เอเชียกลางกำลังลดการพึ่งพานำเข้าสัตว์ปีกจากยุโรป บริษัทผู้ผลิตไก่เนื้ออินเดีย อะวี ประกาศแผนสร้างฟาร์มผลิตสายพันธุ์สัตว์ปีกในอุซเบกิสถาน ด้วยเงินลงทุน ๑.๔ พันล้านบาท ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงการค้าขายสายพันธุ์สัตว์ปีกทั่วเอเชียกลาง
ควบคู่ไปกับการขยายอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกโดยรัฐบาลอุซเบกิสถาน
ฟาร์มสายพันธุ์สัตว์ปีกแห่งนี้จะทรานส์ฟอร์มประเทศจากการพึ่งพาการนำเข้าเนื้อไก่ทั้งหมดเป็นผู้ส่งออกสัตว์ปีก
โครงกานนี้จะช่วยให้เอเชียกลางทั้งอุซเบกิสถาน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน
เติร์กเมนิสถาน และเคอร์กิสถาน ลดการพึ่งพานำเข้าสัตว์ปีกจากยุโรป
ผู้ผลิตไก่เนื้อ
อะวีบรอยเลอร์ กำลังหารือกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการสร้างโครงการผลิตสัตว์ปีกหลายแห่งในอุซเบกิสถาน
ส่วนหนึ่งของงบลงทุนมาจากการร่วมทุนของธุรกิจท้องถิ่น
อะวีบรอยเลอร์มีแผนผลิตไก่พันธุ์
๔ ล้านตัวต่อปีสอดรับกับความต้องการตลาดในอุซเบกิสถาน ทั้งนี้ ประชากรเอเชียกลาง
ทั้งหมด ๑๒๐ ล้านคนบริโภคเนื้อสัตว์ปีกราว ๑.๒ ล้านตันต่อปี ดังนั้น
การผลิตสัตว์ปีกในประเทศต้องใช้ไก่พันธุ์ ๕.๕ ล้านตัวต่อปี ดังนั้น โครงการนี้จึงครอบคลุมความต้องการไก่พันธุ์ได้มากกว่าร้อยละ
๘๐ ในระยะแรกในปี พ.ศ.๒๕๖๗ ถึง ๒๕๖๘
อะวีบรอยเลอร์มีแผนสร้างฟาร์มเพียวบรีดในอุซเบกิสถานก่อน และจะสร้างโรงฟักในปี
พ.ศ.๒๕๖๘
ผลประโยชน์ต่อฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก
โครงการนี้จะเกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีกในเอเชียกลาง
ช่วยให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกประหยัดต้นทุนโลจิสติกส์ ปัจจุบัน ต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับลูกไก่พันธุ์ที่ส่งจากประเทศในยุโรปราว
๖๗ บาทต่อตัว หากโครงการนี้สำเร็จในอุซเบกิสถานก็จะเหลือเพียง ๑๖ บาทเท่านั้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ราว
๑๖๗ ล้านบาทต่อปี
การพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์ปีกท้องถิ่น
รัฐบาลอุซเบกิสถานพยายามทุกวิธีที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในปัจจุบัน
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ ประธานาธิบดีได้ลงนามในข้อบังคับให้รัฐบาลสนับสนุนการสร้างคลัสเตอร์สัตว์ปีกในประเทศมูลค่ากว่าสามพันล้านบาท
นอกจากนั้นยังมีข่าวว่า อุซเบกิสถานยังวางแผนร่วมกับบริษัทในสหรัฐฯ พัฒนาสายพันธุ์สัตว์ปีกของตนเองอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
Vorotnikov V. 2024. New facility to help central Asia
wean off European poultry genetics imports. [Internet].
[Cited 2024 Sep 5]. Available
from: https://www.poultryworld.net/poultry/genetics/new-facility-to-help-central-asia-to-wean-off-european-poultry-genetics-imports/
ภาพที่ ๑ เอเชียกลางมีประชากร
๑๒๐ ล้านคน บริโภคเนื้อสัตว์ปีกราว ๑.๒ ล้านตันต่อปี (แหล่งภาพ Canva,
2024)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น