตว์ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔ แสดงให้เห็นว่า วัตถุดิบอาหารสัตว์จากบราซิลใกล้ถึง ๒๗๑.๑ ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕.๗ หรือ ๑๔.๗ ล้านตันเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๒ และ ๒๕๖๓

              สถิติการผลิตถั่วเหลือง และการผลิตข้าวโพดรวมที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ ถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตได้เกินกว่าการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งหมดของบราซิล รวมแล้ว ๑๓๕.๔ ล้านตัน หรือร้อยละ ๘.๕ หรือสูงกว่าการเก็บเกี่ยวครั้งก่อนคิดเป็น ๑๐.๖ ล้านตัน ข้าวโพดผลิตได้ราว ๑๐๖.๔ ล้านตัน สูงกว่ารอบปี พ.ศ.๒๕๖๒ และ ๒๖๖๓ ร้อยละ ๓.๗ 

เอกสารอ้างอิง

Azevedo D. 2021. Brazilian livestock sector dreads shortage of grains. [Internet]. [Cited 2021 Jun 1]. Available from: https://www.poultryworld.net/Nutrition/Articles/2021/6/Brazilian-livestock-sector-dreads-shortage-of-grains-755600E/

The Brazilian government attempts to calm down the sector, which has been asking for tax cuts on grain imports. Photo: Peter Roek

ภาพที่ ๑ ปศุสัตว์บราซิลขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์ (แหล่งภาพ Phytobiotics) 



วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ไข้หวัดนก เอช ๕ เอ็น ๘ ระบาดในจีนแล้ว

 จีนตรวจพบเชื้อวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง สับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๘ แล้วในมณฑลส่านซี ภายหลังสัตว์ปีกป่าตายเป็นจำนวนมาก อิรัก และไต้หวันมีรายงานยืนยันสัตว์ปีกติดเชื้อเอชพีเอไอ ไก่ไข่ในเกาหลีใต้ยังเสียหาย และราคาไข่ภายในประเทศยังแพงนับตั้งแต่การระบาดในช่วงแรก จีนยังมีรายงานการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มีต้นกำเนิดจากสัตว์ปีก

              ภายหลังการตายของนกน้ำจำนวนมากที่อุทยานแห่งชาติในมณฑลส่านซี ผลการทดสอบในจีนบ่งชี้ว่า พบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง สับไทป์เอช ๕ เอ็น ๘ เป็นครั้งแรกในมณฑลนี้ อ้างอิงตามรายงานของเจ้าหน้าที่จีนต่อองค์กรโรคระบาดสัตว์โลก นกเป็ดผีจำนวนมากกว่า ๔,๒๐๐ ตัวตายที่อุทยานแห่งชาติ Hongjiannao ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ฝูงนกเป็ดผีเหล่านี้อาศัยใกล้กับ Erlintu โดยเมืองนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เมือง Yulin ทางตอนเหนือของมณฑลส่านซี ซึ่งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ภายหลังพบการติดเชื้อยืนยันแล้ว เจ้าหน้าที่ได้เริ่มใช้มาตรการฉุกเฉินตามคำสั่งของกระทรวงเกษตรแห่งชาติจีน รวมถึง การกำจัดซากสัตว์ตาย และฆ่าเชื้อบริเวณพื้นที่โดยรอบ การระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงครั้งล่าสุดนี้เป็นครั้งที่ ๗ แล้วในปีนี้ ทุกครั้งเป็นการตรวจพบในนกป่า เมื่อเดือนที่แล้ว เชื้อไวรัสสายพันธุ์เดียวกันยังตรวจพบได้เป็นครั้งแรกในพื้นที่ปกครองตนเองทิเบตในนกป่าเช่นกัน

โรคไข้หวัดนกระบาดในฟาร์มอิรัก

              เชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง สับไทป์เอช ๕ เอ็น ๘ ชนิดเดียวกันนี้ยังยืนยันแล้วในช่วงต้นเดือนนี้ในอิรัก จำนวนสัตว์ปีกราว ๖๐,๐๐๐ ตัวที่ฟาร์มใน Safwan โดยตายไปถึง ๔๕,๐๐๐ ตัว และที่เหลือถูกทำลายทั้งหมด ตามรายจากต่อองค์การโรคระบาดสัตว์โลก เมืองนี้ตั้งอยู่ใน Basrah อยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอิรัก โดยฟาร์มตั้งอยู่ใกล้กับพรมแดนคูเวต ตั้งแต่เริ่มต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นมา เกิดการระบาดไปแล้ว ๓ ครั้งจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันนี้ในอิรัก ก่อนหน้านี้เป็นการระบาดทางตอนกลางของ Saladin โดยมีจำนวนสัตว์ปีก ๒๖๐,๐๐๐ ตัวที่ถูกทำลาย และตาย     

โรงเชือดไต้หวันตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในไก่พื้นเมือง

              ในระหว่างต้นเดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนพฤษภาคม โรงเชือดสัตว์ปีกในไทเปตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนนกชนิดความรุนแรงสูง สับไทป์เอช ๕ เอ็น ๒ ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพซากสัตว์ปีก อ้างอิงตามองค์การอนามัยโลก สัตว์ปีกที่ตรวจพบเป็นเพียงฝูงไก่พื้นเมืองขนาดเล็ก ๗ ถึง ๑๑ ตัว ซากสัตว์ทั้ง ๒๘ ตัวถูกทำลายที่โรงเชือดในตำบล Wanhua เชื้อไวรัสสับไทป์ดังกล่าวถูกตรวจพบอีกครั้งในประชากรสัตว์ปีกไต้หวันในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓ นับตั้งแต่นั้นยังมีการระบาดอีก ๕ ครั้ง โดยมีสัตว์ปีกตาย ๘๐๐ ตัว และมากกว่า ๑๔,๐๐๐ ตัวถูกทำลาย เพื่อหยุดการระบาดของโรค

มาตรการควบคุมโรคไข้หวัดนกผ่อนคลายในญี่ปุ่น

              นับตั้งแต่เชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง สับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๘ กลับมาระบาดใหม่ในญี่ปุ่นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มีการยืนยันการระบาดไปแล้ว ๖๕ ครั้งต่อองค์การโรคระบาดสัตว์โลก จำนวนสัตว์ปีกที่เกิดโรคมากกว่า ๙.๙๗๒ ล้านตัว อ้างจากรายงานล่าสุดของญี่ปุ่น ยังมีการทำลายสัตว์ปีกอีก ๑๖๔ ตัว รวมถึง ฟาร์มไก่ไข่ ๓ แห่งในจังหวัดมิยาซากิในเดือนมกราคม และไก่ไข่อีก ๑๖๐ ตัวในเมืองอิบารากิที่ยืนยันโรคมาแล้วเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มาตรการควบคุมโรคในพื้นที่เหล่านี้ผ่อนคลายลงแล้วในวันที่ ๓ และ ๑๐ มีนาคม ตามลำดับ การระบาดล่าสุดที่ยืนยันแล้วเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคมเป็นไก่ไข่ระยะไข่ ๗๗,๐๐๐ ตัวในเมืองฮาโกนจังหวัดโทชิจิ ภายหลังการทำลายสัตว์ป่วย และฆ่าเชื้อ การควบคุมการเข้าพื้นที่แล้ว ได้ผ่อนคลายลงมาตรการแล้วเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ตามรายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์   

เกาหลียังต้องนำเข้าไข่ไก่

              นับตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ กระทรวงเกษตรเกาหลีประกาศอนุญาตนำเข้าไข่ไก่ ๕๐ ล้านฟอง เพิ่มขึ้นอีก ๑๐ ล้านฟองจากสองเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เพื่อรักษาเสถียรภาพของปริมาณไข่ไก่ และราคาภายในประเทศ หลังการระบาดของโรคไข้หวัดนกก่อนหน้านี้ ราคาไข่ที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้นในประเทศเมื่อเดือนที่ผ่านมา ในรอบปีนี้ เกาหลีใต้เพิ่มการนำเข้าไข่ไก่ไปแล้วมากกว่า ๑๐๐ ล้านฟอง เพื่อบรรเทาปัญหาไข่ไก่ขาดตลาด แม้ว่าจะไม่มีรายงานโรคไข้หวัดนกเพิ่มเติมในประเทศนานกว่าสองเดือนแล้ว จำนวนแม่ไก่ก็ยังไม่ฟื้นกลับคืนเป็นปรกติเท่ากับก่อนการระบาดของโรค นับตั้งแต่โรคไข้หวัดนกระบาดในเกาหลีใต้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓ เป็นต้นมา ยืนยันการระบาดของโรคแล้ว ๑๐๙ ครั้ง ส่งผลให้มีสัตว์ปีกหายไป ๑๐.๒๖ ล้านตัวจากการตายของสัตว์ปีก ๒๒,๐๐๐ ตัว และทำลายอีก ๑๐.๒๔ ล้านตัว 

ผู้ติดเชื้อเอช ๕ เอ็น ๖ ในจีน

              ต้นเดือนมิถุนายนนี้ คณะกรรมาธิการด้านสุขภาพแห่งชาติจีนรายงานผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก สับไทป์เอช ๕ เอ็น ๖ ต่อองค์การอนามัยโลก ผู้ป่วยเป็นหญิงอายุ ๔๙ ปีจากมณฑลเสฉวน แสดงอาการตั้งแต่วันที่ ๑๓ พฤษภาคม แล้วรักษาตัวในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ด้วยอาการของโรคปอดอักเสบ อาการล่าสุดยังไม่ทราบแน่ชัด แม้ว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้จะเป็นไข้หวัดนก แต่ผู้ป่วยไม่มีประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกเลย ยังไม่พบรายงานเพิ่มเติมจากผู้ใกล้ชิด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมา ผู้ติดเชื้อโรคไข้หวัดนกสับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๖ ที่รายงานต่อองค์การอนามัยโลกทั้งหมด ๓๒ ราย โดย ๑๙ รายเสียชีวิต ก่อนหน้านี้ จีนก็พึ่งมีรายงานยืนยันผู้ติดเชื้อโรคไข้หวัดนกจากเอช ๑๐ เอ็น ๓ เป็นครั้งแรกของโลกมาแล้ว

เอกสารอ้างอิง

Linden J. 2021. China detects H5N8 HPAI virus in Shaanxi. [Internet]. [Cited 2021 Jun 15]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/43042-china-detects-h5n8-hpai-virus-in-shaanxi?v=preview&utm_source=Omeda&utm_medium=Email&utm_content=NL-Poultry+Update&utm_campaign=NL-Poultry+Update_20210616_1900&oly_enc_id=2248A6821912I1W

ภาพที่ ๑ ไข้หวัดนก เอช ๕ เอ็น ๘ ระบาดในจีนแล้ว (แหล่งภาพ ilolab | BigStock.com)



วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ไข้หวัดนกในโปแลนด์คลี่คลายแล้ว

 โปแลนด์ทำลายไก่ไปแล้ว ๑๑ ล้านตัวจากโรคไข้หวัดนกในปีนี้ เวลานี้ ช่วงเวลาที่เลวร้ายน่าจะจบลงแล้ว

              สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกกำลังคลี่คลาย จำนวนครั้งของการระบาดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเหลือไม่มากแล้วในช่วงวันที่ ๑๓ ถึง ๑๖ พฤษภาคมที่ผ่านมา เชื่อว่า โรคไข้หวัดนกกำลังถูกกำจัดออกจากประเทศภายในไม่กี่สัปดาห์ต่อจากนี้  การเปลี่ยนแปลงอากาศเป็นการเปลี่ยนแปลงเกมส์ที่สำคัญ เนื่องจาก นกป่าก็จะพยายามเดินทางไปยังสถานที่อบอุ่นที่สุดสำหรับการดำรงชีวิต รวมกันเป็นฝูงใหญ่ และมีโอกาสติดเชื้อจากการอพยพ และแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปยังสัตว์ในฟาร์ม ในปีนี้ โปแลนด์รายงานโรคไข้หวัดนกไปแล้ว ๓๒๖ ครั้ง ขณะที่ ฝรั่งเศส เป็นประเทศเดียวในยุโรปที่ไข้หวัดนกยังระบาดหนักมาก ล่าสุดเกือบ ๕๐๐ ครั้งแล้ว

ผลกระทบของโรคไข้หวัดนก

              อย่างไรก็ตาม โรคไข้หวัดนกยังส่งผลกระทบต่อการผลิตสัตว์ปีกอีกหลายวิธี ปัจจุบัน ราคาเฉลี่ยไก่เนื้อในประเทศขยับขึ้นแพงที่สุดทำลายสถิติ ๓๖.๐๕ ถึง ๓๘.๕๔ บาทต่อกิโลกรัม สูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ ๒๐ เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว เทียบเท่ากับเนื้อไก่งวงปรกติ ปีนี้ เชื้อไวรัสไข้หวัดนกส่งผลกระทบต่อการผลิตสัตว์ปีกทั้งหมดเป็นเวลานาน ยังไม่เคยพบการระบาดใหญ่ขนาดนี้มาก่อน สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงในการเลี้ยงสัตว์ปีก สัตว์ปีกพันธุ์ราว ๒ ล้านตัวถูกทำลาย น่าจะส่งผลต่อราคาไข่ฟัก และราคาลูกไก่ในเวลาต่อมา

              สถานการณ์การผลิตสัตว์ปีกในโปแลนด์น่าตกใจมาก เนื่องจาก การระบาดของโรคไข้หวัดนก การหายไปของฝูงสัตว์ปีกจำนวนมากได้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อวงจรการผลิต ฟาร์มสัตว์ปีกพันธุ์ และโรงฟักไม่สามารถปฏิบัติงานได้ปรกติเป็นประเด็นสำคัญ ในหลายพื้นที่ของประเทศ การผลิตสัตว์ปีกจะไม่สามารถกลับมาผลิตได้ตามปรกติอีกเป็นเวลานาน ผู้ผลิตสัตว์ปีกขนาดเล็ก และขนาดกลางต้องล้มหายไปจากตลาด โปแลนด์ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกมากในปีนี้

เอกสารอ้างอิง

Vorotnikov V. 2021 Poland overcomes AI epidemic. [Internet]. [Cited 2021 Jun 4]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2021/6/Poland-overcomes-AI-epidemic-754519E/

ภาพที่ ๑ โปแลนด์ทำลายสัตว์ปีกไปแล้ว ๑๑ ล้านตัวจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในปีนี้ นับเป็นวิกฤติการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ (แหล่งภาพ Peter Roek)



วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

สงครามแซนด์วิชไก่ทอดในสหรัฐฯ

 ล่าสุด ป๊อปอายทดลองตลาดแซนด์วิชไก่ทอดทมิฬชนิดใหม่ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเมนูพิเศษนี้จะวางจำหน่ายอย่างถาวร หรือเป็นเฉพาะช่วงเวลาจำกัด

              ป๊อปอายเปิดตัวแซนวิชไก่ทอดทมิฬบนเมนูที่จำหน่ายออนไลน์ โดยแซนด์วิชชนิดใหม่ชนิดนี้นำมาจำหน่ายภายหลังความสำเร็จในการทำตลาดแซนด์วิชไก่หลากหลายยี่ห้อจนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง จนเกิดสงครามเมนูจานด่วนแซนด์วิชไก่

              แซนด์วิชไก่ทมิฬ มีทั้งแบบคลาสสิก และเผ็ดร้อน สอดไส้ด้วยสันในไก่ปรุงรสเข้มเป็นสีดำคล้ำทมิฬ ซึ่งชิ้นส่วนสันในไก่นี้จะไม่มีการผสมแป้งเลย แล้วปรุงรส เสริฟไปพร้อมกับมายองเนส และขนมปังที่ผสมด้วยไข่ ยีสต์และเนย เมนูใหม่นี้วางจำหน่ายในร้านอาหารบางแห่งเท่านั้น รวมถึง รัฐเท็กซัส เพนซิลวาเนีย และหลุยส์เซียนา อ้างอิงตามโฆษณาในสื่อโซเชียล ป๊อปอายยังไม่ได้ให้ความเห็นว่าจะขยายตลาดจำหน่ายไปทั้งประเทศหรือไม่ หลังจากทดลองสินค้าแล้ว

              ป๊อปอายกำลังทดลองตลาดผู้ที่ชื่นชอบแซนด์วิชไก่ และยังคงมองหานวัตกรรมเมนูอาหารใหม่ๆที่ใช้เครื่องปรุงที่รสชาติจัดจ้าน และหลากหลายมากมาย และจะพยายามทดสอบกับตลาดผู้หลงรักแซนด์วิชไก่ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เมนูต่างๆยังไม่เป็นเมนูที่วางจำหน่ายอย่างถาวร

สงครามแซนด์วิชไก่ทวีความดุเดือด

              แซนด์วิชไก่ทอดยังคงเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคต่อเนื่องจากปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่กลายเป็นสงครามแซนด์วิชไก่ขึ้นในสหรัฐฯ แซนด์วิชไก่ป๊อปอาย กลายเป็นพาดหัวข่าวภายหลังจำหน่ายหมดภายในไม่ถึงสองสัปดาห์ หลังการเปิดตัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อันเป็นผลมาจากสื่อโซเชียลที่โหมข่าวกลายเป็นไวรัลสงครามโฆษณาสินค้ากับคู่แข่งรายสัญ ชิก-ฟิล-เอ (Chick-fil-A)” ช่วงชิงความเป็นผู้นำตลาดแซนด์วิชไก่

              ป๊อปอาย และ ชิก-ฟิล-เอ ยังเป็นผู้นำตลาดในวงการแซนด์วิชไก่ แต่ขณะนี้ อย่างน้อยเชนร้านอาหารจานด่วนอย่างน้อย ๖ ราย ได้เพิ่มแซนด์วิชไก่ไว้ในเมนูเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นมา โดยทั้งแมคโดนัลด์ และเคเอฟซีเพิ่มรายได้ในไตรมาสที่หนึ่งจากรายการใหม่ แซนด์วิชไก่ ผู้บริหารของยัมแบรนด์ บริษัทแม่ของเคเอฟซี     อ้างว่า ยอดจำหน่ายอาหารเพิ่มเป็นสองเท่าเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ แฟรนส์ไชซีของแมคโดนัลด์ รายงานว่า สามารถจำหน่ายแซนด์วิชไก่ได้ ๒๖๒ ชิ้นต่อวัน    

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2021 Popeyes begins tests of blackened chicken sandwich. [Internet]. [Cited 2021 Jun 1]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/42938-popeyes-begins-tests-of-blackened-chicken-sandwich






ภาพที่ ๑ สงครามแซนด์วิชไก่ทอดในสหรัฐฯ (แหล่งภาพ Popeyes)








วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วัคซีนเอ็ม อาร์เอ็นเอ ในสัตว์ปีก

 นักวิจัยให้คำแนะนำสำหรับการพัฒนาโปรตีนสไปค์ โครงสร้างที่เชื้อไวรัสใช้ในการติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ เพื่อให้เทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอแบบเดียวกับวัคซีนโควิด ๑๙ วันหนึ่งจะสามารถใช้ป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาในสัตว์ปีกคือ โรคหลอดลมอักเสบติดต่อหรือไอบีได้ พร้อมไปกับโรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ หรือไอแอลที

              การเริ่มต้นปฏิวัติการพัฒนาวัคซีนสำหรับการผลิตสัตว์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอต่อโรคโควิด ๑๙ พบว่า ป้องกันโรคได้ดีกว่าวัคซีนเวกเตอร์ตามความเห็นของ สตีเฟน สปาตส์ ผู้เชี่ยวชาณด้านจุลชีววิทยาในโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์ปีกที่กระทรวงเกษตรสหรัฐ หรือยูเอสดีเอ บริการด้านวิจัยทางการเกษตร หรือเออาร์เอส ความท้าทายใหญ่ในปัจจุบันเป็นการใช้วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอชนิดใหม่สำหรับการผลิตสัตว์คือ ต้นทุนการผลิต เมื่อไรก็ตามที่การผลิตจำนวนมากได้สำเร็จแล้ว เชื่อว่า ราคาก็จะถูกลง แต่ไม่ได้หมายความว่า เราไม่พยายามลงมือทำให้เห็นว่าใช้งานได้หรือไม่

วัคซีนเอ็ม อาร์เอ็นเอ ทำงานอย่างไร

              วัคซีนโควิด ๑๙ ใช้เทคโนโลยีเอ็ม อาร์เอ็นเอ ที่บรรจุอยู่ในอนุภาคนาโนของลิปิด ส่วนของเอ็ม อาร์เอ็นเอจะถูกตัดแต่งทางพันธุกรรมให้มีสำเนาของโปรตีนสไปค์ โครงสร้างที่คล้ายหนามที่ยื่นออกมาจากผิวของอนุภาคเชื้อไวรัส ใช้สำหรับการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ ระบบภูมิคุ้มกันเรียนรู้ที่จะจดจำโปรตีนแปลกปลอม แล้วสร้างแอนติบอดีที่สามารถป้องกันร่างกายต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ได้ในอนาคต

               หลักการเดียวกันนี้สามารถใช้ออกแบบวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ และกล่องเสียงอักเสบติดต่อ ที่เป็นเชื้อไวรัสสำคัญต่อระบบหายใจ ความงดงามของระบบนี้คือ เราสามารถฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียวแล้วป้องกันโรคได้ทั้งสองโรคพร้อมกัน เนื่องจาก อนุภาคนาโนของลิปิดสามารถบรรจุเอ็มอาร์เอ็นเอได้มากกว่าหนึ่งชนิด

              เทคโนโลยี เอ็ม อาร์เอ็นเอ เป็นประโยชน์หลายด้าน รวมถึง ความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วต่อเชื้อไวรัสที่กำลังกลายพันธุ์ และเทคโนโลยีเอนแคปซูเลชันด้วยอนุภาคนาโนของลิปิดจะเป็นโซลูชันสำหรับปัญหาแอนติบอดีจากแม่ที่พบได้บ่อยจากวัคซีน

              เมื่อนึกถึงวัคซีนเอ็ม อาร์เอ็นเอ ก็จะเป็นการสังเคราะห์ทางเคมี จึงไม่จำเป็นต้องใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ไม่ต้องเตรียมซีรัมจากโค ไม่ต้องกังวลเรื่องการปนเปื้อนจากเชื้อรา เป็นการตัดข้อจำกัดของการผลิตวัคซีนที่ใช้สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่ หรือเซลล์เพาะเลี้ยง ดังนั้น จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างมากหากได้รับการพัฒนาไปสู่วัคซีนสัตว์ปีกในอนาคตอันใกล้นี้ที่มีการใช้กันจำนวนมหาศาลในแต่ละปี        

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2021 Can mRNA vaccines protect against poultry coronaviruses too?. [Internet]. [Cited 2021 May 31]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/42929-can-mrna-vaccines-protect-against-poultry-coronaviruses-too?v=preview&utm_source=Omeda&utm_medium=Email&utm_content=NL-Poultry+Future&utm_campaign=NL-Poultry+Future_20210603_0430&oly_enc_id=2248A6821912I1W






ภาพที่ ๑ วัคซีนเอ็ม อาร์เอ็นเอ ในไก่  (แหล่งภาพ JurgaR | iStockPhoto.com)



วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564

สมดุลระหว่างการผลิตอย่างยั่งยืน และสวัสดิภาพสัตว์

 การสัมมนาด้านเนื้อสัตว์ปีกที่ผ่านมา โซฟี ทรูป แห่งห้างร้านค้าปลีก มอร์ริสัน มองเห็นความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนไป ใส่ใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ก็ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพสัตว์ และสนับสนุนฟาร์มแห่งบริติช ผู้ผลิตต้องคิดหาจุดที่สมดุลของความต้องการผู้บริโภค

              ขณะนี้เป็นช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับฟาร์มแห่งบริติชไปอีกหลายรุ่นต่อจากนี้ หลักสวัสดิภาพสัตว์ของมอร์ริสินได้ช่วยขับเคลื่อนภาคการผลิตเนื้อสัตว์ปีก โดยบริษัทตั้งเป้าหมายเริ่มฟักลูกไก่ของตัวเองทั้งหมดให้ได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๘ นี้ ในปัจจุบัน เนื้อสัตว์ปีกของบริษัทร้อยละ ๘๐ มาจากลูกไก่ของตัวเองร้อยละ ๘๐ 

              ซูเปอร์มาร์เก็ตยังสนับสนุนโครงการปรับปรุงการจับไก่ โดยการสนับสนุนการปฏิบัติงานของพนักงาน และการฝึกอบรม โดยได้เริ่มจากไก่โตช้าพันธุ์ฮับบาร์ด เรดโบร ในปีถัดไป เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค โดยไก่พันธุ์เรดโบรนี้จะเลี้ยงด้วยความหนาแน่นต่ำ

              ในภาคการผลิตไก่ไข่ บริษัทใช้แม่ไก่ที่เลี้ยงปล่อยอิสระทั้งหมด สำหรับการผลิตไข่ที่จำหน่ายพร้อมเปลือก และตั้งเป้าให้การจำหน่ายไข่ทั้งหมดมาจากแม่ไก่ที่เลี้ยงปล่อยอิสระทั้งหมดภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๘ เช่นเดียวกัน

              ซูเปอร์มาร์เก็ตกำลังลงเงินเพื่อเข้าสู่โครงการที่ครอบคลุมการใช้เอ็นริชเมนต์เพิ่มขึ้น และศึกษาความเข้าใจเพื่อหาทางลดการตัดปากลูกไก่ เมื่อเร็วๆนี้ อะคาเดมีแม่ไก่ไข่แห่งบริติช เป็นผู้ผลิตไข่จากแม่ไก่ปล่อยอิสระรายสำคัญที่ส่งให้กับ Chippindale Foods ที่วิทยาลัย Bishop Burton

              การพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ได้มาถึงเวลาแล้ว เมื่อมอร์ริสันคาดหวังว่า ในปีถัดไปก็ตั้งเป้าหมายผลิตไข่ไก่ ซีโร่คาร์บอน เป็นครั้งแรกในร้าน และตั้งใจรับสินค้าโดยตรงโดยตรงจากฟาร์มในสหราชอาณาจักรทั้งหมดในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ นี้ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาร์เปอร์ อะดัมส์ ที่ตั้งโรงเรียนด้านฟาร์ม และการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนเป็นครั้งแรก โดยมองไปที่ระบบการผลิตที่กำลังพัฒนาต่อไปข้างหน้า ตั้งเป้าหมายวิจัยเพื่อขับเคลื่อนสูตรอาหาร ปริมาณเนื้อสัตว์ ระบบเซนเซอร์ การใช้ประโยชน์จากข้อมูล ระบบการจัดการฟาร์มแม่นยำ และการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในฟาร์ม 

              เดวิด เนลสัน แห่งอะเวรา ฟู้ดส์ คิดว่าเป็นการง่ายที่จะปรับปรุงพัฒนาในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น การปล่อยแก๊สเสีย แต่ความจริงแล้วยังส่งผลกระทบต่ออีกด้านหนึ่ง เช่น การเข้าถึงอาหารของผู้บริโภคด้วย ความเห็นต่อ พันธสัญญาการผลิตไก่เพื่อยุโรป หรืออีซีซี (Eupopean Chicken Commitment)” โดยมีเป้าหมายลดความหนาแน่นการเลี้ยง การใช้สายพันธุ์ไก่โตช้า ความจริงแล้ว การเลี้ยงสัตว์ปีกปล่อยอิสระ หรือสัตว์ปีกโตช้ามีต้นทุนต้องจ่ายทางสิ่งแวดล้อม  

              ระบบมาตรฐานอาร์ทีเอ หรือเร้ดแทรกเตอร์ แอสชัวแรนส์ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ หรืออีกสองปีข้างหน้าจะปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐานอีซีซีบางส่วน เช่น การจัดเตรียมเอนริชเมนต์ และแสงธรรมชาติ แต่จะไม่ครอบคลุมความหนาแน่น และสายพันธุ์ไก่ 

              คณะกรรมาธิการยุโรป กำลังอนุญาตให้มีการใช้โปรตีนจากสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป (Processed Animal Protein, PAP) เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ทดแทนถั่วเหลือง แต่ไม่ว่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนถั่วเหลืองจะถูกใช้ในอนาคตหรือไม่ ก็ต้องรอการตอบสนองจากร้านค้าปลีก และผู้บริโภค รวมถึง การลงทุนในระบบการผลิต

              ภาคการผลิตเนื้อสัตว์ จำเป็นต้องลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะ เพื่อรับมือกับเบร็กซิต และการสูญเสียแรงงานจากยุโรปตะวันออก อะเวรา ฟู้ดส์ กำลังใช้ไบโอแก๊สสำหรับรถบรรทุกในอนาคต

              ผู้เลี้ยงไก่เนื้อในเฮียร์ฟอร์ไชร์ กำลังสนใจการใช้หุ่นยนต์ เซนเซอร์ และเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่จะใช้ และมีบทบาทต่อไปในการผลิตสัตว์ปีก ยิ่งในสถานการณ์โรคระบาดไข้หวัดนก ความปลอดภัยทางชีวภาพต้องอยู่ในระดับเข้มข้นที่สุดตลอดเวลา

เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2021. Balancing sustainability and welfare key for meat sector. [Internet]. [Cited 2021 May 28]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2021/5/Balancing-sustainability-and-welfare-key-for-meat-sector-750996E/

ภาพที่ ๑ ความต้องการของลูกค้าทั้งด้านสวัสดิภาพสัตว์ และการปลดปล่อยแก๊สพิษ จำเป็นต้องสมดุลตามความเป็นจริง และสอดคล้องกับหลักการผลิตอย่างยั่งยืน (แหล่งภาพ Hans Prinsen)



วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ปฏิวัติเทคโนโลยีระบบดิจิตอลในการผลิตอาหารสัตว์

 ระบบดิจิตอลกำลังอุบัติขึ้นในทุกชนิดของอุตสาหกรรมการผลิตในโลกยุคสมัยใหม่ และภาคการผลิตอาหารสัตว์ย่อมเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเหล่านี้ การทำงานกับข้อมูลการผลิตอาหารสัตว์ด้วยวิถีระบบดิจิตอล ช่วยให้การจัดการข้อมูลด้านโภชนาการดียิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้การควบคุมคุณภาพ และการออกแบบสูตรอาหารสัตว์ดีขึ้นอีกด้วย  

              ระบบดิจิตอลช่วยให้ชีวิตของเราดีขึ้น และสนุกไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เราได้มีประสบการณ์ที่ดีกับระบบดิจิตอลในรถยนต เครื่องใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์เพื่อความบันเทิง และอุปกรณ์ดูแลสุขภาพ ขณะที่ สิ่งที่ไม่มีชีวิตกำลังพัฒนาให้สมาร์ตขึ้นแล้ว มนุษย์ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปด้วย การเดินทางของเทคโนโลยีดิจิตอลได้ก้าวไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตทุกชนิด แต่ละอุตสาหกรรมก็มีความก้าวหน้า ความต้องการ และวัตถุประสงค์ต่างกันไป เราจึงได้เห็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในระดับที่แตกต่างกันไป ในทางการเกษตรกรรม ผลประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างมหาศาล เชื่อว่า กำลังเกิดขึ้นตลอดไปทั้งห่วงโซ่การผลิตอาหาร นับตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ไปจนถึงผู้ผลิตอาหารสัตว์ ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบอาหารสัตว์ การจัดซื้อสินค้า และผู้ประกอบการผลิตอาหารภายในโรงงาน      

เกษตรกรรม การสั่งสมความมั่งคั่งของข้อมูล

              เหตุผลที่เทคโนโลยีดิจิตอลในการเกษตรกรรมมีโอกาสที่จะสร้างความมั่งคั่งของข้อมูลก็มีสาเหตุมาจากข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นตลอดการผลิตเป็นประจำทุกวัน โรงงานผู้ผลิตต้องผลิตอาหารสัตว์มากกว่า ๑ พันล้านตัน เพื่อให้ได้นม ๕๓๒ ล้านตัน ไข่ไก่ ๗๖.๗ ล้านตัน เนื้อสัตว์ปีก ๑๓๗ ล้านตัน และผลิตภัณฑ์จากสัตว์อีกนับไม่ถ้วน ขนาดของภาคการผลิตปศุสัตว์มีข้อมูลวัตถุดิบ และผลผลิตเกิดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งผลการเลี้ยงสัตว์ โภชนาการ คุณภาพอาหารสัตว์ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาช่วยตัดสินใจให้ดีขึ้นได้ เพื่อให้มองเห็นภาพต่างๆได้ชัดเจน วิเคราะห์แนวโน้ม และพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การประมวลผลข้อมูลใช้ความเชื่อน้อยลง และปราศจากอคติ การตัดสินใจที่สำคัญจึงใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐาน ทำให้การจัดการฟาร์มมีความถูกต้องแม่นยำ และดีที่สุด  

การจัดการอาหารสัตว์ที่แม่นยำเพิ่มขึ้น

              การจัดการฟาร์มที่แม่นยำ (Precision farming) นิยมใช้สำหรับการผลิตพืช แต่ได้ก้าวเข้าสู่การจัดการผลิตสัตว์แล้ว  การจัดการฟาร์มที่แม่นยำเป็นการใช้วิธีการที่ถูกต้อง ที่ถูกเวลา โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้อง และเจาะลึก

              เมื่อมองเข้าไปในโภชนาการอาหารสัตว์ มักคุยกันเกี่ยวกับการให้อาหารสัตว์ที่แม่นยำ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการฟาร์มที่แม่นยำโดยภาพรวม การจัดการอาหารสัตว์แม่นยำจะช่วยให้นักวิชาการอาหารสัตว์สามารถจัดการวัตถุดิบได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของสัตว์ดีขึ้น ลดการสูญเสียอาหาร ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารดีขึ้น และช่วยให้ผลผลิตเนื้อ นม และไข่มากขึ้นอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงขนาดของแร่ธาตุ หรือโปรตีน ช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างมากทางเศรษฐกิจ สวัสดิภาพสัตว์ และสุขภาพสัตว์ การจัดการอาหารสัตว์แม่นยำ จะช่วยให้ผู้ผลิตสัตว์ออกแบบสูตรอาหารสัตว์ที่ช่วยให้เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ได้อย่างยั่งยืน ยืดหยุ่น และเป็นที่ยอมรับทางสังคมได้ดีขึ้น โดยเริ่มจากความเข้าใจต่อความต้องการอาหารสัตว์ และประยุกต์สูตรอาหารสัตว์ที่เหมาะสมตามชนิดของสัตว์ อายุ เป้าหมายการผลิต และความต้องการของตลาด รวมถึง วัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน

ข้อมูลด้านอาหารสัตว์

              ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ บริษัท เทราว์ นิวทริชัน ได้พัฒนาโปรแกรม NutriOpt เป็นโซลูชันใหม่ในระบบดิจิตอล เพื่อให้บริการ และสนับสนุนเกษตรกรให้เกิดความรู้ด้านโภชนาการอาหารสัตว์ การพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี โดยมีช่องทางผ่าน MyNutriOpt portal ที่ช่วยให้เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว และเลือกใช้บริการ เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านอาหารสัตว์ นับเป็นก้าวที่สำคัญต่อการพัฒนาไปสู่การใช้ระบบดิจิตอลในสูตรอาหารสัตว์ เนื่องจาก ช่วยให้ผุ้ผลิตสร้างชุดข้อมูล แล้วมองเห็นข้อมูลได้ชัดเจนดีขึ้น วิเคราะห์แนวโน้มด้านคุณภาพอาหารสัตว์ เป็นต้น ด้วยเทคโนโลยีระบบดิจิตอลของข้อมูลด้านอาหารสัตว์จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น นับตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ ไปจนถึงการควบคุมคุณภาพ การออกแบบสูตรอาหารสัตว์ และการจัดการอื่นๆ โดยอาศัยค่าโภชนาการ และคุณภาพอาหารสัตว์ที่แม่นยำที่สุด เป็นแก่นสำคัญของการผลิตอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพสูง

พลังของเครื่องมือ และข้อมูลในระบบดิจิตอล     

              การใช้โซลูชัน และบริการในระบบดิจิตอลในทางการเกษตรจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ทำให้กระบวนการตัดสินใจง่ายขึ้น และเพิ่มความแม่นยำ และการวิเคราะห์แนวโน้มจากการตัดสินใจในแต่ละกรณี เทคโนโลยีระบบดิจิตอลในการผลิตอาหารสัตว์จะช่วยเพิ่มโอกาสสำหรับการพัฒนากลยุทธ์อาหารสัตว์แม่นยำ ในขณะนี้ มีความแม่นยำขึ้นกว่าเดิม และสามารถก้าวไปสู่ในแต่ละกระบวนการตั้งแต่วัตถุดิบ การออกแบบสูตร และกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ นับเป็นการก้าวไปข้างหน้าที่ยิ่งใหญ่ เนื่องจาก สุขภาพสัตว์ และผลผลิตที่ดีเริ่มต้นจากความรู้ด้านคุณภาพ และคุณค่าของอาหารสัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ด้วยความแม่นยำ และจัดการด้านคุณค่าอาหารสัตว์ จะช่วยให้ออกแบบสูตรอาหารสัตว์ที่ใก้เคียงกับความเป็นจริงที่สัตว์ต้องการมากที่สุด  

เอกสารอ้างอิง

Trouw Nutrition. 2021. Digital revolution kicks off in animal feed sector. [Internet]. [Cited 2021 May 21]. Available from: https://www.allaboutfeed.net/animal-feed/raw-materials/digital-revolution-kicks-off-in-animal-feed-sector/

ภาพที่ ๑ การจัดการอาหารสัตว์แม่นยำจะช่วยให้นักวิชาการอาหารสัตว์ออกแบบสูตรตามวัตดุดิบอาหารสัตว์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของสัตว์ที่แท้จริง (แหล่งภาพ Trouw Nutrition)


วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564

งานวิจัยด้านเมตาโบลิก ช่วยให้ลูกไก่โตเร็วขึ้นอีกได้

 ผลการวิจัยครั้งนี้เชื่อว่าจะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถจัดการกับโรคได้ดีขึ้นโดยใช้อาหารสัตว์ที่มีไขมันสูง              

ผลการวิจัยที่มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ กำลังศึกษาการทำงานของระบบเมตาโบลิซึม และตับของตัวอ่อนลูกไก่ และการฟักไข่ ที่สามารถนำไปสู่กลยุทธ์ใหม่ที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสัตว์ปีก และยังต่อยอดไปยังทั้งมนุษย์ และสัตว์ปีกต่อไปได้ 

ตัวบ่งชี้ที่สำคัญของการเจริญเติบโตลูกไก่

ภายหลังการฟักไข่ ๑ สัปดาห์เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับชีวิตลูกไก่ ในช่วงเวลาดังกล่าว ไก่เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบเมตาโบลิซึม โดยเปลี่ยนผ่านจากอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันที่ได้รับในช่วงตัวอ่อนกลายเป็นอาหารสัตว์ที่ใช้คาร์โบไฮเดรตสูงเป็นองค์ประกอบหลัก

เมื่อคิดถึงไข่แล้ว อาจนึกถึงไข่แดงที่อุดมไปด้วยไขมัน และโปรตีน กับไข่ขาวที่อุดมไปด้วยโปรตีน ดังนั้น เมื่อตัวอ่อนพัฒนาต่อไป โดยเฉพาะ การพัฒนาช่วงท้ายก็จะเริ่มใช้ลิปิดจากไข่แดง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Nishanth E. Sunny ภาควิชาวิทยาศาสตร์สัตว์ และสัตว์ปีกที่มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ จะใช้โมเลกุลตรวจติดตาม ที่รู้จักกันว่าเป็นไอโซโทปที่มีความเสถียร เพื่อศึกษากระบวนการทางชีวเคมี เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกการเปลี่ยนผ่านทางเมตาโบลิซึมในตัวอ่อน และลูกไก่แรกเกิด

กลยุทธ์เพื่อปรับความสมดุลสำหรับการเจริญเติบโตไก่

              การสร้างความเข้าใจต่อกระบวนการเปลี่ยนผ่านจะช่วยให้นักวิจัยปรับความสมดุลด้านโภชนาการ และกลยุทธ์อื่นๆเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของลูกไก่ให้ดีขึ้นได้ จากอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก และจุดยืนทางเศรษฐกิจ ระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านในช่วงเวลาที่ระบบเมตาโบลิซึมต้องปรับตัวอย่างมาก นับเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นที่ผู้ผลิตสามารถกำหนดเป้าหมายด้านกลยุทธ์สำหรับการจัดการด้านโภชนาการ ฮอร์โมน หรือนวัตกรรมใหม่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเมตาโบลิซึมได้ 

              เมื่อมองลึกลงไปถึงการทำหน้าที่ของตับที่เป็นอวัยวะ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านทางระบบเมตาโบลิซึมในไก่ ที่สามารถช่วยให้การจัดการโรคเมตาโบลิซึมในไก่ที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่มีไขมันสูง เบาหวาน หรือโรคไขมันพอกตับต่อไปได้ โครงการวิจัยนี้ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ สถาบันอาหาร และการเกษตรระดับชาติ

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2021. Metabolic research could lead to faster chick growth. [Internet]. [Cited 2021 May 21]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/42888-metabolic-research-could-lead-to-faster-chick-growth



ภาพที่ ๑ การให้อาหารลูกไก่แรกเกิด (แหล่งข้อมูล Edwin Remsberg | University of Maryland)








อิทธิพลของระบบโรงฟักต่อการเลี้ยงไก่เนื้อ

 การฟักไข่เป็นขั้นตอนแรกในห่วงโซ่การผลิตไก่เนื้อ ดังนั้น การควบคุมขั้นตอนการฟักไข่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาตัวอ่อนที่สมบูรณ์ 

กระบวนการฟักไข่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โรงฟักไข่เชิงพาณิชย์กำลังค้นหาวิธีการเพิ่มผลผลิต โดยการเพิ่มอัตราการฟักได้ และปรับปรุงคุณภาพ และความสม่ำเสมอของลูกไก่แรกเกิด ตลอดสิบปีที่ผ่านมา ระยะเวลาที่ไก่อยู่ในโรงฟักคิดเป็นร้อยละ ๓๐ ของวงจรการผลิตไก่เนื้อทั้งหมด ๘๔ วัน ผลการฟักไข่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างตั้งแต่ศักยภาพโดยรวมทางพันธุกรรม การผสมติด ตู้ฟักไข่ และการจัดการโรงฟัก

โรงฟักระบบ Single และ Multi-stage incubators

              ภาคการผลิตโรงฟักกำลังมองหาวิธีทางเลือกสำหรับอัตราการผลิตที่เหมาะสม รวมถึง ระบบเครื่องจักรแบบ Single stage และ Multi stage เพื่อให้ผลการฟักได้ดีขึ้น ระบบการผลิตโดยใช้ตู้ฟักแบบ Multi stage จัดไข่ฟักเข้าฟัก ๓ หรือ ๔ ชุดต่อสัปดาห์ ดังนั้น จึงมีไข่ไก่จากฟาร์มไก่พันธุ์หลายแหล่งที่มา รวมกันฟักในตู้เดียวกัน โดยมีตัวอ่อนที่มีพัฒนาการที่อายุการฟักแตกต่างกัน ตัวอ่อนที่มีอายุมากก็จะถ่ายความร้อนไปยังตัวอ่อนที่มีอายุน้อยระหว่างการฟัก การสร้างความร้อนจึงช่วยลดค่าไฟฟ้าสำหรับการบ่มไข่ฟักชุดใหม่ที่เข้ามา ดังนั้น ระบบ Multi stage จึงมีต้นทุนที่น้อยกว่า

              ขณะที่ ระบบ Single-stage จะบรรจุไข่ฟักอายุเดียวกันทั้งหมด ดังนั้น ตัวอ่อนจึงมีการพัฒนาเหมือนกัน ดังนั้น จึงสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมสำหรับการฟักไข่ได้ดีกว่า ระบบการฟักไข่นี้ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสัตว์ปีก แนะนำให้ใช้สำหรับการฟักไข่ไก่เนื้อสมัยใหม่ที่มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก ตัวอ่อนมีการสร้างความร้อนออกมามากกว่าไก่เนื้อที่โตช้า นอกจากนั้น ระบบการฟักไข่แบบ Single stage ยังมีสุขศาสตร์ที่ดีกว่า เนื่องจาก เมื่อนำไข่ฟักออกได้พร้อมกัน ตู้ฟักจะว่างสามารถนำเครื่องจักรออกมาล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อได้อย่างทั่วถึง รวมถึง ภายในตู้ฟักก็สามารถทำความสะอาด และฆ่าเชื้อได้อย่างสมบูรณ์

ผลการทดลองเปรียบเทียบ

              การทดลองเปรียบเทียบระหว่างตู้ฟักระบบ Single stage และ Multi stage จำนวน ๕ ชุดการทดลอง แผนการทดลองศึกษาอัตราการฟัก ช่วงหน้าต่างการฟัก คุณภาพลูกไก่ น้ำหนักไข่ฟักที่หายไป ผลผลิตการเลี้ยงไก่ เช่น การกินอาหาร น้ำหนักเฉลี่ย อัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร อัตราการตาย

              ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนักไข่ฟักที่หายไประหว่างการฟักไข่ และการย้ายไข่สูงขึ้นในไข่ฟักที่ใช้ระบบ Multi-stage อัตราการฟักสูงขึ้นสำหรับไข่ฟักในระบบ Single-stage ขณะที่ ลูกไก่ที่ฟักในระบบนี้จะมีช่วงหน้าต่างการฟักเป็นตัวนานขึ้น การวิเคราะห์ตัวอ่อนลูกไก่ในระบบ Multi-stage พบว่า อัตราการตายตัวอ่อนสูงขึ้นกว่าอย่างมาก รวมถึง ไข่ตายโคม และไข่เปลือกร้าว  

              อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบว่าระบบการฟักส่งผลต่อผลการเลี้ยงไก่เนื้อไม่ว่าจะเป็นอายุไก่พันธุ์ที่แตกต่างกัน แม้ว่า ไก่เพศผู้จะให้ผลผลิตที่ดีกว่าเพศเมียมาก ความต้องการของตัวอ่อนระหว่างการพัฒนามีความสำคัญต่อการเพิ่มอัตราการฟัก และคุณภาพลูกไก่ โดยตู้ฟักแบบ Single-stage ให้ผลที่ดีกว่า Multi-stage

เอกสารอ้างอิง

Mesquita et al. 2021. Incubation system hardly affects broiler performance. [Internet]. [Cited 2021 May 31]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2021/5/Incubation-system-hardly-affects-broiler-performance-750973E/

ภาพที่ ๑ ผลการศึกษาเปรียบเทียบระบบการฟักระหว่าง Single และ Multi-stage สำหรับลูกไก่ และไก่เนื้อ (แหล่งภาพ Koos Groenewold)



วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...