วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทเรียนสำหรับผู้ผลิตสัตว์ปีกภายหลังเรื่องอื้อฉาวเนื้อม้าปนเปื้อนในแฮมเบอร์เกอร์

การตรวจพบดีเอ็นเอของเนื้อหมู และม้าในผลิตภัณฑ์เนื้อวัว ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายหนึ่งต้องนำเทคนิคการตรวจสอบดีเอ็นเอเข้ามาใช้ในกิจการ ต่อไปนี้ ลูกค้าอาจเรียกร้องผู้ประกอบการทุกรายให้ปฏิบัติตาม
                ผู้ประกอบการในสหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ กำลังเผชิญกับกฏระเบียบที่เข้มงวดจากสถานการณ์การตรวจพบดีเอ็นเอของเนื้อม้า และเนื้อหมูในผลิตภัณฑ์เนื้อวัว บริษัทดังกล่าวกำลังอยู่ท่ามกลางศูนย์กลางพายุพัดโหม จนต้องนำการทดสอบดีเอ็นเอเข้ามาใช้อย่างสมัครใจ รวมถึง มาตรการอื่นๆเพื่อเป็นหลักประกันถึงแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์
                เพิ่มแรงกดดันมายังผู้ประกอบการให้ระมัดระวังความเสียหายทางเศรษฐกิจ และชื่อเสียงของบริษัทจากผลของการปนเปื้อน ในสหราชอาณาจักร นายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน ได้สั่งให้ดำเนินการกับผู้จำหน่ายสินค้าทันที โดยให้ความเห็นว่า ผู้จำหน่ายสินค้าต้องมีความรับผิดชอบแต่สินค้าที่จำหน่าย และทราบแหล่งที่มาด้วย    
                ปัจจุบัน ผู้จำหน่ายจะต้องทบทวนให้ดีว่า ใครเป็นผู้จัดสินค้ามาให้ รวมถึงการตรวจสอบ และการรับรองว่า สินค้านั้นมีความเหมาะสม ภายหลังการปนเปื้อน สร้างความเสียหายมูลค่ากว่า ๔๗๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อเทสโก้ ผู้จำหน่ายสินค้ารายใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร และเป็นผู้ซื้อหลักจากโรงงานที่มีการปนเปื้อน บริษัทถูกบังคับให้เผยแพร่คำขอโทษ ผู้อำนวยการด้านวิชาการ Tim Smith กล่าวไว้ว่า ความปลอดภัย และคุณภาพของอาหารของเรามีความสำคัญสูงที่สุดต่อเทสโก้ บริษัทจะไม่ผ่อนปรนต่อคุณภาพของอาหาร เทสโก้ และซูเปอร์มาร์เก็ตอื่นๆ ขณะนี้ เทสโก้ และซูปเปอร์มาร์เก็ตอื่นๆที่รับสินค้ามาจากโรงงานที่มีการปนเปื้อน รวมถึง ซูปเปอร์มาเก็ต ที่ไม่ได้รับสินค้าดังกล่าว ได้เก็บสินค้าทั้งหมดออกไปโดยมีมูลค่าหลายล้านเหรียญฯ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า และผู้แปรรูปการผลิตในสหราชอาณาจักรแจ้งรายชื่อให้มีการสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยอาหารของไอร์แลนด์ และให้ข้อมูลการสืบแหล่งที่มาของสินค้าให้กับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยอาหารของสหราชอาณาจักร
ความเป็นมาของข่าวอื้อฉาว
                การปนเปื้อนเกิดขึ้นในสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ภายหลังเจ้าหน้าที่มาตรฐานอาหารของไอร์แลนด์วางแผนการสำรวจย่อยเพื่อสำรวจผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในตลาดไอร์แลนด์อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเฝ้าระวัง และการตรวจติดตามการติดฉลากอาหาร โดยเฉพาะ ตรวจสอบชนิดของสัตว์ในผลิตภัณฑ์เนื้อ และผลการทดสอบจะตีพิมพ์ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกราคมเป็นต้นไป    
                ผลิตภัณฑ์ซาลามีจำนวน ๑๙ ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เนื้อวัว ๓๑ ตัวอย่าง พบว่า ผลิตภัณฑ์ซาลามีบางตัวอย่างมีผลบวกต่อดีเอ็นเอของวัว และผลิตภัณฑ์เนื้อวัวบดบางตัวอย่างพบดีเอ็นเอของหมูด้วย อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์เบอร์เกอร์เนื้อโค จำนวน ๒๗ ตัวอย่าง พบว่า มีผลบวกต่อดีเอ็นเอของหมูถึง ๘๗ เปอร์เซ็นต์ และดีเอ็นเอของม้าอีก ๓๗ เปอร์เซ็นต์ โดยเบอร์เกอร์ส่วนใหญ่ที่ผลการทดสอบเป็นบวกต่อหมูมิได้ติดฉลากว่า ประกอบด้วยเนื้อหมู แต่ก็พบในระดับต่ำมาก อันเป็นผลมาจากการผลิตเนื้อจากสัตว์หลายชนิดในโรงงานแปรรูปการผลิตแห่งเดียวกัน นอกจากนั้น ไม่มีตัวอย่างที่ให้ผลบวกต่อดีเอ็นเอของม้าถูกติดฉลากว่าประกอบด้วยเนื้อม้า เบอร์เกอร์ ๙ ใน ๑๐ ตัวอย่างที่มีผลบวกต่อดีเอ็นเอของม้าอยู่ในระดับต่ำ ปริมาณดีเอ็นเอของเนื้อม้าในเบอร์เกอร์หนึ่งตัวอย่างมีสัดส่วนของเนื้อม้าสูงถึง ๒๙ เปอร์เซ็นต์เทียบกับเนื้อวัวในผลิตภัณฑ์เบอร์เกอร์
                ผลิตภัณฑ์เบอร์เกอร์ที่มีผลบวกต่อดีเอ็นเอของม้าถูกผลิตที่โรงงานสองแห่งในไอร์แลนด์ ได้แก่ Liffey Meats และ Silvercrest Foods และหนึ่งแห่งในสหราชอาณาจักร ได้แก่ Dalepak การตรวจสอบเพิ่มเติมที่ Silvercrest เมื่อกลางเดือนมกราคม บ่งชี้ว่า ยังคงปรากฏดีเอ็นเอของเนื้อม้าอยู่ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคมที่ผ่านมา ABP Foods เจ้าของโรงงาน Silvercrest ประกาศว่าได้นำเข้าชุดทดสอบใหม่สำหรับการตรวจสอบดีเอ็นเอสำหรับเนื้อทั้งหมด ภายหลังการตรวจพบปัญหา โรงงานไม่เคยซื้อ ผลิต หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อม้า และมีความวิตกกังวลอย่างมาก ขออภัยสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้น และได้หยุดการผลิตที่โรงงาน Silvercrest เรียบร้อยแล้ว ABP กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อวัวมีการใช้ ingredients ที่ส่งมาจากทวีปยุโรป มีสัดส่วนเล็กน้อยเท่านั้นที่นำเข้ามาจากภายนอกสหราชอาณาจักร ขณะที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นตลอดการผลิตเนื้อทั้งหมด แต่อุตสาหกรรมไม่เคยมีการตรวจสอบชนิดของสัตว์ในเนื้อมาก่อน ดังนั้น นับตั้งแต่นี้ไปจึงกำหนดให้มีการทดสอบสินค้าด้วยการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ    
                นอกเหนือจากความสดของเนื้อแล้ว เชื่อว่า การปนเปื้อนอาจเกิดขึ้นจากการเติมแป้งที่มีโปรตีนสูงที่นิยมนำมาผสมกับเนื้อเพื่อใช้เตรียมแฮมเบอร์เกอร์เนื้อวัว และ ABPกำลังสอบสวนผู้จัดจำหน่ายในสองประเทศ
                กลับมาที่สหราชอาณาจักร เจ้าพนักงานมาตรฐานอาหารได้ริเริ่มโปรแกรมการเก็บตัวอย่าง เพื่อสอบสวนส่วนประกอบเปรียบเทียบกับฉลากที่ระบุส่วนประกอบจากผลิตภัณฑ์จำนวนมาก รัฐมนตรีอาหารแห่งสหราชอาณาจักร David Heath อ้างว่า กรณีดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญาในการค้าเนื้อสัตว์ เช่น ผู้บริโภคชาวมุสลิมจะต้องผิดหลักศาสนาภายหลังรับประทานเนื้อเหล่านี้อย่างไม่ตั้งใจ และการรับประทานเนื้อม้าเป็นสิ่งต้องห้ามทางวัฒนธรรมในสหราชอาณาจักร การจำหน่ายเนื้อม้าเป็นสิ่งผิดกฏหมาย และยังผิดกฏหมายที่ไม่ได้ติดฉลากอย่างถูกต้องอีกด้วย 
                สหราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตอาหารของโลก อุตสาหกรรมอาหารมีกฏระเบียบหย่อนยาย ปราศจากการควบคุมจากภาครัฐ การสอบย้อนกลับ การทดสอบ และการสืบย้อนหาแหล่งที่มาของ Ingredient มีต้นทุนสูง แต่การไม่ทดสอบจะยิ่งส่งผลร้ายต่อผู้จำหน่าย ผู้แปรรูปการผลิต และเกษตรกรในสหราชอาณาจักร รวมถึง ผู้บริโภคมากกว่าเสียอีก
                ผู้ประกอบการค้าหลายรายยังให้ความเห็นเพิ่มเติมสำหรับกรณีนี้อีกอย่างเช่น ผู้อำนวยการสมาคมผู้ผลิตเนื้อสัตว์แห่งสหราชอาณาจักรให้ความเห็นว่า เจ้าพนักงานความปลอดภัยอาหารไอร์แลนด์พิจาณากรณีนี้ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ ไม่ใช่ประเด็นความปลอดภัยอาหาร กรณีนี้เป็นสิ่งผิดปรกติที่พบได้น้อย แต่ก็บ่อนทำลายความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค และความเชื่อถือในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ เราต้องทบทวนสิ่งบกพร่อง และหาหนทางป้องกันมิให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ขณะที่สหภาพเกษตรกรแห่งสหราชอาณาจักรเห็นว่า เนื้อที่มาจากหลากหลายแหล่งต้องหยุด และต้องมีการติดฉลากอย่างชัดเจน โดยให้รายละเอียดส่วนประกอบในการผลิตเนื้อสัตว์อย่างชัดเจน จากผลกระทบดังกล่าว เราจำเป็นต้องนำเทคนิคการทดสอบใหม่ รวมถึง การวิเคราะห์ดีเอ็นเอ      
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...