การผลิตสัตว์ปีกในเอเชียยังมีผลประกอบการทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในปีนี้
ความหวังเรืองรองสำหรับผู้ผลิตสัตว์ปีกเอเชียสำหรับปีหมูทอง
โดยภาพรวมสดใสในปีนี้
การเติบโตเศรษฐกิจของภูมิภาคในปีนี้เชื่อว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕
รวดเร็วที่สุดในโลกสำหรับปีนี้
สำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ด้วยรายได้ และความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้น
ราคาอาหารสัตว์โดยทั่วไปค่อนข้างดีในหลายประเทศ และโรคไข้หวัดนกก็สงบลง
ดังนั้นภาพรวมของตลาดในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ จึงค่อนข้างสดใส
แม้จะดูเหมือนเริ่มมีเมฆหมอกปรากฏที่ปลายขอบฟ้า
จีน ราคาทุบสถิติ
ภาคการผลิตสุกรในจีนประสบปัญหา เกิดผลบวกสำหรับผู้ผลิตไก่ภายในประเทศ
เมื่อผู้บริโภคต้องเลือกเนื้อไก่บริโภคแทน
ก่อนการระบาดของโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกาจะเริ่มต้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
และภายหลังความต้องการเนื้อไก่ที่อ่อนแรงลง กระทรวงเกษตรสหรัฐฯก็ได้พยากรณ์ไว้ว่า
การผลิตเนื้อไก่ในจีนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓ เป็น ๑๒ ล้านเมตริกตัน
ถึงเวลานี้ดูเหมือนจะพยากรณ์ไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง
ราคาเนื้อไก่พุ่งสูงขึ้นเป็นสถิติใหม่จนถึงปลายปี ขณะที่ ความต้องการเพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจาก ภาวะขาดแคลนเนื้อสุกร และผู้เลี้ยงสุกรลดการผลิตสุกรลง
ความต้องการเนื้อไก่ที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงส่งผลบวกต่อผู้ประกอบการ
แต่ยังได้ประโยชน์จากราคาต้นทุนอาหารสัตว์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม
ก็มีอุปสรรคเกี่ยวกับจำนวนสัตว์ปีกพันธุ์ที่ลดลง
อันเป็นผลมาจากอุปสรรคทางการค้าต่างๆ
ผลประกอบการทางเศรษฐกิจ การบริโภค
และการนำเข้าทั้งหมดคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้
และหากอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศไม่สามารถตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของความต้องการของผู้บริโภคได้
การนำเข้าก็จะต้องมีมากขึ้น
ท่ามกลางความยากลำบากข้างต้น
บราซิลเป็นผู้ผลิตสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดของจีน อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
จีนเพิ่มการนำเข้าจากไทย และยุโรปตะวันออก
ผลการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน
เป็นปัจจัยที่จะสามารถกำหนดได้ว่าจีนจะกลับมานำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯหรือไม่
สินค้าเนื้อไก่จากสหรัฐฯถูกตัดออกจากตลาดจีนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เนื่องจาก
โรคไข้หวัดนก ในห้วงเวลาที่ตลาดสดใส การส่งออกเนื้อสัตว์ปีกจากสหรัฐฯไปยังจีนเคยมีมูลค่าสูงที่สุดถึง
๒๑,๘๒๗ ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากผลการเจรจาทางการค้าระหว่างจีน และสหรัฐฯ เป็นลบ
ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีน และประเทศอื่นๆในภูมิภาค
ภาพที่ ๑
นับตั้งแต่ปีที่แล้ว ภาคการผลิตสุกรในจีนประสบความยากลำบาก
ทำให้ความต้องการเนื้อไก่เพิ่มขึ้น และราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว (แหล่งภาพ Booshengrulai
| Dreamstime)
สถานการณ์ตลาดในอินโดนีเซีย
ปลายปีที่แล้ว อินโดนีเซียประสบปัญหาราคาไก่เนื้อตกต่ำ
และผู้ประกอบการรายงานผลประกอบการที่ลดลง ขณะที่
ความต้องการของผู้บริโภคในระยะยาวคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น
แต่การเติบโตสำหรับปีนี้ยังคาดว่าคงที่อยู่
จำนวนลูกไก่เนื้อคาดว่ายังคงที่ในครึ่งแรกของปีนี้
แม้ว่าครึ่งปีหลังคาดว่าจะดีขึ้น
ภาคการผลิตไก่พันธุ์ มีผลประกอบการสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมา
แต่ก็ยังประสบปัญหาในบางภาคส่วน เช่น ราคาอาหารสัตว์ที่สูง
สถานการณ์ตลาดในญี่ปุ่น
การผลิตไก่ในญี่ปุ่นยังเติบโตอย่างสม่ำเสมอในปีนี้โดยรักษาอัตราการเติบโตได้ที่ร้อยละ
๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เมื่อจบปีแล้ว คาดว่า ปริมาณการผลิตจะยืนอยู่ที่ ๑.๗๓
ล้านเมตริกตัน
ภาพรวมอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในญี่ปุ่นมีการแข่งชันสูง และมีแนวโน้มว่า
ผู้ประกอบการขนาดเล็กกำลังออกจากตลาดอย่างต่อเนื่อง
ภาคการผลิตสัตว์ปีกในญี่ปุ่นเพิ่มสินค้ามากขึ้น
แต่กลับมาจากผู้ประกอบการเพียงไม่กี่ราย และผลกำไรมาจากปริมาณสินค้ามากๆเข้าว่า
ทำให้ยอดการผลิตสูงขึ้น
จึงเป็นสิ่งกำหนดทิศทางให้ใช้พันธุ์ไก่ที่ประสิทธิภาพสูงเป็นหลัก
การบริโภคยังคาดว่าสูงขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีสัญญาชลอตัวลงกว่าปีที่แล้ว
โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๕ เป็น๒.๗๓๕ ล้านเมตริกตัน
ได้รับพลังขับเคลื่อนมาจากความต้องการโปรตีนจากเนื้อสัตว์
และการนำเสนอสินค้าชนิดใหม่ที่เป็นที่นิยม
นอกจากนั้น USDA ยังเน้นให้เห็นว่า
ประชากรสูงวัย (aging population) และการขยายตัวของเมือง
(urbanization) คาดว่าจะยิ่งกระตุ้นให้ความต้องการอาหารพร้อมปรุง
และอาหารพร้อมรับประทานเพิ่มสูงขึ้น
ชาวญี่ปุ่นหันมาบริโภคเนื้ออกเพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากน่องที่เป็นที่โปรดปรานอยู่แล้ว
ในปีนี้ เชื่อว่า ญี่ปุ่นจะนำเข้าเนื้อไก่มากขึ้น และคาดว่าจะโตขึ้นร้อยละ
๓
ท่ามกลางภาพบวก โรโบแบงค์ก็ชี้ให้เห็นว่า
ราคาเนื้อไก่ในประเทศตั้งแต่ต้นปีได้รับแรงกดดันอย่างมากทั้งส่วนน่อง และอกไก่
ทำให้ระดับของการสต๊อกสินค้าสูงเป็นประวัติการณ์
โดยสรุปภาพรวมตลาดญี่ปุ่นยังคงมีการแข่งขันสูง
สถานการณ์ตลาดในไทย
การผลิตเนื้อไก่ไทยคาดว่าจะโตขึ้นร้อยละ ๔ เป็น ๓
ล้านเมตริกตันโดยได้รับแรงขับเคลื่อนมาจากทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ
ภาพรวมตลาดเป็นบวก แม้ว่า จะเผชิญกับราคาต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น
และราคาต้นทุนการผลิตไก่เนื้อ
การบริโภคเนื้อไก่ในประเทศคาดว่าโตขึ้นร้อยละ ๓ ถึง ๔ ปีที่แล้ว
และจะโตต่อไปในปีนี้ แม้ว่าอัตราการเติบโตชะลอตัวลง เนื่องจากราคาไก่เนื้อมีชีวิต
และราคาเนื้อไก่ที่สูงขึ้น
การเติบโตอย่างเข้มแข็งในภูมิภาคร้อยละ ๕ ถึง ๖
คาดว่ามาจากอาหารพร้อมรับประทาน และภาคบริการฟาสต์ฟู้ด อย่างไรก็ตาม
สิ่งที่ควรจำไว้คือ ร้อยละ ๖๐ ถึง ๗๐
ของผู้ซื้อชาวไทยยังคงนิยมซื้อเนื้อไก่จากตลาดสด
การส่งออกเนื้อไก่ไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘
ในปีที่แล้วจะยังคงโตต่อไปร้อยละ ๖ ในปีนี้จนถึง ๘๗๐,๐๐๐ เมตริกตัน
โรโบแบงค์ชี้ว่า ภาพรวมตลาดสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตไก่ในไทยยังคงท้าทาย
การจัดการที่ดี และประสิทธิภาพการผลิตที่ดีจะช่วยแก้ไขปัญหาสินค้าเกินในปีที่แล้ว
และสร้างผลกำไรได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ง่ายที่โรงเชือดจะขยายตัวทันผลิตได้ในปีนี้
ภาพที่ ๒
การบริโภคเนื้อสัตว์ปีกในเอเชียเติบโตอย่างชัดเจน ตั้งแต่เริ่มทศวรรษ ๒๐๑๐
เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การบริโภคเนื้อสัตว์ต่อหัวในบางประเทศยังค่อนข้างต่ำ
จึงยังมีโอกาสที่จะเติบโตต่อไปได้ (แหล่งภาพ OCED-FAO)
เอกสารอ้างอิง
Clements M. 2019.
Asia's poultry producers expect strong results in 2019. Poultry International.
April 2019. 6-9.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น