วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567

สถาบันเฟลมมิชสร้างโรงอาหารสัตว์ไฮเทค

 สถาบันวิจัยแฟลนเดอร์เพื่อการเกษตร ประมง และอาหาร (ไอแอลวีโอ) กำลังก่อสร้างโรงงานอาหารสัตว์ต้นแบบ ที่มีเครื่องจักรทันสมัย ผลิตอาหารสัตว์ได้อย่างแม่นยำตามความต้องการของสัตว์ เพื่องานวิจัยด้านโภชนาการในฟาร์มเลี้ยงสัตว์

โรงงานอาหารสัตว์แห่งใหม่นี้จะเริ่มเปิดใช้งานในปีนี้ ทดแทนไลน์การผลิตอาหารสัตว์ที่มีอยู่ ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตล่าสุด ไม่ว่ะเป็นด้านพลังงาน หลักการยศาสตร์ หรือเทคโนโลยี

ไอแอลวีโอ เป็นไลน์ผลิตด้านการวิจัยในการทดสอบด้านประสิทธิภาพ ด้านการผลิตอย่างยั่งยืนตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและสิ่งแวดล้อม และสุขภาพสัตว์ด้วยสูตรอาหารที่ประกอบขึ้นใหม่สำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง สุกร และสัตว์เล็ก ความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการสัตว์กำลังเติบโต บางส่วนเป็นเพราะการมาถึงของกระแสด้านการผลิตด้วยการหมักใหม่โดยใช้บายโพรดักส์ แล้วนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ใหม่ๆ กำลังเป็นที่สนใจสำหรับงานวิจัยอย่างมาก

โรงงานอาหารสัตว์ต้นแบบใหม่

               โรงอาหารสัตว์ต้นแบบของไอแอลวีโอใกล้กับเมืองเกนต์ในเบลเยียมจะประกอบด้วยหน่วยการผลิตขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ โกดังสำหรับจัดเก็บ โดยโรงงานฯจะใช้เครื่องมือที่มีเทคนิคใหม่ๆในการตรวจวัดพารามิเตอร์ต่างๆ และการวิเคราะห์ที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านการผลิตอาหารสัตว์ การตรวจติดตามด้วยเซนเซอร์ระหว่างการผลิตตลอดเวลา เพื่อให้การผลิตใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

               โรงงานฯใหม่นี้จะช่วยให้การผลิตอาหารสัตว์ได้แบทช์ที่มีขนาดเล็กลง สำหรับการทดลอง เช่น ๑๐๐ กิโลกรัมสำหรับการศึกษาด้านประสิทธิภาพการย่อยในสัตว์ปีก ในช่วงแรก โรงงานณจะผลิตใช้เฉพาะงานวิจัยของไอแอลวีโอเท่านั้น แต่สถาบันฯก็จะยื่นขอรับรองตามกฏหมายในการผลิตอาหารสัตว์สำหรับภายนอกด้วย สำหรับสถาบันด้านการวิจัย และโรงงานเอกชนในแฟลนเดอร์ จะเป็นการเพิ่มโอกาสสำหรับการสร้างนวัตกรรมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ

กระบวนการผลิต

               โรงงานฯต้นแบบไอแอลวีโอจะเริ่มต้นผลิตอาหารสัตว์สำหรับการทดลองในเองเป็นสิ่งแรก ตัวอย่างของโจทย์วิจัย ๓ เรื่อง ได้แก่   

๑.     การพัฒนาสารเติมอาหารสัตว์ใหญ่ เช่น ตัวยับยั้งมีเธน เพื่อตอบโจทย์ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น เศษอาหารเหลือใช้ที่ผ่านการนึ่ง หรือการผลิตโปรตีนจากเชื้อจุลชีพ เช่น สาหร่าย เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์

๒.     การแปรรูปอาหารสัตว์ที่ผ่านการบำบัดทางเทคนิคมาก่อน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการทั้งไนโตรเจน และฟอสฟอรัส และความคงตัวขององค์ประกอบบางชนิดในอาหารสัตว์ หรือการยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์

๓.    กระบวนการผลิตที่ปรับพารามิเตอร์ด้านการผลิตบางอย่างเพื่อลดการใช้พลังงานลง

โรงงานต้นแบบของไอแอลวีโอ ยังมีเป้าหมายในการสร้างความรู้ด้านอาหารสัตว์ และอาหารจากผลผลิตทางการเกษตร เพื่อผลิตโปรตีนชนิดใหม่ และการจัดการของเสียด้วยการนึ่ง และเชื่อว่า งานวิจัยจะมีบทบาทต่อการเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการหมักสำหรับการผลิตอาหารสัตว์ และวัตถุดิบอาหารที่มีคุณภาพสูงในผลิตภัณฑ์อาหาร โดยร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับภาคการผลิตอาหารสัตว์ และอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยได้รับทุนวิจัยจากแฟลนเดอร์ ยุโรป จังหวัดแฟลนเดอร์ตะวันออก และมูลนิธิวิคแตม นอกจากนั้น ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสมาคมอาหารสัตว์เบลเยียม ซึ่งประกอบด้วย ภาคการผลิตอาหารสัตว์ และสถาบันวิจัยอื่นๆ

การสนับสนุนโครงการนี้จากเฟลมมิช ซึ่งเป็นช่องทางสำหรับยุโรปและนานาชาติ มีความสัมพันธ์กับความต้องการงานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์โปรตีนแหล่งใหม่ และของเสียจากการผลิต ขอบข่ายงานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่เพิ่มความสามารถใช้ของหมุนเวียน โดยสร้างผลเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศโลก และสวัสดิภาพสัตว์

ไอแอลวีโอต้องสามารถผลิตอาหารสัตว์อย่างแม่นยำ ภายใต้การควบคุมที่ดีและมีประสิทธิภาพ หากต้องการผลการทดลองที่น่าเชื่อถือจากการวิจัยอาหารสัตว์

เอกสารอ้างอิง

Peys R. 2024. Flemish Institute builds high-tech feed pilot. [Internet]. [Cited 2024 Aug 12]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/flemish-institute-builds-high-tech-feed-pilot/

ภาพที่ ๑ ไอแอลวีโอเป็นผู้วิจัยด้านสูตรอาหารสัตว์มาอย่างยาวนาน โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการผลิต ความยั่งยืน และสุขภาพสัตว์ทั้งสัตว์เคี้ยวเอื้อง สุกร และสัตว์เล็ก   (แหล่งภาพ Canva, 2024)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...