วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564

อิทธิพลของระบบโรงฟักต่อการเลี้ยงไก่เนื้อ

 การฟักไข่เป็นขั้นตอนแรกในห่วงโซ่การผลิตไก่เนื้อ ดังนั้น การควบคุมขั้นตอนการฟักไข่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาตัวอ่อนที่สมบูรณ์ 

กระบวนการฟักไข่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โรงฟักไข่เชิงพาณิชย์กำลังค้นหาวิธีการเพิ่มผลผลิต โดยการเพิ่มอัตราการฟักได้ และปรับปรุงคุณภาพ และความสม่ำเสมอของลูกไก่แรกเกิด ตลอดสิบปีที่ผ่านมา ระยะเวลาที่ไก่อยู่ในโรงฟักคิดเป็นร้อยละ ๓๐ ของวงจรการผลิตไก่เนื้อทั้งหมด ๘๔ วัน ผลการฟักไข่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างตั้งแต่ศักยภาพโดยรวมทางพันธุกรรม การผสมติด ตู้ฟักไข่ และการจัดการโรงฟัก

โรงฟักระบบ Single และ Multi-stage incubators

              ภาคการผลิตโรงฟักกำลังมองหาวิธีทางเลือกสำหรับอัตราการผลิตที่เหมาะสม รวมถึง ระบบเครื่องจักรแบบ Single stage และ Multi stage เพื่อให้ผลการฟักได้ดีขึ้น ระบบการผลิตโดยใช้ตู้ฟักแบบ Multi stage จัดไข่ฟักเข้าฟัก ๓ หรือ ๔ ชุดต่อสัปดาห์ ดังนั้น จึงมีไข่ไก่จากฟาร์มไก่พันธุ์หลายแหล่งที่มา รวมกันฟักในตู้เดียวกัน โดยมีตัวอ่อนที่มีพัฒนาการที่อายุการฟักแตกต่างกัน ตัวอ่อนที่มีอายุมากก็จะถ่ายความร้อนไปยังตัวอ่อนที่มีอายุน้อยระหว่างการฟัก การสร้างความร้อนจึงช่วยลดค่าไฟฟ้าสำหรับการบ่มไข่ฟักชุดใหม่ที่เข้ามา ดังนั้น ระบบ Multi stage จึงมีต้นทุนที่น้อยกว่า

              ขณะที่ ระบบ Single-stage จะบรรจุไข่ฟักอายุเดียวกันทั้งหมด ดังนั้น ตัวอ่อนจึงมีการพัฒนาเหมือนกัน ดังนั้น จึงสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมสำหรับการฟักไข่ได้ดีกว่า ระบบการฟักไข่นี้ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสัตว์ปีก แนะนำให้ใช้สำหรับการฟักไข่ไก่เนื้อสมัยใหม่ที่มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก ตัวอ่อนมีการสร้างความร้อนออกมามากกว่าไก่เนื้อที่โตช้า นอกจากนั้น ระบบการฟักไข่แบบ Single stage ยังมีสุขศาสตร์ที่ดีกว่า เนื่องจาก เมื่อนำไข่ฟักออกได้พร้อมกัน ตู้ฟักจะว่างสามารถนำเครื่องจักรออกมาล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อได้อย่างทั่วถึง รวมถึง ภายในตู้ฟักก็สามารถทำความสะอาด และฆ่าเชื้อได้อย่างสมบูรณ์

ผลการทดลองเปรียบเทียบ

              การทดลองเปรียบเทียบระหว่างตู้ฟักระบบ Single stage และ Multi stage จำนวน ๕ ชุดการทดลอง แผนการทดลองศึกษาอัตราการฟัก ช่วงหน้าต่างการฟัก คุณภาพลูกไก่ น้ำหนักไข่ฟักที่หายไป ผลผลิตการเลี้ยงไก่ เช่น การกินอาหาร น้ำหนักเฉลี่ย อัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร อัตราการตาย

              ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนักไข่ฟักที่หายไประหว่างการฟักไข่ และการย้ายไข่สูงขึ้นในไข่ฟักที่ใช้ระบบ Multi-stage อัตราการฟักสูงขึ้นสำหรับไข่ฟักในระบบ Single-stage ขณะที่ ลูกไก่ที่ฟักในระบบนี้จะมีช่วงหน้าต่างการฟักเป็นตัวนานขึ้น การวิเคราะห์ตัวอ่อนลูกไก่ในระบบ Multi-stage พบว่า อัตราการตายตัวอ่อนสูงขึ้นกว่าอย่างมาก รวมถึง ไข่ตายโคม และไข่เปลือกร้าว  

              อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบว่าระบบการฟักส่งผลต่อผลการเลี้ยงไก่เนื้อไม่ว่าจะเป็นอายุไก่พันธุ์ที่แตกต่างกัน แม้ว่า ไก่เพศผู้จะให้ผลผลิตที่ดีกว่าเพศเมียมาก ความต้องการของตัวอ่อนระหว่างการพัฒนามีความสำคัญต่อการเพิ่มอัตราการฟัก และคุณภาพลูกไก่ โดยตู้ฟักแบบ Single-stage ให้ผลที่ดีกว่า Multi-stage

เอกสารอ้างอิง

Mesquita et al. 2021. Incubation system hardly affects broiler performance. [Internet]. [Cited 2021 May 31]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2021/5/Incubation-system-hardly-affects-broiler-performance-750973E/

ภาพที่ ๑ ผลการศึกษาเปรียบเทียบระบบการฟักระหว่าง Single และ Multi-stage สำหรับลูกไก่ และไก่เนื้อ (แหล่งภาพ Koos Groenewold)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...