โปรตีนที่สกัดจากของเสียในโรงฆ่าสัตว์ปีกเป็นการจัดการที่สอดคล้องกับกลยุทธ์เศรษฐกิจหมุนเวียน
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านอาหารที่มหาวิทยาลัยเกษตรกรรม
ไฟซาลาบัด ประเทศปากีสถาน มองโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากของเสียในโรงฆ่า
ซึ่งจะเกิดผลดีต่อการควบคุมมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบัน
วิธีการที่นิยมใช้กันทั่วไปจะเป็นการเผา ฝัง นำมาผลิตเป็นปุ๋ย และผลิตเป็นอาหารปลา
หลายกิจกรรมเป็นสาเหตุของการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก ยูโทรฟิเคชัน
และมลพิษต่อน้ำและอากาศ
นักวิทยาศาสตร์กำลังหาวิธีทางเลือกใหม่ในการแปลงของเสียจากโรงฆ่าให้เป็นแหล่งโปรตีน
เพื่อสนับสนุนการผลิตอย่างยั่งยืนท่ามกลางการเติบโตของจำนวนประชากรโลก
ที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โครงสร้างของโปรตีนจากสัตว์ปีก
บทความปริทัศน์ได้อธิบายถึงคุณสมบัติของโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบภายในของเสียจากโรงฆ่าสัตว์ปีก
ได้แก่ คอลลาเจน เจลาติน และเคอราติน ที่สกัดออกมาได้ด้วยวิธีต่างๆกัน
ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึง หรือดีกว่าจากโรงฆ่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ในด้านความทนทานต่อความร้อน คุณค่าทางโภชนาการ ปริมาณกรดอะมิโน คุณสมบัติด้านเคมีเชิงฟิสิกส์
วิทยากระแส และการทำหน้าที่
คอลลาเจน เจลาติน
และเคอราติน ถูกใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตอาหาร
และผลิตภัณฑ์ด้านชีวการแพทย์หลายชนิด การวิเคราะห์องค์ประกอบภายใน พบว่า
ของเสียจากโรงฆ่าสัตว์ปีก เช่น ขน ผิวหนัง ตีนไก่ ท่อลม และหัว มีน้ำหนักแห้งร้อยละ
๓๔.๒ ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนร้อยละ ๕๐ ถึง ๖๓ และเถ้า ร้อยละ ๙ ถึง ๑๕.๕
รูปแบบขององค์ประกอบของเสีย
ทำให้มั่นใจได้ถึงโอกาสที่จะใช้ของเสียจากโรงฆ่าสัตว์ปีกจะใช้ทดแทนแหล่งโปรตีนจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆได้
ของเสียจากโรงฆ่าเกือบร้อยล้านตัน
ร้อยละ ๗ ถึง ๘ ของน้ำหนักตัวไก่เนื้อเป็นชิ้นส่วนที่ถูกตัดแยกออกจากซากไก่ทั้งผิวหนัง
ขน เครื่องใน หัว เลือด ท่อลม และตีนไก่ ยังมีกระดูก รวมแล้วมีปริมาณราว ๙.๕ ล้านตัน
ที่สามารถนำมาใช้สกัดโปรตีนกลับมาใช้ได้ ของเสียจากโรงฆ่าสัตว์ปีก เช่น เลือด เครื่องใน
ตีนไก่ และกระดูก อุดมไปด้วยโปรตีนชนิดคอลลาเจน และเจลาติน ขณะที่ ขนสัตว์ปีกอุดมไปด้วยเคอราติน
และรวมแล้วมีผลผลิตราว ๘.๔ ล้านตันต่อปี ก่อนหน้านี้ โปรตีนดังกล่าวถูกสกัดจากผิวหนังและกระดูกอ่อนของสุกรร้อยละ
๔๖ หนังวัวร้อยละ ๒๙.๔ กระดูก ร้อยละ ๒๓.๑ และแหล่งอื่นๆอีกร้อยละ ๑.๕
ปัจจุบัน เนื่องจากโรคติดต่อสู่คนอย่างวัวบ้า
และปากเท้าเปื่อยในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ทำให้นักวิทยาศาสตร์มองหาแหล่งโปรตีนเหล่านี้จากที่อื่นบ้าง
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริโภคชาวมุสลิมและยิวยังไม่บริโภคเจลาตินจากสุกรอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
Mcdougal
T. 2024. Proteins from poultry waste boosts the circular
economy. [Internet]. [Cited 2024 Sep 6]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/processing/proteins-from-poultry-waste-boosts-the-circular-economy/
ภาพที่ ๑ ร้อยละ ๗ ถึง
๘ ของไก่เนื้อเป็นองค์ประกอบของผิวหนัง ขน เครื่องใน หัว เลือด ท่อลม ตีนไก่ และกระดูก
รวมแล้วราว ๙.๕ ล้านตันที่เป็นของเสียจากโรงฆ่าสามารถนำมาสกัดโปรตีนได้ (แหล่งภาพ Canva, 2024)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น