โดยกำหนดหมุดหมายไว้ในอีก ๗
ปีข้างหน้าปี ค.ศ. ๒๐๒๖ จะซื้อเนื้อไก่สด แช่แข็ง
และแปรรูปจากผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ที่ปฏิบัติตามกฏหมาย
และกฏระเบียบเกี่ยวกับหลักการสวัสดิภาพสัตว์ของสหภาพยุโรป เท่านั้น
โดยมีข้อกำหนดปลีกย่อยเกี่ยวกับการเลี้ยงการจัดการ การฆ่าไก่ เป็นที่น่าสังเกตว่า
ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่บนทุ่งหญ้าที่อาจเป็นเงื่อนไขที่ค่อนข้างลำบากมากในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ทั้งในประเทศไทย
และในยุโรปเอง โดยเฉพาะในยุโรป สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในหลายปีที่ผ่านมา
ทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศประกาศให้ผู้ประกอบการควบคุมไม่ให้สัตว์ปีกออกนอกโรงเรือนจนกระทั่งแนวโน้มของการเลี้ยงไก่อินทรีย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม จุดเปลี่ยนสำคัญคือ พันธุ์ไก่ที่สอดคล้องกับหลักการสวัสดิภาพสัตว์ที่กำหนดไว้โดยแบบแผนการประเมินสวัสดิภาพพันธุ์สัตว์ปีกเนื้อของราชสมาคมการป้องกันการทารุณกรรมต่อสัตว์ (Royal Society for the Prevention of Cruelty to Animals,
RSPCA) กำหนดไว้แค่สองค่าย ได้แก่ ค่ายแรกสายพันธุ์ฮับบาร์ด
คือ JA757, 787, 957 หรือ 987 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์
https://www.hubbardbreeders.com/
ค่ายถัดมาสายพันธุ์เอเวียเจน คือ Ramber ranger, Ranger Classic และ
Ranger Gold สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://eu.aviagen.com/brands/rowan-range/
การเลี้ยงไก่โตช้าเป็นสินค้าพรีเมียมในตลาดใหม่ในยุโรป
เชื่อว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในยุโรป
แม้ว่าในเวลานี้จะเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยของตลาดรวมทั้งหมด ล่าสุด โรโบแบงค์
ให้ความเห็นว่า ตลาดของเนื้อจากการเลี้ยงไก่โตช้าจะเติบโตขึ้นจากร้อยละ ๗
ในปัจจุบันเป็นร้อยละ ๒๐ ในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ ดูเหมือนว่าจะเป็นปริมาณไม่มากนัก แต่นักวิเคราะห์การตลาดเชื่อว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างแน่นอน
ไม่น่าเชื่อว่า แนวโน้มของตลาดการเลี้ยงไก่โตช้าได้ขยายไปยังอเมริกาเหนือเรียบร้อยแล้วจากความริเริ่มพันธมิตรสัตว์โลก
(Global
Animal Partnerships, GAP) น่าสังเกตว่าใช้ชื่อย่อพ้องกับ GAP
ที่หมายถึง หลักเกณฑ์ข้อปฏิบัติที่ดีในการเลี้ยงสัตว์
รายละเอียดขององค์กรนี้สามารถดูรายละเอียดขององค์กรนี้ได้จากเว็บไซต์ https://globalanimalpartnership.org/ โดยสร้างบทบาทเป็นผู้ให้การรับรองผู้ประกอบการด้านสวัสดิภาพสัตว์โดยการเลี้ยงไก่โตช้าในภาคพื้นทวีปอเมริกาเหนืออีกด้วย
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ภัตตาคาร
และบริษัทต่างๆได้ลงนามความร่วมมือเรียบร้อยแล้ว
โดยตั้งใจจะให้ผลิตเนื้อไก่โตช้าสำเร็จในปี ค.ศ. ๒๐๒๔ ก่อนยุโรปสองปีอีกต่างหาก
ภาพที่ ๑
สายพันธุ์ไก่โตช้าของฮับบาร์ด JA757 เปิดตัวในสื่อหนังสือพิมพ์ครั้งแรกในปี
ค.ศ. ๒๐๑๖ เป็นภาพของผู้ช่วยวิจัยกำลังอุ้มไก่ที่สถาบันวิจัยฟาร์มทดลองเลี้ยงไก่แบบอินทรีย์แห่งหนึ่งในประเทศเยอรมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น