วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปลาที่เลี้ยงด้วยไก่ตายเป็นแหล่งซัลโมเนลลา และยีนส์ดื้อยา

นักวิจัยในมาเลเซีย พบว่า ปลาที่เลี้ยงด้วยไก่ตาย และไข่เสีย มีโอกาสเป็นแหล่งของเชื้อซัลโมเนลลา และมีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่กระจายยีนส์ดื้อยาปฏิชีวนะ     
                ย่านเอเชีย-แปซิฟิก ฟาร์มเลี้ยงปลามักนิยมให้อาหารที่มีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ และอาหารที่ผลิตกันเอง โดยเฉพาะ อาหารสด หรือเศษอาหารจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อ้างถึงองค์การอาหารโลก (FAO) กล่าวถึง อาหารสัตว์ที่ผลิตใช้เอง มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุน และนิยมใช้เครื่องในไก่ เศษอาหารในครัว กระดูกไก่ และของเสียชนิดต่างๆ วัตถุดิบเหล่านี้ สามารถเป็นแหล่งที่มาของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค เช่น ซัลโมเนลลา และสามารถถ่ายทอดสู่ปลาดุก ปลานิล และผู้บริโภคในที่สุด
                การศึกษาครั้งนี้เป็นการหาความชุก ความต้านทานยาปฏิชีวนะ และการปรากฏของพลาสมิดในเชื้อซัลโมเนลลาซีโรวาร์ต่างๆที่แยกได้จากปลาดุก และปลานิล จากตลาดสด และบ่อปลาในมาเลเซีย จำนวนตัวอย่างทั้งหมด ๑๗๒ ตัวอย่าง ได้แก่ น้ำล้างซากปลาดุก ๓๒ ตัวอย่าง ลำไส้ปลาดุก ๓๒ ตัวอย่าง น้ำลากซากปลานิล ๓๒ ตัวอย่าง ลำไส้ปลานิล ๓๒ ตัวอย่าง และน้ำ ๔๔ ตัวอย่าง เก็บจากตลาดสด ๙ แห่ง และบ่อเลี้ยงปลา ๘ แห่ง ที่เลี้ยงด้วยไก่ตาย ไข่เน่า และอาหารปลาเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๘ ถึง ๒๐๐๙ พบเชื้อซัลโมเนลลา ๗ ซีโรวาร์จากปลาดุก ปลานิล และน้ำ โดยเชื้อมีความต้านทานต่อยาคลอแรมเฟนิคอล (C) ๓๗.๒ เปอร์เซ็นต์ คลินดามัยซิน (Da) ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไรแฟมพิซิน (Rd) ๙๐.๗ เปอร์เซ็นต์ สเปคติโนมัยซิน (Sh) ๒๗.๙ เปอร์เซ็นต์ และเตตร้าซัยคลิน (Te) ๖๗.๔ เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะ ลักษณะรูปแบบการต้านทานต่อยาที่เด่น ได้แก่ CDaRdTe, Da,Rd,Sh และ DaRdTe โดยการปรากฏของพลาสมิดมีโอกาสเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจาก พลาสมิดสามารถถ่ายทอดยีนส์ดื้อยาปฏิชีวนะให้กับเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆในปลา และสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งเข้าสู่ห่วงโซ่อาหร
บทสรุป                  การให้ไก่ตาย และไข่เน่า สามารถเป็นแหล่งที่มาของเชื้อซัลโมเนลลา และมีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่กระจายของยีนส์ดื้อยาปฏิชีวนะให้กับเชื้อแบคทีเรียในปลาดุก ปลานิล และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงแนะนำให้เจ้าพนักงานรัฐฯ กำหนดกฏหมาย และกฏระเบียบที่เหมาะสมสำหรับควบคุมการใช้
แหล่งข้อมูล          AllAboutFeed (20/2/13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...