การสัมมนาด้านเนื้อสัตว์ปีกที่ผ่านมา โซฟี ทรูป แห่งห้างร้านค้าปลีก มอร์ริสัน มองเห็นความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนไป ใส่ใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ก็ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพสัตว์ และสนับสนุนฟาร์มแห่งบริติช ผู้ผลิตต้องคิดหาจุดที่สมดุลของความต้องการผู้บริโภค
ขณะนี้เป็นช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับฟาร์มแห่งบริติชไปอีกหลายรุ่นต่อจากนี้
หลักสวัสดิภาพสัตว์ของมอร์ริสินได้ช่วยขับเคลื่อนภาคการผลิตเนื้อสัตว์ปีก
โดยบริษัทตั้งเป้าหมายเริ่มฟักลูกไก่ของตัวเองทั้งหมดให้ได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๘ นี้
ในปัจจุบัน เนื้อสัตว์ปีกของบริษัทร้อยละ ๘๐ มาจากลูกไก่ของตัวเองร้อยละ ๘๐
ซูเปอร์มาร์เก็ตยังสนับสนุนโครงการปรับปรุงการจับไก่
โดยการสนับสนุนการปฏิบัติงานของพนักงาน และการฝึกอบรม
โดยได้เริ่มจากไก่โตช้าพันธุ์ฮับบาร์ด เรดโบร ในปีถัดไป
เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค
โดยไก่พันธุ์เรดโบรนี้จะเลี้ยงด้วยความหนาแน่นต่ำ
ในภาคการผลิตไก่ไข่ บริษัทใช้แม่ไก่ที่เลี้ยงปล่อยอิสระทั้งหมด
สำหรับการผลิตไข่ที่จำหน่ายพร้อมเปลือก
และตั้งเป้าให้การจำหน่ายไข่ทั้งหมดมาจากแม่ไก่ที่เลี้ยงปล่อยอิสระทั้งหมดภายในปี
พ.ศ. ๒๕๖๘ เช่นเดียวกัน
ซูเปอร์มาร์เก็ตกำลังลงเงินเพื่อเข้าสู่โครงการที่ครอบคลุมการใช้เอ็นริชเมนต์เพิ่มขึ้น
และศึกษาความเข้าใจเพื่อหาทางลดการตัดปากลูกไก่ เมื่อเร็วๆนี้ อะคาเดมีแม่ไก่ไข่แห่งบริติช
เป็นผู้ผลิตไข่จากแม่ไก่ปล่อยอิสระรายสำคัญที่ส่งให้กับ Chippindale Foods ที่วิทยาลัย Bishop Burton
การพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ได้มาถึงเวลาแล้ว เมื่อมอร์ริสันคาดหวังว่า
ในปีถัดไปก็ตั้งเป้าหมายผลิตไข่ไก่ ซีโร่คาร์บอน เป็นครั้งแรกในร้าน
และตั้งใจรับสินค้าโดยตรงโดยตรงจากฟาร์มในสหราชอาณาจักรทั้งหมดในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ นี้
โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาร์เปอร์ อะดัมส์ ที่ตั้งโรงเรียนด้านฟาร์ม
และการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนเป็นครั้งแรก โดยมองไปที่ระบบการผลิตที่กำลังพัฒนาต่อไปข้างหน้า
ตั้งเป้าหมายวิจัยเพื่อขับเคลื่อนสูตรอาหาร ปริมาณเนื้อสัตว์ ระบบเซนเซอร์
การใช้ประโยชน์จากข้อมูล ระบบการจัดการฟาร์มแม่นยำ
และการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในฟาร์ม
เดวิด เนลสัน แห่งอะเวรา ฟู้ดส์ คิดว่าเป็นการง่ายที่จะปรับปรุงพัฒนาในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น การปล่อยแก๊สเสีย แต่ความจริงแล้วยังส่งผลกระทบต่ออีกด้านหนึ่ง เช่น การเข้าถึงอาหารของผู้บริโภคด้วย ความเห็นต่อ “พันธสัญญาการผลิตไก่เพื่อยุโรป หรืออีซีซี (Eupopean Chicken Commitment)” โดยมีเป้าหมายลดความหนาแน่นการเลี้ยง การใช้สายพันธุ์ไก่โตช้า ความจริงแล้ว การเลี้ยงสัตว์ปีกปล่อยอิสระ หรือสัตว์ปีกโตช้ามีต้นทุนต้องจ่ายทางสิ่งแวดล้อม
ระบบมาตรฐานอาร์ทีเอ หรือเร้ดแทรกเตอร์ แอสชัวแรนส์ ในปี
พ.ศ. ๒๕๖๖ หรืออีกสองปีข้างหน้าจะปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐานอีซีซีบางส่วน เช่น
การจัดเตรียมเอนริชเมนต์ และแสงธรรมชาติ แต่จะไม่ครอบคลุมความหนาแน่น
และสายพันธุ์ไก่
คณะกรรมาธิการยุโรป กำลังอนุญาตให้มีการใช้โปรตีนจากสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป
(Processed Animal Protein, PAP) เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ทดแทนถั่วเหลือง
แต่ไม่ว่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนถั่วเหลืองจะถูกใช้ในอนาคตหรือไม่
ก็ต้องรอการตอบสนองจากร้านค้าปลีก และผู้บริโภค รวมถึง การลงทุนในระบบการผลิต
ภาคการผลิตเนื้อสัตว์ จำเป็นต้องลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ
โดยเฉพาะ เพื่อรับมือกับเบร็กซิต และการสูญเสียแรงงานจากยุโรปตะวันออก อะเวรา
ฟู้ดส์ กำลังใช้ไบโอแก๊สสำหรับรถบรรทุกในอนาคต
ผู้เลี้ยงไก่เนื้อในเฮียร์ฟอร์ไชร์ กำลังสนใจการใช้หุ่นยนต์ เซนเซอร์ และเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่จะใช้ และมีบทบาทต่อไปในการผลิตสัตว์ปีก ยิ่งในสถานการณ์โรคระบาดไข้หวัดนก ความปลอดภัยทางชีวภาพต้องอยู่ในระดับเข้มข้นที่สุดตลอดเวลา
เอกสารอ้างอิง
ภาพที่
๑
ความต้องการของลูกค้าทั้งด้านสวัสดิภาพสัตว์ และการปลดปล่อยแก๊สพิษ
จำเป็นต้องสมดุลตามความเป็นจริง และสอดคล้องกับหลักการผลิตอย่างยั่งยืน (แหล่งภาพ
Hans
Prinsen)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น