วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิจัยแอนติบอดีจากไข่แดงลดการปลดปล่อยไนโตรเจนสู่สิ่งแวดล้อม

ประเด็นท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่อุตสาหกรรมสัตว์ปีกกำลังเผชิญหน้าคือ มูลไก่ และหรือของเสียจากการผลิต การวิจัยร่วมระหว่างสหรัฐฯ และแคนาดา เพื่อศึกษาวิธีการลดการปล่อยไนโตรเจนจากมูลไก่โดยใช้แอนติบอดีจากไข่แดงต่อเอนไซม์ยูริเคส
(อะแฮ่ม...งานวิจัยการผลิตแอนติบอดีจากไข่แดง ผมเคยทำการวิจัยแล้วรอการต่อยอดครับ ข่าววิจัยนี้จึงน่าสนใจมาก)
                มูลสัตว์ปีก และสารประกอบไนโตรเจนเป็นมลภาวะที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี (Eutrophication) การปนเปื้อนไนเตรต และไนไตรต์ในน้ำ กลิ่นแอมโมเนีย และการสะสมไอกรดในอากาศ ดังนั้น การลดการปลดปล่อยไนโตรเจนจากมูลสัตว์ปีกจึงเป็นประเด็นสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่สะอาด
                โภชนาการที่ดีเป็นขั้นตอนแรกในการปรับประสิทธิภาพการเลี้ยง และการเจริญเติบโตในสัตว์ เช่นเดียวกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบสำคัญของโภชนะประเภทโปรตีนที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ อย่างไรก็ตาม การให้กรดอะมิโนที่มากเกินไป หรือไม่เพียงพอในสูตรอาหารส่งผลต่อการเพิ่มการขับ และการปลดปล่อยไนโตรเจนออกมา
                วิธีการหนึ่งในการลดปรากฏการณ์เหล่านี้คือ การป้องกันการทำงานของเอนไซม์ยูริเคสในจุลชีพที่อยู่ภายในมูลสัตว์ การใช้แอนติบอดีจากไข่แดงเป็นวิธีการที่ประหยัดสำหรับการผสมในอาหารให้กับสัตว์ปีก การเสริมแอนติบอดีเกรดอาหารสัตว์ลงในสูตรอาหารสามารถลดการทำงานของเอนไซม์ยูริเคส และลดการปลดปล่อยแอมโมเนียจากมูลสัตว์ปีกได้เป็นอย่างดี เพื่อให้มีการใช้ยุทธศาสตร์ด้านอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังต้องศึกษาพัฒนาการใช้สูตรอาหารสัตว์ที่มีความสมดุลที่ดี และผสมแอนติบอดีจากไข่แดงลงในอาหารสัตว์อย่างเหมาะสมต่อไป
 แหล่งข้อมูล         WPSA Journal (15/5/13)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...