วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วัคซีนเอ็ม อาร์เอ็นเอ ในสัตว์ปีก

 นักวิจัยให้คำแนะนำสำหรับการพัฒนาโปรตีนสไปค์ โครงสร้างที่เชื้อไวรัสใช้ในการติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ เพื่อให้เทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอแบบเดียวกับวัคซีนโควิด ๑๙ วันหนึ่งจะสามารถใช้ป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาในสัตว์ปีกคือ โรคหลอดลมอักเสบติดต่อหรือไอบีได้ พร้อมไปกับโรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ หรือไอแอลที

              การเริ่มต้นปฏิวัติการพัฒนาวัคซีนสำหรับการผลิตสัตว์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอต่อโรคโควิด ๑๙ พบว่า ป้องกันโรคได้ดีกว่าวัคซีนเวกเตอร์ตามความเห็นของ สตีเฟน สปาตส์ ผู้เชี่ยวชาณด้านจุลชีววิทยาในโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์ปีกที่กระทรวงเกษตรสหรัฐ หรือยูเอสดีเอ บริการด้านวิจัยทางการเกษตร หรือเออาร์เอส ความท้าทายใหญ่ในปัจจุบันเป็นการใช้วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอชนิดใหม่สำหรับการผลิตสัตว์คือ ต้นทุนการผลิต เมื่อไรก็ตามที่การผลิตจำนวนมากได้สำเร็จแล้ว เชื่อว่า ราคาก็จะถูกลง แต่ไม่ได้หมายความว่า เราไม่พยายามลงมือทำให้เห็นว่าใช้งานได้หรือไม่

วัคซีนเอ็ม อาร์เอ็นเอ ทำงานอย่างไร

              วัคซีนโควิด ๑๙ ใช้เทคโนโลยีเอ็ม อาร์เอ็นเอ ที่บรรจุอยู่ในอนุภาคนาโนของลิปิด ส่วนของเอ็ม อาร์เอ็นเอจะถูกตัดแต่งทางพันธุกรรมให้มีสำเนาของโปรตีนสไปค์ โครงสร้างที่คล้ายหนามที่ยื่นออกมาจากผิวของอนุภาคเชื้อไวรัส ใช้สำหรับการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ ระบบภูมิคุ้มกันเรียนรู้ที่จะจดจำโปรตีนแปลกปลอม แล้วสร้างแอนติบอดีที่สามารถป้องกันร่างกายต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ได้ในอนาคต

               หลักการเดียวกันนี้สามารถใช้ออกแบบวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ และกล่องเสียงอักเสบติดต่อ ที่เป็นเชื้อไวรัสสำคัญต่อระบบหายใจ ความงดงามของระบบนี้คือ เราสามารถฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียวแล้วป้องกันโรคได้ทั้งสองโรคพร้อมกัน เนื่องจาก อนุภาคนาโนของลิปิดสามารถบรรจุเอ็มอาร์เอ็นเอได้มากกว่าหนึ่งชนิด

              เทคโนโลยี เอ็ม อาร์เอ็นเอ เป็นประโยชน์หลายด้าน รวมถึง ความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วต่อเชื้อไวรัสที่กำลังกลายพันธุ์ และเทคโนโลยีเอนแคปซูเลชันด้วยอนุภาคนาโนของลิปิดจะเป็นโซลูชันสำหรับปัญหาแอนติบอดีจากแม่ที่พบได้บ่อยจากวัคซีน

              เมื่อนึกถึงวัคซีนเอ็ม อาร์เอ็นเอ ก็จะเป็นการสังเคราะห์ทางเคมี จึงไม่จำเป็นต้องใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ไม่ต้องเตรียมซีรัมจากโค ไม่ต้องกังวลเรื่องการปนเปื้อนจากเชื้อรา เป็นการตัดข้อจำกัดของการผลิตวัคซีนที่ใช้สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่ หรือเซลล์เพาะเลี้ยง ดังนั้น จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างมากหากได้รับการพัฒนาไปสู่วัคซีนสัตว์ปีกในอนาคตอันใกล้นี้ที่มีการใช้กันจำนวนมหาศาลในแต่ละปี        

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2021 Can mRNA vaccines protect against poultry coronaviruses too?. [Internet]. [Cited 2021 May 31]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/42929-can-mrna-vaccines-protect-against-poultry-coronaviruses-too?v=preview&utm_source=Omeda&utm_medium=Email&utm_content=NL-Poultry+Future&utm_campaign=NL-Poultry+Future_20210603_0430&oly_enc_id=2248A6821912I1W






ภาพที่ ๑ วัคซีนเอ็ม อาร์เอ็นเอ ในไก่  (แหล่งภาพ JurgaR | iStockPhoto.com)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...