วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การป้องกัน ซัลโมเนลลา ต้องอาศัยแนวคิดเชิงบูรณาการ


ปัญหาเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษชนิด ซัลโมเนลลา อาจเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ในระบบการผลิตจากฟาร์มไก่พันธุ์ไปจนถึงโรงงานแปรรูปการผลิต
การลดการปรากฏของเชื้อ ซัลโมเนลลา บนการผลิตสัตว์ปีก ไม่ได้เป็นภาระความรับผิดชอบของโรงงานแปรรูปการณ์ผลิตเท่านั้น แต่จำเป็นต้องใช้ความเอาใจใส่จากบุคลากรในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตไก่เนื้อ โรงงานแปรรูปการผลิตไม่สามารถจัดการได้ทั้งหมด สำหรับบริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกตามมาตรฐานของสำนักงานบริการด้านความปลอดภัยอาหาร และการตรวจสอบ แห่งกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (FSIS-USDA) อย่างเข้มงวดนั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญ และบูรณาการแนวความคิดแบบองค์รวมเพื่อลดการปรากฏของเชื้อ ซัลโมเนลลา ให้ได้ตลอดระบบการผลิต

การให้วัคซีนเป็นสิ่งจำเป็น
ไก่เนื้อจากแม่ไก่ที่ให้วัคซีนพบเชื้อน้อยลงในโรงงานเปรียบเทียบกับไก่เนื้อจากแม่ไก่ที่ไม่ได้รับวัคซีน อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกตระหนักดีแล้ว ดังนั้น ส่วนใหญ่ของผู้ผลิตได้ให้วัคซีนกับแม่ไก่พันธุ์เพื่อควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา
ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ไก่พันธุ์ (เนื้อ) ร้อยละ ๗๐ ให้วัคซีนป้องกันซัลโมเนลลาอย่างน้อย ๒ ครั้ง เปรียบเทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มากกว่าร้อยละ ๓๕ ของผู้ผลิตให้วัคซีน สี่ หรือห้าครั้งในปี ๒๕๖๐ เปรียบเทียบกับร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ซ. ๒๕๕๓  
การควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา ให้ผลตอบแทนเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลยสำหรับผู้ผลิตไก่เนื้อ ดังนั้น ผู้จัดการฝ่ายผลิตฟาร์มจึงพยายามบ่ายเบี่ยงที่จะไปเพิ่มต้นทุนการผลิต โดยไม่เห็นผลตอบแทนที่วัดเป็นตัวเงินได้

มองข้ามไปให้เหนือกว่าแค่การให้วัคซีน
เนื่องจาก เชื้อซัลโมเนลลา ปรากฏขึ้นได้ตลอดวงจรการเลี้ยง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องค้นหาแหล่งต้นตอของปัญหา เพื่อบ่งชี้สาเหตุ ถึงปัจจุบัน ยังไม่มีกระสุนวิเศษสำหรับควบคุมเชื้อซัลโมเนลลาได้
อย่างไรก็ตาม ข้อแนะนำสำหรับการควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา ในฟาร์ม ได้แก่
๑. การใช้มาตรการลดเชื้อ ซัลโมเนลลา ตั้งแต่ฟาร์มไก่พันธุ์ ระยะไก่รุ่น
๒. สุขอนามัยในโรงฟัก เน้นให้ความสำคัญกับการฆ่าเชื้อ และการทำความสะอาดในทุกระยะการผลิต อย่ามองข้ามระบบการระบายอากาศ เครื่องปรับอากาศสามารถดึงอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อเข้ามาภายในโรงฟักได้
๓. ทบทวนกระบวนการผลิตในโรงงานอาหารสัตว์ให้มั่นใจว่าทุกขั้นตอนสามารถป้องกันวัตถุดิบจากฝุ่น ที่อาจเป็นแหล่งต้นตอของเชื้อซัลโมเนลลา อาหารสัตว์ควรผ่านความร้อน ๘๕ องศาเซลเซียส และกระบวนการให้ความร้อนไม่สามารถเร่งรัดเวลาได้
๔. เข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และควบคุมการสัญจรในฟาร์ม และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
๕. ปรับปรุงการควบคุมสัตว์พาหะ เช่น นกธรรมชาติ หนู และแมลงปีกแข็ง
๖. ควบคุมความหนาแน่นการเลี้ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่า วัสดุรองพื้นสะอาด และแห้งดี
๗. กำหนดระยะพักโรงเรือนระหว่างฝูงอย่างน้อย ๑๘ วัน ยิ่งดีขึ้นหากพักได้ถึง ๒๑ วัน
๘. ปรับน้ำไก่กินให้เป็นกรด อย่างน้อย ๗๒ ชั่วโมงก่อนเข้าโรงเชือด แต่ต้องไม่ต่ำเกินไปจนไก่ปฏิเสธการกินน้ำ
๙. ควบคุมโรคอื่นๆด้วย

การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็น
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ฝ่ายผลิตฟาร์มไม่ค่อยได้คุยแลกเปลี่ยนกับฝ่ายโรงเชือด แต่ถึงเวลานี้มีความจำเป็นที่ทั้งสองฝ่ายต้องหันหน้าเข้าคุยกัน เพื่อเป้าหมายในการควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา และแคมไพโลแบคเตอร์ ให้สำเร็จ
ในโรงเชือด นวัตกรรมจำนวนมากที่สามารถควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา ได้ แต่ก็ยังจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับฝ่ายผลิตฟาร์ม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี
ฝ่ายผลิตฟาร์มต้องพยายามทุกสรรพสิ่งเพื่อลดปริมาณเชื้อ ซัลโมเนลลา ที่จะเข้าสู่โรงเชือด ทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องหันหน้าเข้าคุยกันอย่างใกล้ชิด เพื่อทำความเข้าใจ และรับทราบถึงสถานการณ์ภาพรวมของมาตรการควบคุมโรค
เอกสารอ้างอิง
Graber R. 2019. Salmonella prevention requires integrated approach. WATT Poultry USA. May 2019. 20-21.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...