วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การลดเชื้อแบคทีเรียระหว่างการฆ่า และแปรรูปเนื้อไก่

การลดอัตราการระบาดของโรคอาหารเป็นพิศที่เกิดจากเชื้อซัลโมเนลลา และแคมไพโลแบคเตอร์ เป็นภารกิจสำคัญของผู้ประกอบการทั่วโลก
               รายงานในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ สองปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคสัตว์ติดคนกว่า ๓๕๖,๐๐๐ รายทั่วสหภาพยุโรปเกิดจากโรคติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ จำนวน ๒๔๖,๓๐๗ ราย และซัลโมเนลลา ๙๔,๕๓๐ ราย เป็นกลุ่มสองโรคที่โดดเด่นที่สุด
               เมื่อเร็วๆนี้ ไอร์แลนด์ก็เพิ่งรายงานผู้ป่วยติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ต่อปีสูงที่สุด ๓,๐๓๐ ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘.๗ เปรียบเทียบกับผู้ป่วยจำนวน ๒.๗๘๖ รายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยอัตราการพบที่สูงที่สุดอยู่ในกลุ่มช่วงอายุ ๐ ถึง ๔ ปีเช่นเดียวกับในเนเธอร์แลนด์ อุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์เพิ่มขึ้นจาก ๓๓ รายต่อประชากร ๑,๐๐๐ คนในปี ค.ศ. ๒๕๖๐ เป็น ๓๕ รายเมื่อปีที่แล้ว โดยทั้งประเทศมีรายงาน ๗๑,๐๐๐ รายในปี พ.ศ. ๒๕๖๑     
               บริษัทจากนอร์เวย์ ดีคอน เอสเอฟเอส เชื่อว่า ผลิตภัณฑ์สามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกได้มากกว่าร้อยละ ๙๙ ภายในโรงเชือด บริษัทยังได้ทุนวิจัยสนับสนุนจากสหภาพยุโรปตามโครงการ ฮอริซอน ๒๐๒๐ รวมเป็นยอดเงินเกือบสองล้านบาท บริษัท ดีคอน ยังพัฒนา และจำหน่ายเทคโนโลยีป้องกันการปนเปื้อนระหว่างการผลิตอาหาร เพื่อกำจัดแบคทีเรียจากเนื้อสัตว์ปีก ภายหลังเริ่มต้นโครงการไปแล้ว ๘ ปี บริษัทสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดีโคไนเซอร์ รุ่น ทีอาร์แอล ๖- โดยอาศัยเทคโนโลยีเอทีบี หรือใช้น้ำร่วมกับอุณหภูมิทำลายเซลล์แบคทีเรีย (Hydrothermal bacteriolysis technology, HTB) โดยใช้ไอน้ำร้อนสูงมากร่วมกับสนามไฟฟ้าแม่เหล็กให้ประจุไปยังอนุภาคไอน้ำ แล้วส่งตรงไปยังผิวกล้ามเนื้อจนสามารถกำจัดแบคทีเรียได้สูงกว่าร้อยละ ๙๙ ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการทดสอบที่สถาบันวิจัยอาหารแห่งนอร์เวย์ และกำลังทำตลาดกับกลุ่มบริษัทในสเปน Sada และ Pujante โดยพิสูจน์ความสามารถในการลดอัตราการปนเปื้อนได้สูงกว่าร้อยละ ๙๙
               คุณลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ช่วยลดการปนเปื้อนซากสัตว์ปีก โดยไม่ส่งผลต่อลักษณะสินค้า รสชาติ กลิ่น สี และช่วยยืดอายุการเก็บรักษาสินค้าได้อีกด้วย เนื้อสัตว์ยังคงสดเปรียบเทียบกับวิธีการกำจัดการปนเปื้อนวิธีอื่นๆที่อาศัยการแช่แข็ง และน้ำร้อน ด้วยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปจะช่วยให้บริษัทสามารถนำไปใช้ในเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น เนื้อสุกร เนื้อโค และเนื้อแกะ รวมถึง การจำหน่ายระบบดีคอนไนเซอร์ไปให้กับโรงฆ่า และแปรรูปเนื้อสัตว์ปีกอย่างน้อย ๕๖ แห่งภายในสามปีต่อจากนี้ได้
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2019. Reducing pathogenic bacteria during slaughtering and processing. [Internet]. [Cited 2019 Jul 24]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2019/7/Reducing-pathogenic-bacteria-during-slaughtering-and-processing-453746E/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...