การศึกษาจำนวนมากว่าด้วยกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของเนื้อ
เนื่องจาก พยาธิสภาพของกล้ามเนื้อ ผลการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้
มุ่งไปที่พยาธิสภาพของกล้ามเนื้ออกที่ส่งผลต่ออายุการเก็บรักษาสินค้า คุณภาพ
และจำนวนแบคทีเรีย น่าประหลาดใจมากที่เนื้อที่ผิดปรกติเหล่านี้กลับสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้นกว่าปรกติถึง
๑๑ วัน
การยอมรับเนื้อสัตว์ปีกของผู้บริโภคเป็นที่นิยมสูงขึ้น
เนื่องจาก คุณค่าทางโภชนาการ และผลดีต่อสุขภาพ
ใช้ทักษะทางการคหกรรมเพียงเล็กน้อยสำหรับการประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ปีก
และยังเหมาะต่อการนำไปแปรรูปต่อเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการผู้บริโภคที่หลากหลาย
และไม่จำเจ จึงทำให้ความต้องการเนื้อสัตว์ปีกเพิ่มสูงขึ้น
กระตุ้นให้ห่วงโซ่การผลิตสัตว์ปีกปรับกระบวนการจัดการในฟาร์มให้เหมาะสม
และเพิ่มเทคนิคการผลิตโดยใช้เวลาสั้นลง
แต่ยังคงรักษามาตรฐานการผลิตสูงด้านความปลอดภัยอาหาร และคุณภาพเนื้อสัตว์
ความผิดปรกติของเนื้อเพิ่มสูงขึ้น
ในช่วงปลายปีที่แล้ว
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกต้องเผชิญกับปัญหาสำคัญจากการปรากฏของความผิดปรกติเนื้อเป็นพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อ
ทำให้เนื้อสัตว์ปีกไม่เหมาะกับการบริโภค
พันธุกรรม โภชนาการ การจัดการ
และการแปรรูปอาหาร มีอิทธิพลต่อความผิดปรกติดังกล่าว
ความผิดปรกติบางลักษณะยังพบได้ในสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น เนื้อสุกรที่มีลักษณะซีด นิ่ม
และชุ่มน้ำ (PSE)
พยาธิสภาพของกล้ามเนื้ออก
กรณีเนื้อสัตว์ปีก
พยาธิสภาพของกล้ามเนื้อเรียกว่า กล้ามเนื้อแข็งเหมือนไม้ (wooden
breast) และกล้ามเนื้อเป็นลายทางสีขาว (white striping) ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้ออกใหญ่ (pectoralis major) ของกล้ามเนื้ออกไก่เนื้อ
ความผิดปรกติดังกล่าวนี้ไม่ได้ส่งผลเฉพาะต่อการปรากฏเห็นได้ด้วยสายตาเท่านั้น
แต่ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมี และเนื้อเยื่อวิทยาของกล้ามเนื้อ
ทั้งกล้ามเนื้อแข็งเหมือนไม้ และกล้ามเนื้อเป็นลายทางสีขาว จะพบการแทรกเข้ามของไขมันภายในกล้ามเนื้อ
และสัดส่วนของโปรตีนที่ลดลง
พยาธิสภาพของกล้ามเนื้อดังกล่าวอาจส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค
เนื่องจาก ความแข็ง ความชุ่มน้ำ ความนุ่มสี และรสชาติ รวมถึง คุณสมบัติอื่นๆ เช่น pH การอุ้มน้ำ และความแน่นของเนื้อ เป็นต้น
อายุการเก็บรักษาเนื้อที่ผิดปรกติ
ผลการศึกษาจำนวนมากว่าด้วยกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อเนื่องจากความผิดปรกติทางพยาธิวิทยา
แต่ยังไม่ทราบชัดเจนว่า ส่งผลกระทบต่อการเก็บรักษาเนื้อได้อย่างไร นอกจากนั้น
การปรากฏของเชื้อก่อโรค และเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารบูดเสียในกล้ามเนื้อที่ผิดปรกติ
ยังไม่ค่อยมีการศึกษากันมากนัก ทั้งที่ปัญหานี้มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีก
เนื่องจาก ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยอาหาร
และอายุการเก็บรักษาสินค้าของเนื้อทั้งที่จำหน่ายเป็นเนื้อสดและเนื้อแปรรูป
ผลการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบคุณลักษณะด้านเทคนิค
เคมี และจุลชีววิทยา รวมถึง อายุการเก็บรักษา ภายหลังการเก็บสินค้าเป็นเวลา ๑๑
วันที่อุณหภูมิ ๔ องศาเซลเซียส ในเนื้อไก่ปรกติ เนื้อไก่ที่แข็งเหมือนไม้
และเนื้อไก่ที่เป็นลายทางสีขาว พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลไกทางเมตาโบลิซึม
เนื้ออกปรกติจะมีอัตราการเกิดกรดไขมันอิ่มตัวระดับสูงกว่า
และอัตราการเกิดกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่น้อยกว่าเนื้อไก่ที่แข็งเหมือนไม้
และเนื้อไก่ที่เป็นลายทางสีขาว
ความแตกต่างโดยหลักเกิดจากกรดไขมันไม่อิ่มตัว
เนื้ออกปรกติมีดัชนีการปรากฏสีแดงที่ต่ำกว่า และอัตราการสูญเสียหลังการปรุงต่ำกว่า
ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในเนื้ออกปรกติสูงกว่าเนื้อไก่ที่แข็งเหมือนไม้
และเนื้อไก่ที่เป็นลายทางสีขาว ดังนั้น
อายุการเก็บรักษาสินค้าจึงสั้นกว่าเนื้ออกปรกติ อย่างไรก็ตาม
ความแตกต่างนี้หายไปภายหลังการเก็บสินค้าเป็นระยะเวลานานกว่า ๑๑ วันไปแล้ว
ผลการวิจัยครั้งนี้ัยังคาดหวังให้ต่อยอดการศึกษาเชิงลึกต่อไปถึงปัจจัยด้านเมตาโบลิซึม
และกลไกที่จะช่วยอธิบายองค์ประกอบทางเคมีที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ระหว่างการเก็บรักษาสินค้าเนื้ออกไก่ที่เกิดพยาธิสภาพ
เอกสารอ้างอิง
McDougal
T. 2019. Effect of breast myopathies
on shelf life. [Internet]. [Cited 2019 Sep 27].
Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2019/9/Effect-of-breast-myopathies-on-shelf-life-477899E/
ภาพที่ ๑
อายุการเก็บรักษาสินค้าทั้งเนื้อปรกติ
และผิดปรกติเป็นปัจจัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีก เนื่องจาก
เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร (แหล่งภาพ
Joris Telders)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น