วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อาหารโฮลเกรนต่อสู้กับแคมไพโลแบคเตอร์

เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน เป็นสาเหตุของโรคท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศตะวันตก สามารถพบได้ในลำไส้ของไก่ และถ่ายทอดสู่เนื้อระหว่างกระบวนการฆ่า โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพไก่ แต่ปัญหาสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก และส่งผลกระทบทางสาธารณสุขคือ เชื้อแบคทีเรียอยู่รอดได้ดีในผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป  
                นักวิจัยชาวนอร์เวย์ด้านความปลอดภัยอาหารได้ศึกษาว่า อาหารสัตว์จะสามารถช่วยให้ไก่มีความต้านทานต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน (ค. เจจูไน) ได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ อาหารสัตว์ที่ค่อนข้างบดหยาบ การเติมกรดอินทรีย์ และการให้อาหารอย่างถูกเวลาช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
                เมื่อเชื้อเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยงไก่ก็จะมีการแพร่ไปทั้งโรงเรือนในเวลาเพียงไม่กี่วัน กำแพงสุขศาสตร์ที่เข้มงวดในการควบคุมการสัญจรของบุคคล และอุปกรณ์เป็นเครื่องมือที่สำคัญ แต่ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยยุทธศาสตร์อีกหลายประการสำหรับลด หรือกำจัดเชื้อแบคทีเรียจากตัวไก่ที่ติดเชื้อ
การสร้างกำแพงคุ้มครองตัวไก่
                ไก่มีกำแพงตามธรรมชาติหลายประการสำหรับป้องกันเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น นักวิจัยพบว่า กระเพาะพัก จะมีเชื้อแบคทีเรียสร้างกรดแล็กติก และกึ๋นที่มีบทบาทหน้าที่บดย่อยอาหาร เนื่องจากไก่ไม่มีฟัน อาหารผ่านตรงจากหลอดอาหารลงสู่กระเพาะพัก และพักอาหารไว้เป็นเวลาชั่วคราวในสภาวะชื้น จากนั้นอาหารก็จะถูกบดย่อยให้มีขนาดที่เหมาะสมในกึ๋น ไก่ที่กินวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทเต็มเมล็ด (Whole grains) สามารถช่วยปรับให้กระเพาะพักขยายขนาดใหญ่ขึ้น และพัฒนาได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียก่อโรค
                ผู้วิจัยได้ทดสอบหลากหลายวิธีเพื่อสังเกตการทำหน้าที่ของกระเพาะพัก และกึ๋น วิธีใดจะสามารถประยุกต์ใช้เพื่อลดเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่เดินทางมาถึงลำไส้ การสร้างกำแพงคุ้มครองกระเพาะพักสามารถจัดการได้อีกวิธีหนึ่งคือ การเติมกรดอินทรย์ลงในอาหารสัตว์ และการปรับเวลาการให้อาหาร โดยไก่เข้าถึงอาหารตามเวลาที่กำหนดแทนที่จะให้ตลอดเวลา เมื่ออาหารมีโครงสร้างหยาบ กึ่นจะทำงานได้ดีขึ้น
 ความจำเป็นในการผสมกรดอินทรีย์
                กรดซอร์บิก ร่วมกับเกลือของมัน โดยเฉพาะ โพแทสเซียม ซอร์เบต เป็นสารที่นิยมใช้เป็นสารต่อต้านจุลชีพอย่างกว้างขวางสำหรับการถนอมอาหาร
                กรดฟอร์บิก มีผลฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ค. เจจูไน ได้สูงในการห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะ การทดลองของผู้วิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้กรดเหล่านี้ร่วมกันทั้งฟอร์มิก และโพแทสเซียม ซอร์เบต ผสมในอาหารสัตว์ให้ผลเป็นบวกอย่างชัดเจนมาก การเติมกรดอินทรีย์เพียงชนิดเดียวส่งผลน้อยมาก  
                โครงการวิจัย การลดเชื้อ ค. เจจูไน ในห่วงโซ่อาหารโดยการปรับสิ่งแวดล้อมระบบทางเดินอาหารส่วนต้นของไก่ก่อนเข้าโรงฆ่าเป็นความร่วมมือระหว่าง Nofima (National Veterinary Institute) มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งนอร์เวย์ และสถาบันวิจัยต่างๆ สนับสนุนโดยสภาวิจัยแห่งนอร์เวย์ มูลนิธิการวิจัยผลิตภัณฑ์เกษตร  
แหล่งข้อมูล          World Poultry (13/5/13)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...